ติดเชื้่อ‘โควิด’เพิ่มอีก2 ส่ง200ผีน้อยไปสัตหีบ!


เพิ่มเพื่อน    

 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 2 ราย เป็นกลุ่มคนไทยกลับจากดูงานอิตาลี ระบุเป็นกลุ่ม 6 คนเฝ้าระวัง ส่งผลยอดรวมผู้ติดเชื้อ 50 ราย หมอวอนอยากให้สื่อมวลชนช่วยนำเสนอข่าวในแง่มุมดีๆ "สาธิต" ยันส่งผีน้อย 200 คนมาไฟลต์แรกไปสัตหีบ ขณะที่กลาโหมยืนยันไม่ใช้พื้นที่ทหาร อาคารรับรอง หาดเจ้าสำราญ เป็นสถานที่กักตัวแน่นอน

    เมื่อวันที่? 7 มี.ค.63 เวลา 11.00 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แถลงภาพรวมสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19  ประจำวันที่ 7 มี.ค. โดยประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 2 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ถูกเฝ้าระวังจำนวน 6 ราย กรณีเดินทางกลับจากการดูงานประเทศอิตาลี ทำให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อสะสมทั้งสิ้น 50 ราย ซึ่งไทยอยู่ในลำดับที่ 25 ของโลก รักษาหายดีแล้ว 31 ราย กำลังรักษาตัวในโรงพยาบาล  18 ราย 
    ขณะที่ภาพรวมการติดเชื้อทั่วโลกแตะแสนรายแล้ว โดยในประเทศได้ดำเนินมาตรการคัดกรองอย่างเข้มงวด นอกจากนี้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ได้เรียกประชุมบูรณาการมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 โดยมีการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางบก เพื่อรองรับกรณีแรงงานผิดกฎหมายเดินทางกลับจากประเทศเกาหลีใต้ และบางส่วนใช้บริการรถสาธารณะ 
    "ต้องขอร้องว่ามาตรการสาธารณสุขจะกระทบต่อความสะดวกสบายของประชาชน เช่น การลดกิจกรรมทางสังคม การเดินทาง การกักตัว 14 วัน และการใช้หน้ากากอนามัยที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกระจายในวงกว้าง"
    สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ เป็นชายไทยอายุ 40 ปี พนักงานบริษัทรักษาตัวในโรงพยาบาลราชวิถี และรายที่ 2 เป็นชายชาวไทยอายุ 40 ปี รักษาตัวที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยผู้ป่วยรายใหม่อยู่ในกลุ่มคนไทยเฝ้าระวังจำนวน 6 คน จึงไม่มีผู้สัมผัสใกล้ชิด ส่วนหญิงไทยอายุ 30 ปี ที่เป็นแรงงานนอกระบบจากเกาหลีใต้ ตรวจพบอาการไข้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา ผลการตรวจซ้ำทางห้องปฏิบัติการทั้ง 2 แห่งตรวจไม่พบเชื้อ สำหรับผู้ป่วยหนัก 1 รายที่รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว แต่อาการยังอยู่ในภาวะวิกฤติ
    ด้าน นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนตื่นตัวโทรศัพท์เข้ามาสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 โดยติดต่อสอบถามมายังฮอตไลน์หมายเลข 1422 จากระดับ 100 ครั้งต่อวัน เพิ่มขึ้นมาเกือบ 2,000 ครั้งต่อวัน จนเกิดปัญหาโทร.เข้าไม่ได้ สธ.จึงเปิดช่องทางเพิ่มเติมในโซเชียลมีเดีย เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ ในเพจ "ไทยรู้สู้โควิด" และแชทบอท "Kor-Ror ok" สำหรับตอบคำถามทั่วไปแบบอัตโนมัติ
    สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อทั่วโลกจำนวน 100,779 รายงาน เจ็บป่วยหนักจำนวน  6286 ราย เสียชีวิต 3,412 ราย ขณะที่ประเทศไทยตัวเลขผู้ป่วยที่รักษาหายและจำนวนผู้เสียชีวิต ในลำดับที่ดีกว่าประเทศอื่นทั่วโลก ซึ่งขณะนี้กราฟการติดเชื้อกระจายไปเกือบทั่วทุกภูมิภาคของโลก แต่ไทยยังอยู่ในลำดับที่ดีขึ้น ในส่วนของการออกประกาศให้ 4 ประเทศเป็นเขตติดโรค แสดงถึงความเข้มข้นของทางการไทย โดยใช้หลักพิจารณาจากประเทศที่มีผู้ป่วยตั้งแต่ 1,000 รายขึ้นไป อย่างไรก็ตาม พบว่ามีประเทศเฝ้าระวังจำนวนมากอยู่ในยุโรป จึงขอให้ประชาชนที่เดินทางกลับจากประเทศเฝ้าระวัง สมัครใจดูแลตนเองเพื่อให้เกิดความสำเร็จในการควบคุมโรค
