“ครูตั้น” เตรียมถก สพฐ.-สทศ. หายกระดับให้การศึกษาไทย ชี้ไม่ทบทวนข้อสอบโอเน็ต ว่ายากเกินไปหรือไม่


เพิ่มเพื่อน    


17ก.พ.63-นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (วีเน็ต) ว่า ที่ประชุมตนได้หารือร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อหาแนวทางยกระดับให้การศึกษาไทย เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นเรื่องการคิดวิเคราะห์ และทักษะต่างๆ ตามโลกในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันการศึกษาของไทยยังไม่สามารถไปถึงมาตรฐานดังกล่าวได้ และใช้ระยะเวลาการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษานานเกินไป รวมถึงยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนว่าจะขับเคลื่อนการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานได้อย่างไร ทั้งนี้ในส่วนของมาตรฐานการศึกษาที่มีการกำหนดไว้แล้วนั้น คงต้องมีการกลับมาทบทวนถึงความเหมาะสมแต่คงไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเท่าที่ตนได้ศึกษา พบว่า มีรายละเอียดประมาณ ร้อยละ 80 ควรจะคงไว้ แต่ที่เหลือร้อยละ 20 ก็คงต้องปรับให้ตรงกับทักษะโลกในปัจจุบัน ซึ่งตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาในเรื่องนี้

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ในเบื้องต้นตนได้มอบหมายให้เริ่มดำเนินการในส่วนของโอเน็ต ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อน เพราะหากเรามีการกำหนดแนวทางของข้อสอบชั้น ป.6 แล้ว การจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ป.1 จนถึง ป.6 จะต้องปรับให้เสริมสร้างสมรรถนะเด็ก เพื่อที่จะให้เด็กได้มีความเข้าใจในข้อสอบที่จะต้องทำในระดับชั้น ป.6 เพราะในปัจจุบันเรื่องนี้สะท้อนถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นเด็กทุกคนต้องมีความรู้พื้นฐานในมาตรฐานที่ใกล้เคียงกันก่อน โดยในส่วนของครูนั้น เราจะต้องทำให้ครูทั้งระบบในระดับ ป.1-6 มีความเข้าในแนวทางของข้อสอบ เพราะครูถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะต้องทำให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น หรือเข้าใจมากขึ้น และหากครูสามารถทำได้สิ่งนี้ก็จะเป็นตัวสะท้อนถึงวิทยฐานะที่จับต้องได้โดยที่ไม่ต้องทำรายงานขึ้นมา และเรื่องนี้จะเป็นการร้อยเรียงปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบันทำให้เกิดความง่ายในการประเมิน มีการวางแผนที่ชัดเจน และมีความสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

“ขณะนี้ที่ผมได้สัมผัสข้อสอบโอเน็ต ก็พบว่ามีบางส่วนที่หากคนทั่วไปดูอาจจะทำให้เกิดข้อสงสัย ว่าทำไมถึงมีข้อสอบแบบนี้ในโอเน็ตและวีเน็ต ทั้งนี้ผมขอยืนยันว่า ผมไม่มีความต้องการที่จะทำให้ข้อสอบง่ายขึ้นแต่ผมอยากให้ข้อสอบสะท้อนถึงความต้องการ หรือสะท้อนถึงสมรรถนะของเด็กอย่างแท้จริง แต่ก็คงต้องมีการทบทวนในส่วนของข้อสอบประมาณ ร้อยละ 40 ว่าเหมาะสมกับแนวทางที่ ศธ.วางไว้หรือไม่ โดยในอีก 2 สัปดาห์ต่อจากนี้ทาง สทศ.และ สพฐ.จะหารือร่วมกัน เพื่อวางกรอบแนวทาง โดยมีการเชิญนักวิชาการทุกกลุ่มสาระวิชา มาร่วมกันวางแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เด็กได้เสริมสร้างความรู้ มีทักษะเพื่อใช้ในการทดสอบจะต้องมีอะไร ในส่วนไหนบ้าง และจะนำมาใช้ในการปรับวิธีการสอน และหากสามารถเห็นผลการขับเคลื่อนอย่างชัดเจน ก็อาจจะมีการขยับไปปรับในส่วนของระดับมัธยมศึกษา”รมว.ศธ.กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าในขณะนี้มาตรฐานการศึกษาของประเทศยังไม่เท่าเทียมกันตามความคาดหวังของตน ตนยังไม่ต้องการใช้ผลสอบโอเน็ตเป็นตัววัดผลต่างๆ เพราะคะแนนของโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลบางแห่ง หรือ โรงเรียนที่ยังขาดทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอนอย่างไรก็ได้คะแนนไม่ถึงเป้าหมายที่ ศธ.วางไว้ ดังนั้นตนจึงต้องการที่จะยกระดับและบูรณาการระบบการดำเนินการเรื่องนี้ก่อน เพื่อให้มาตรฐานการศึกษาใกล้เคียงกัน เด็กทุกคนมีโอกาสที่จะได้คะแนนดีระดับต้นของโอเน็ต
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"