ตามรอยอารยธรรมล้านนาผ่านโบราณสถานเชียงใหม่-ลำพูน ( 2)


เพิ่มเพื่อน    

 

กรอุมา นุตะศรินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ กองโบราณคดี ขณะบูรณะภาพจิตรกรรมผนังวัดป่าแดด        

    จากการที่กรมศิลปากร จึงนำคณะสื่อมวลชนเดินทางศึกษาดูงานใน โครงการสื่อมวลชนสัญจร “ตามรอยอารยธรรมล้านนา” ที่ จังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน ซึ่งเป็นแหล่งโลหะกรรม สถาปัตยกรรม  จิตรกรรมล้านนา  และเป็นแหล่งสะท้อนภาพอารยธรรม การใช้ชีวิตของชาวเมืองล้านนาในอดีต  ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับงานด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีผลต่อแนวทางจัดการอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีต่อไป  โดยแบ่งการศึกษาดูงานเป็น 2 พื้นที่ ได้แก่ 1.เชียงราย-เชียงแสน และ 2. เชียงใหม่-ลำพูน  โดยในส่วนพื้นที่เส้นทางเชียงใหม่-ลำพูน   ได้มีการเยี่ยมชมไปบางส่วนแล้ว  

  

วัดป่าแดด

พระพุทธรูปศิลปะพม่า ภายในหอสวดมนต์

 

ภาพจิตรกรรมที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการแต่งตัวแบบพม่า


    และมีการเยี่ยมเยือนต่อ ที่วัดป่าแดด อ.แม่แจ่ม  นางสาวกรอุมา นุตะศรินทร์ นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการพิเศษ กองโบราณคดี บอกว่า ที่วัดแห่งนี้มีคุณค่าทางจิตรกรรมผาผนังและสถาปัตยกรรมของวิหาร แต่หลังคา กระเบื้อง กำแพง มีความชุดรุดเสียหายซึ่งเป็นศิลปกรรมแบบพม่า โดยช่างไทยใหญ่  เห็นได้จากงานจิตรกรรมผาผนัง ที่ตัวคนมีการนุ่งเครื่องแต่งกาย ลุนตยาแบบพม่า แต่ก็มีสวมใส่ผ้านุ่งแม่แจ่ม ซึ่งก่อนหน้านั้นภาพเหล่านี้มีความเลือนลาง เสียหาย จึงได้มีการดำเนินการโครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและประติมากรรมปูนปั้นประดับราวบันไดหน้าวิหารวัดป่าแดด โดยในการซ่อมแซมภาพได้มีการบันทึกภาพเดิม ทำความสะอาดพื้นผิวประติมากรรม เสริมความมั่นคงให้กับชั้นปูน ต่อด้วยปั้นซ่อมลวดลายประติมากรรม ปรับแต่งสีผิวประติมากรรมให้กลมกลืนกับประติมากรรมเดิม โดยมีทั้งหมด 10 ภาพ อาทิ พุทธประวัติ พระเวชสันดรชาดก วิธูรชาดก จันทคาธชาดก มโหสถชาดก มหาเวสสันดรชาดก ไตรภูมิ ความน่าสนใจยังอยู่บันไดด้านวิหารที่มีการตกแต่งด้วย มกรคายนาค มกรคายมกร และมกรคายสิงห์ ที่หาพบได้ยาก ที่ได้มีการบูรณะเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว

วัดยางหลวง


    ไม่ไกลกันมากเป็นที่ตั้งของวัดยางหลวง อยู่ในพื้นที่ชุมชนที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง ในอดีตมีการเรียกขานกันว่าพวกยาง นงไฉน  ได้เล่าให้ฟังว่า วัดแห่งนี้ไม่ปรากฎหลักฐานการก่อสร้างในเอกสารโบราณ มีเพียงคำบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่ว่าสร้างโดยพวกยาง โดยภายในอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานปูนปั้น แต่ความสำคัญอยู่ตรงที่ด้านหลังองค์พระมีปราสาทจำลองขนาดเล็ก ถัดไปอีกด้านหลังเป็น กิจกูฎ อาจจะหมายถึงเขาคิชกูฎ มีลักษณะคล้ายโขงพระเจ้า หรือกู่พระเจ้า  เป็นศิลปะผสมผสานระหว่าง พม่าแบบพุกาม ล้านนา และศิลปะท้องถิ่น ประดับด้วยซุ้มจระนำสองข้าง และประดิษฐานพระพุทธรูปยืน แม้ในส่วนของใบหน้าจะสามารถเทียบเคียงได้กับพระพุทธรูปสำริดในสมัยล้านนาที่พม่าเข้ายึดครอง แต่ที่แตกต่างคือมีเครื่องหมายโอมระหว่างคิ้ว ด้านทิศเหนือที่เป็นปางเปิดโลก มีอักษรล้านนาจารึกเขียนว่า สกราชได้ 2026 ตัวเดือนสิบปถมแล้ว ส่วนตัวอุโบสถเป็นอาคารหนาทึบ บันไดตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปมกรคายนาค ในบริเวณวัดยังมีเจดีย์ และพระพุทธรูปไม้สักในพระวิหาร