เสนอข่าวแง่มุมดีๆ
    "อยากให้สื่อมวลชนช่วยนำเสนอข่าวในแง่มุมดีๆ ในมุมมองเชิงสร้างสรรค์ เช่น ซีพีบริจาคอาหาร 3 มื้อ แบบส่งถึงบ้านฟรีให้กับผู้สมัครใจกักตัวเองในบ้านพัก หรือการรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการกักตัวเองในบ้านพัก เพื่อทำให้กลุ่มแรงงานที่กลับจากต่างประเทศเห็นภาพตัวอย่างที่เป็นเชิงบวก รวมถึงการขอความร่วมมือเข้าไปกักตัวในสถานที่ราชการ กรณีมีการต่อต้านอยากให้มองสัตหีบเป็นตัวอย่าง ที่ภาครัฐสามารถดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมได้ และขอให้ตระหนักว่าทุกคนเป็นคนไทยเช่นกัน" โฆษกกระทรวงสาธารณสุขกล่าว
    ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่โลกโซเชียลมีการดันแฮชแท็ก  #saveหมอโอ๊ต เพื่อปกป้อง นพ.ศรุต ประวิตรกุลวัฒน์ หลังออกมากล่าวถึงการทำงานของรัฐบาลเรื่องการป้องกันการระบาดโควิด-19 ปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน และมาตรการควบคุม "ผีน้อย" กลับไทย จนถูกกดดันจนต้องลบคลิปและถูกกดดันให้ลาออกจากที่ทำงาน และข่มขู่ถึงขั้นยึดใบประกอบวิชาชีพ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า เรื่องนี้ตนยังไม่ทราบรายละเอียด และไม่รู้จักหมอโอ๊ตว่าเป็นแพทย์ที่ใด หรือเป็นใคร จึงไม่สามารถตอบได้ แล้วสั่งปิดการแถลงข่าวทันที
    นาย?สาธิต? ปิตุเตชะ? รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข? เปิดเผยภายหลังการประชุมบูรณาการร่วมกับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย? สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง? กระทรวงคมนาคม? เพื่อรองรับการเดินทางกลับของคนไทยที่มาจากประเทศเกาหลีใต้?ว่า?บ่ายวันนี้ไฟลต์บินแรกที่จะถึงประเทศไทย จำนวนผู้โดยสาร 200 คน จะถูกส่งตัวไปยังสัตหีบ? จ.ชลบุรี? โดยผู้โดยสารทุกคนจะต้องตอบคำถามและให้ข้อมูล?กับเจ้าหน้าที่? ในเบื้องต้นสัตหีบจะเป็นศูนย์กลางในการคัดแยกว่าใครบ้างที่เข้าข่ายต้องอยู่พื้นที่กักกันโรค? ตามที่รัฐบาลจัดหาให้ และใครบ้างจะสามารถแยกตัวไปกับกันโรคยังบ้านพักตามภูมิลำเนา ทั้งนี้ สาธารณสุขจังหวัดจะเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจ สำหรับผู้ที่เดินทางมาจาก 4 ประเทศตาม พ.ร.บ.เขตโรคติดต่ออันตราย? 2558 จะต้องรายงานสุขภาพกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นประจำทุกวัน? ส่วนผู้ที่เดินทางกลับหลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับกระทรวงกลาโหมจะเป็นผู้จัดสถานที่ใดในการกักโรคให้กับกระทรวงสาธารณสุข
    นายอนุทิน? ชาญวีรกูล? รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข? กล่าวว่า? รัฐบาลได้สั่งการให้กักกันตัวกลุ่มแรงงานนอกระบบจากประเทศเกาหลีใต้? โดยผู้ที่มาจากเมืองแทกูและคย็องซังต้องอยู่ในสถานที่กักกันโรคที่รัฐจัดให้? ส่วนคนที่มาจากเมืองอื่นๆ ?ของเกาหลีใต้? จะส่งไปควบคุมในพื้นที่ตามภูมิลำเนาของบุคคลนั้นๆ ?ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด จะเป็นผู้จัดเตรียมสถานที่?และมาตรการดูแลเป็นเวลา? 14? วันตามมาตรฐานกรมควบคุมโรค? ส่วนผู้ที่เดินมาจากประเทศสุ่มเสี่ยงอื่นๆ จะดำเนินการตามดุลยพินิจของแพทย์? ตนจะไปพูดแทนหมอหรือจะสั่งหมอให้รักษาอย่างไรนั้นไม่ได้? ดังนั้นตนจึงไม่สามารถก้าวก่ายเทคนิคทางการแพทย์ไม่ได้? ตนเป็นผู้สนับสนุนแพทย์? ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดๆ ตนสนับสนุนทั้งสิ้น?
