ร่องรอยเตาถลุงเหล็ก อ.ลี้ จ.ลำพูน เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ต้นยุคเหล็กอายุ 2,400 ปี


เพิ่มเพื่อน    

เตาถลุงเหล็กเมื่อแรกค้นพบและอยู่ในบริบทเดิม

    ลำพูน จังหวัดที่มีพื้นที่ขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ แต่เรื่องราวความเป็นมาในประวัติศาสตร์ที่ได้มีการกล่าวถึงนั้นได้บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดแห่งดินแดนนล้านนาในอดีต เพราะเดิมทีนั้น ลำพูนมีชื่อเมืองว่า" หริภุญไชย "ที่มีอายุกว่า 1,300 ปี ปกครองโดย พระนางจามเทวี จนกระทั่งถึงยุคที่เสียเมืองให้กับพ่อขุนเม็งรายมหาราช แห่งอาณาจักรล้านนา ทำให้ในพื้นที่ของจังหวัดนี้มีสถาปัตยกรรม ศิลปและวัฒนธรรม ประเพณีของล้านนาที่ปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน 

แผนที่แสดงจุดที่พบร่อยรอยเตาถลุงเหล็ก


    แต่ความน่าสนใจของประวัติศาสตร์จังหวัดลำพูน ที่ถูกพบเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ได้ค้นพบแหล่งถลุงเหล็กโบราณ ในพื้นที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ภายใต้การดำเนินการ โครงการโบราณคดีแหล่งโลหกรรมในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย “กิจกรรมขุดค้นแหล่งถลุงเหล็กโบราณสันห้วยทกหิน หมายเลข 01 และแหล่งถลุงเหล็กโบราณห้วยป่าดา หมายเลข 01 ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน” ที่จะพลิกประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบ้านเมืองที่เกิดขึ้น ก่อนยุคการก่อตั้งเมืองหริภุญไชย

ภาพประกอบให้เห็นการใช้เตาถลุงเหล็กในอดีต


    จากที่กรมศิลปากร ได้นำคณะสื่อมวลชนเดินทางศึกษาดูงานใน โครงการสื่อมวลชนสัญจร ตามรอยอารยธรรมล้านนา ที่ จังหวัดเชียงใหม่ – ลำพูน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้ลงพื้นที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เพื่อศึกษาดูแหล่งถลุงเหล็กโบราณ โดยมี นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีปฏิบัติการ ให้ข้อมูลว่า ในเส้นวิวัฒนาการของมนุษย์จะต้องค้นพบการใช้หินก่อน จึงกำเนิดเป็นยุคหิน ต่อด้วยยุคโลหะ ที่แบ่งเป็น สำริดและเหล็ก ซึ่งหากเข้าสู่ในยุคเหล็ก มนุษย์ก็สร้างบ้านเมือง อาวุธและเครื่องมือในการใช้ดำรงชีวิต ซึ่งถือว่ามีความเจริญ มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีและสังคมของมนุษย์ 


    ยอดดนัย กล่าวว่า สำหรับในพื้นที่ประเทศไทย ปรากฏหลักฐานการเข้าสู่สมัยยุคเหล็กเมื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว อย่างในพื้นที่ภาคกลางและภาคอีสาน ที่เราจะเห็นภาพชัดสุด ซึ่งในภาคเหนือก็เคยมีการศึกษาพบเพียงว่า ชาวบ้านภาคเหนือมีการใช้เครื่องมือเหล็กในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ 1.แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ จ.ลำพูน 2. แหล่งโบราณคดีบ้านยางทองใต้ จ.เชียงใหม่ และ 3. แหล่งโบราณคดีสันป่าค่า จ.เชียงใหม่ สามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วง 2,000 – 1,500 ปีมาแล้ว ถึงแม้จะมีการพบการใช้เครื่องมือเหล็กอย่างแพร่หลายในพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่ช่วงระยะเวลาพุทธศตวรรษที่ 1 – 5 ลงมา แต่ยังไม่เคยมีการค้นพบร่องรอยหลักฐานกระบวนการผลิตเหล็กหรือถลุงเหล็กมากพอที่จะไขความกระจ่างเกี่ยวกับยุคเหล็กในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยได้