ปราสาทขนาดเล๋กหรือ กู่พระเจ้า


    เดินทางเข้ามาในส่วนของอ.เมืองเชียงใหม่ ในพื้นที่เชิงดอยสุเทพ ที่วัดผาลาด ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาไหว้พระขอพร ปฏิบัติธรรม  หรือเป็นจุดแวะพักระหว่างทางเดินขึ้นไปดอยสุเทพ ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญที่น่าสนใจ อย่าง หอพระ ที่นักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 7  ได้มาทำการศึกษาและบูรณะหอพระเจ้า หรือหอสวดมนต์ นายเทิดศักดิ์ เย็นจุระ ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ เล่าว่า สภาพเดิมนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก เหลือเพียงส่วนฐาน และพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 10 องค์ ที่เหตุการณ์น้ำป่าและแผ่นดินไหวมีส่วนทำให้เกิดการหักพังลงมา   ซึ่งก็ได้ภาพถ่ายสมัยกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ได้ถ่ายไว้ในตอนที่สภาพยังสมบูรณ์ชัดเจนที่สุด มาเป็นแบบในการบูรณะ ซึ่งคาดว่าเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรป โดยช่างชาวพม่าที่มาทำงานให้กับบริษัทไม้ของยุโรป ในบริเวณใกล้กันมีโบราณสำคัญ คือ เจดีย์ ทรงตะโก้ง เป็นศิลปะแบบพม่า ที่ประกบด้วย ชุดฐานบัวคว่ำบัวหงายสี่เหลี่ยมจัตตุรัสยกเก็จสองชั้น ประดับปูนปั้นรูปสิงห์สี่มุม มีสิงห์หนึ่งตัวที่มีสิงห์ตัวน้อยเกาะอยู่ที่ขาหน้าด้านขวา แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของช่างในการสร้างสรรค์งาน ซึ่งจะทำการศึกษาบูรณะในอนาคตโดยอิงจากรูปถ่ายของฝรั่ง ที่ถ่ายไว้เมื่อ ค.ศ.1920 ที่แสดงให้เห็นเจดีย์แบบเต็มองค์งดงาม 

เจดีย์ทรงตะโก้ง

หอสวดมนต์  ที่วัดผาลาด


    ต่อที่เวียงเจ็ดลิน นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ ได้บอกว่า ที่นี่เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณเจ็ดลิน ที่มีผังเมืองรูปวงกลม ที่คาดว่ามาจากการไหลมารวมกันของแม่น้ำลำห้วย 7 สาย เพื่อใช้เป็นคูเมือง และระบายใช้เป็นยังพื้นที่อื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตัดผ่านเป็นทางหลวงสายห้วยแก้วทางขึ้นดอยสุเทพ และภายในยังเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ และมหาวิทยาลัย แต่หากได้ลองเข้าไปเยี่ยมชมมองผิวเผินทั่วไปอาจจะไม่สังเกตุเห็นแนวกำแพงเมือง-คูเมือง ที่เป็นคันดินสูง ในตอนนี้ยังพบข้อขัดแย้งในการกำหนดอายุสมัยในพื้นที่  แต่ได้มีกำหนดอายุการสร้างคันดินไว้ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ขณะนี้ก็อยู่ในระหว่างการศึกษาต่อไป 

คันดินและคูน้ำโบราณที่เวียงเจ็ดลิน

 

ยอดดนัย สุขเกษม


    เราได้เดินทางข้ามมายังจังหวัดลำพูน ที่แหล่งถลุงเหล็กโบราณ บ้านแม่ลาน อ.ลี้ หมู่บ้านที่เงียบสงบตามวิถีชนบทธรรมดาทั่วไป กลับซ้อนเรื่องราวและวัตถุโบราณทางคดีสำคัญที่ทางทีมนักโบราณคดีได้ค้นพบ ร่องรอยของเตาถลุงเหล็กในหมู่บ้านแห่งนี้ ยอดดนัย สุขเกษม  ได้เล่าว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าภาคเหนือไม่เคยเจอโบราณสถานในข่วงยุคเหล็กในตลอดการทำงานหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่เมื่อ 2 ปีแล้ว ได้เจอแหล่งถลุงเหล็กที่ อ.บ้านโฮ่ง ที่มีอายุราว 1,4000-1,500 ปี และที่ อ.ลี้ ที่มีอายุราว 2,300-2,400 ปี คาดว่าอยู่ในช่วงต้นยุคเหล็ก ซึ่งมีการพบร่องรอยประมาณ 40 จุด( 1 จุด จะพบ 3-4 เตา) 

เตาหลอมเหล็กโบราณที่มีสภาพสมบูรณ์


    ยอดดนัย เล่าต่อว่า ในพื้นที่นี่พบเตาที่สมบูรณ์ 1 เตา  ที่อยู่ในบริบทเดิม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 90 เซนติเมตร สูงอย่างน้อยประมาณ 180 เซนติเมตรถือว่าใหญ่มาก ซึ่งคนสมัยนั้นมีภูมิปัญญาในการสร้างเตา โดยมีช่องเติมลม รูปทรงกรวย เพื่อให้ความร้อยทั่วถึงเตา ผนังเตาเป็นดินเหนียวที่มีส่วนผสมซึ่งอยู่ในขั้นตอนการศึกษา ทั้งนี้ยังพบอีกว่ามีการย้ายจุดการถลุงไปเรื่อยตามแหล่งที่พบแร่เหล็ก 1 เตาพบว่าใช้เวลา 2-3 วัน สำหรับ 10 คน นอกจากนี้ยังศึกษาพบว่า ในช่วงยุคสมัยนั้นพื้นที่อ.ลี้ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมผลิตเหล็กขนาดใหญ่ แต่อาจจะเพื่อส่งออกไปขาย เพราะไม่พบเครื่องมือเหล็กในพื้นที่ เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก 

 

 

 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"