ไม่ใช้หาดเจ้าสำราญ 
    "ผมไม่สามารถเอาคอตตอนบัตไปเช็ดตรวจสารคัดหลั่งได้? สิ่งที่ผมทำได้คือขอสนับสนุนงบประมาณจากนายกรัฐมนตรี? หรือกรณีขาดยาก็ขอให้นายกฯ ไปหาคอนเน็กชั่นพูดคุยกับประเทศต่างๆ? ขอให้เขาส่งยามาให้ไทย? ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากประเทศเกาหลีใต้? พวกเขาอยู่ในข่ายการเฝ้าระวัง ไม่ใช่อาชญากร ?ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่คือประชาชนที่อยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวัง? เขาเดินทางมาจากสถานที่ที่มีการระบาดอย่างรุนแรง? เราจึงต้องปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม? เคารพสิทธิในฐานะที่เขาเป็นคนที่คนหนึ่ง? ในส่วนของนักท่องเที่ยว?ที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศเสี่ยง? ต้องแสดงใบรับรองแพทย์และใบจองโรงแรม กรณีจะมาเที่ยว? 7? วัน ก็ต้องเสียค่าโรงแรม? 21 ?วัน? เพราะต้องกักกันโรคภายในโรงแรมเป็นเวลา? 14 ?วัน? ห้ามออกจากสถานที่ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมควบคุมโรค? ไม่ใช่เรื่องที่อยากจะเดินไปไหนก็ได้? เช่นเดียวกับนักธุรกิจหรือคนไทยที่ไปดูงานในต่างประเทศ ที่ต้องถูกกักตัวเป็นเวลา? 14 ?วันตามมาตรฐาน? กรณีที่ไม่ใช่เป็นการขอความร่วมมือ? แต่เป็นกฎหมาย? บอกให้ชัด ถ้าอยากจะไปเที่ยวก็มา" นายอนุทินระบุ
    ด้าน พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า เมื่อ 7 มี.ค.63 เวลา 10.00 น. พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม พร้อมปลัดกลาโหม ได้เรียกประชุมหารือร่วมกับทุกเหล่าทัพ ณ ศาลาว่าการกลาโหม เพื่อเตรียมความพร้อมของกองทัพในการสนับสนุน สธ.รับมือกับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
    โดยสรุปกลาโหมยืนยันไม่ใช้พื้นที่ทหาร อาคารรับรองหาดเจ้าสำราญ จ.เพชรบุรี รวมทั้งอาคารรับรอง บ่อฝ้าย และสวนสนประดิพัทธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ สนับสนุน สธ.เป็นพื้นที่ควบคุมโรค เนื่องจากประสานกับ สธ.และส่วนราชการในพื้นที่แล้วไม่เหมาะสม  โดยจะใช้พื้นที่ ทร.อาคารรับรองเดิม อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี สนับสนุนเป็นพื้นที่ควบคุมโรคกลุ่มแรงงานไทยในพื้นที่เสี่ยงที่เดินทางกลับจากเกาหลีใต้ ภายใต้การกำกับดูแลของ สธ.
    อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์การแพร่ระบาดเกินระดับการควบคุม กห. โดยทุกเหล่าทัพพร้อมจะสนับสนุนพื้นที่ควบคุมอื่นๆ โดยจะพิจารณาความเหมาะสมร่วมกับ สธ.ต่อไป สำหรับการทำงานของ รพ.ทหารในพื้นที่ต่างๆ ของภูมิภาค ได้จัดเตรียมความพร้อมสนับสนุนเป็น รพ.เฉพาะโรค เมื่อเกินขีดความสามารถในการสอบสวนโรคของ สธ.