ร่องรอยการถลุงเหล็กในพื้นที่ชาวบ้านแม่ลาน

ก้อนเหล็กที่นักโบราณคดีและชาวบ้านทดลองถลุง

ก้อนหินที่ใช้ทุบแร่เหล็กในอดีต


    นักโบราณคดีปฏิบัติการ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า จากที่ได้ลงพื้นที่เมื่อ 2 ปีแล้ว ความเป็นมาของยุคเหล็กในภาคเหนือเริ่มเห็นภาพชัดขึ้นเริ่มจากการพบเตาถลุงเหล็กที่บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ลบความเชื่อที่ว่ายุคเหล็กน่าจะเกิดขึ้นในช่วง 1,000 ปี ที่มีการตั้งเมืองหริภุญไชย เราจึงส่งถ่านที่พบอยู่ในก้อนตะกรัน ไปหาค่าอายุที่ Accelerator Mass Spectrometry Dating(AMS) ไวกาโต ประเทศนิวซีแลนด์ หนึ่งในแล็ปที่มีชื่อเสียงระดับต้นๆของโลก ที่ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการ พบว่ามีอายุระหว่าง 1,400-1,500 ปี ซึ่งเราก็ทำการศึกษาต่อมา จนกระทั่งมาถึงพื้นที่ในบ้านแม่ลาน อ.ลี้ จ.ลำพูน จากการศึกษาเมื่อปีที่แล้วในพื้นที่เพียง 20%  พบร่องรอยของเตาถลุงไปต่ำกว่า 40 จุด โดย 1 จุด มีไม่ต่ำกว่า 3-4 เตา และหินทุบแร่ ซึ่งคาดว่าจะมีการพบร่องรอยเตาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในพื้นที่บ้านโฮ่ง-บ้านแม่ลาน และพื้นที่อื่นๆ ที่จะทำการศึกษาต่อไป 

ยอดดนัย สุขเกษม ชี้จุดที่มีการถลุงเหล็กอายุกว่า 2พันปี

ก้อนหินแสดงการเผาไหม้ และร่องรอยลายนิ้วมือแสดงการตกแต่งเตา


    "เราได้ทดลองขุดแหล่งถลุงเหล็ก สันห้วยทกหิน ที่มีชั้นทับถมไม่ลึก ขุดลงไปเพียง 50 เซนติเมตร ก็พบหลักฐานสำคัญคือ เตาถลุงเหล็กในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด  ติดตั้งอยู่ในบริบทเดิม สามารถยกขึ้นมาได้ เราก็ได้มีการนำถ่านที่พบในตะกรันไปตรวจค่าอายุที่ AMS พบว่าอยู่ในช่วง 2,300-2,400 ปี หรือช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 – 3 ซึ่งมีอายุมากกว่าบ้านโฮ่งขึ้นมาอีก และอาจจะเก่ากว่าภาคกลางที่พบในช่วง 2,000-2,100 ปี   ถือได้ว่าเป็นการพบประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่อยู่ในช่วงต้นของยุคเหล็กที่เก่าแก่ที่สุดในการค้นพบของประเทศไทย"ยอดดนัยกล่าว