    ด้าน พล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย โฆษกกองทัพอากาศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีภาคประชาชนจาก 11 องค์ จ.เพชรบุรี ออกมาแถลงการณ์คัดค้านใช้อาคารที่พักสวัสดิการบ่อฝ้ายของกองทัพอากาศเป็นพื้นที่เฝ้าติดตามกลุ่มแรงงานไทยสุ่มเสี่ยงติด "โควิด-19" หลังกลับจากเกาหลีใต้ว่า ยืนยันว่าประชาชนไม่ต้องกังวล เราไม่ได้ใช้อาคารที่พักสวัสดิการบ่อฝ้ายของกองทัพอากาศเป็นแหล่งเฝ้าติดตามกลุ่มเสี่ยงติดไวรัสโควิด-19 แต่ใช้พื้นที่ของโรงเรียนการบิน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
ส.ว.จวกยับแก้"แมสก์"ขาดไม่ได้
         และเมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ได้มอบหมายให้ พล.อ.อ.สฤษฎ์พงศ์ วัฒนวรางกูร หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา นำเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขไปตรวจพื้นที่ และเห็นพ้องต้องกันว่ามีความเหมาะสม ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก และมีโรงพยาบาลจันทรุเบกษา อีกทั้งอยู่ห่างไกลจากพื้นที่ชุมชน สภาพแวดล้อมโปร่ง โล่ง สบาย และเป็นพื้นที่เฉพาะ แยกออกมาจากที่พักกำลังพล จึงถือว่าปลอดภัย และพร้อมใช้ได้ในวันที่ 10 มี.ค.นี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีกลุ่มเสี่ยงติดไวรัสโควิด-19  เข้ามาอยู่ทันที ซึ่งส่วนนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขที่จะตัดสินใจ หากจะใช้โรงเรียนการบิน เราก็มีความพร้อม
    นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีมีประชาชนบางส่วนตั้งข้อสงสัยและไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลเปิดรับบริจาคเงินจากประชาชน เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า เจตจำนงตั้งต้นของรัฐบาลเรื่องจากการบริจาคเงิน เริ่มจากนายกรัฐมนตรีถามความเห็นในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีถึงการสละเงินเดือนเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเช่นที่หลายประเทศได้ทำ ซึ่งทุกคนต่างเห็นพ้อง แต่หากดำเนินการในรูปแบบกองทุนจะติดขัดข้อระเบียบปฏิบัติหลายอย่าง จึงเปิดเป็นบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล หมายเลขบัญชี 067-0138-290 ชื่อบัญชี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อรับบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ไม่มีเจตนาเปิดรับบริจาคเงินจากประชาชนทั่วไป แต่มีภาคเอกชนบางส่วนสอบถามช่องทางร่วมสนับสนุน ซึ่งรัฐบาลยินดีให้ร่วมสมทบทุนผ่านช่องทางดังกล่าว รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจด้วย
    ด้านนางประภาศรี สุฉันทบุตร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เปิดเผยว่า การบริหารจัดการของรัฐบาลเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 มิได้ยากเกินไป เป็นเรื่องง่ายๆ ถ้ารัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงสาธารณสุขเตรียมการให้ดีมาตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม ก็น่าจะทำให้สถานการณ์ไม่เป็นดังที่เห็นอยู่ในขณะนี้ ซึ่งประชาชนเกิดความสับสนวุ่นวาย ประชาชนแตกตื่น ตระหนกตกใจเห็น หน้ากากอนามัยเป็นสิ่งวิเศษ คิดว่าถ้านำมาปิดจมูกและปากแล้วจะรอดพ้นจากโรคโควิด-19 ได้
         ส.ว.ผู้นี้กล่าวว่า เป็นที่น่าเสียใจ เสียดายเวลา เสียดายโอกาสอย่างมาก ทั้ง 2 กระทรวงดังกล่าวไม่ได้วางแผนเรื่องหน้ากากอนามัย กระทั่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระจายขยายวงออกไปเรื่อยๆ คนไทยเริ่มมีการเสียชีวิต และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความสับสนของข่าวสารและปัญหาสารพัน เช่น หน้ากากอนามัยไม่ได้คุณภาพ หน้ากากมือสอง หน้ากากขาดตลาดไม่เพียงพอ มีการกักตุน หน้ากากราคาแพง หาซื้อไม่ได้ เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้ ปรากฏในสื่อปกติและโซเชียลมีเดีย ยิ่งทำให้ คนวิตกกังวลและหวาดกลัวโรคนี้มากขึ้น ทั้ง ๆ ที่หน้ากากอนามัยเป็นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งในการป้องกันเท่านั้น ไม่ได้ช่วยรักษาโรคโควิดเเต่อย่างใด
        "ขณะนี้ได้เกิดสภาวะที่เรียกว่าสงครามแย่งหน้ากากอนามัย เป็นสภาวการณ์ที่น่าเกลียด น่าเศร้า โหดร้ายมาก ประชาชนต้องมาแย่งกัน ยืนเข้าคิวรอเป็นทิวแถวจำนวนมากเพื่อรับแจกหน้ากาก อนามัย หรือคอยหาซื้อแผ่นผ้าชิ้นเล็กๆ เเผ่นนี้ เพื่อปิดจมูกปิดปาก เพราะกลัวจะติดโรคโควิด-19 ที่มีอันตรายถึงตาย" ส.ว.ผู้นี้กล่าว.
          


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"