ชิ้นส่วนของช่องลมที่เป็นส่วนประกอบเตา


    เขายังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า เตาที่ขุดพบทำให้ทราบถึงโครงสร้างเตาสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาคนในอดีต ซึ่งคาดว่าเป็นการถลุงแบบทางตรง ประกอบด้วย ช่องเติมลมรูปทรงกรวย ที่ห่างกันทุก 10 เซนติเมตรเพื่อเติมอากาศให้เกิดความร้อนทั่วถึงเตา ช่องระบายตะกัน 4 ช่อง ขนาดเตามีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 90  – 100 เซนติเมตร ซึ่งสันนิษฐานความสูงที่ 180 – 200 เซนติเมตร ก่อจากดินเหนียวที่มีดินอื่นเป็นส่วนผสม ซึ่งต้องทำการศึกษาต่อไปว่ามีชนิดใดบ้าง จึงถือว่าใหญ่เป็นเตาที่มีขนาดใหญ่มากด้วย  แต่ส่วนที่พบเหลือเพียงส่วนฐานนั้น อาจจะมาจากการทุบของคนถลุงในสมัยก่อนที่ต้องเอาแร่เหล็กที่เหลือออกให้หมด  ในส่วนของการถลุงเหล็กคาดว่าน่าจะต้องอาศัยกำลังคนทำกว่า 10 คน ใช้เวลา 2-3 วันติดกัน นอกจากนี้ยังพบว่าคนสมัยนั้นไม่ได้ถลุงอยู่กับที่ แต่เดินสายถลุงแร่ทุกชนิดไปเรื่อยๆตามแหล่งที่พบ ทำให้ชั้นทับถมดินไม่ลึก และที่นี่มีแหล่งแร่เล็กๆเยอะ แต่ไม่ถือว่าเป็นสายแร่หลักขนาดใหญ่  มีทั้งแร่แมกนีไทด์ แร่แมงกานีส ลูกรัง และเป็นที่น่าสนใจว่าไม่มีการพบเครื่องมือเหล็กหรืออุปกรณ์เหล็กในพื้นที่เลย

ก้อนตะกรันที่มีถ่านหลงเหลืออยู่ภายใน


    จากข้อมูลในการศึกษา นักโบราณคดีปฏิบัติการ จึงสันนิษฐาน อีกว่า คนถลุงเหล็กในตอนนั้นมีการถลุงอยู่ในระดับอุตสาหกรรม ที่ต้องการผลผลิตจำนวนมหาศาลเพื่อส่งออกไปขายยังดินแดนด้านนอก แต่ยังไม่สามารถระบุสถานที่ได้ อีกทั้งการถลุงทางตรงแบบนี้มีการพบในประเทศจีนตอนใต้และที่อินเดีย ซึ่งการต้องนำมาศึกษาเชื่อมโยงว่า คนในสมัยนั้นรับเอาความรู้หรือวิธีการถลุงเหล็กเข้ามาจากจีนหรืออินเดีย หรือรับมาจากที่ใด ในส่วนบริบทปัจจุบันทางทีมนักโบราณคดีและชาวบ้านในพื้นที่ได้มีการทดลองสร้างเตาถลุงเหล็กแบบที่พบ และอิงการถลุงเหล็กแบบโบราณจาก 2 แร่หลัก ได้แก่ แร่แมกนีไทด์ แร่แมงกานีส  ที่สามารถพบได้ทั่วไปแต่ไม่เยอะมากเท่าอดีต มีการตีโดยเทคนิคแบบการตีดาบซามูไร ซึ่งได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็น ดาบน้ำลี้ศิริเวียงชัย ประจำ อ.ลี้ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องมือเหล็กอื่นๆ อยู่ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จากโลหะกรรมโบราณด้วย  

ร่องรอยเตาถลุงเหล็กที่จุดสันห้วยทกหิน


    นักโบราณคดี ได้พาคณะเดินทางไปยังจุดที่เป็นร่องรอยเตาถลุงซึ่งอยู่ในพื้นที่ภายในบ้านของชาวบ้านแม่ลาน ที่มองผิวเผินแล้วก็เหมือนกับกองดินทั่วไป แต่หากมองดีๆจะก้อนตะกรันกระจายอยู่ในพื้นที่ รวมไปถึงผนังเตาที่เป็นซึ่งมีร่องรอยของการเผาไหม้และร่องรอยของนิ้วมือใช้วาดตกแต่งผนังเตา และยังพบชิ้นส่วนที่เป็นช่องลมอีกด้วย นักโบราณคดียังบอกอีกว่าหากทำการสำรวจครบทั่วพื้นที่อ.ลี้ ก็จะพบร่องรอยเตาถลุงเหล็กอีกจำมากทีเดียว 

 

เตาถลุงเหล็กที่อายุเก่าแก่ที่สุดในไทย


/


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"