ดีไซเนอร์ชั้นนำสร้างมูลค่าผ้าบาติกแดนใต้


เพิ่มเพื่อน    

 

 

    เมื่อวันที่ 16 ม.ค.  ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)  กล่าวว่า  สศร.  ร่วม กับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ดำเนินโครงการพัฒนาออกแบบลายผ้าร่วมสมัยไทยชายแดนใต้สู่สากล ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยเชิญนักออกแบบเครื่องแต่งกายชั้นนำของประเทศ ได้แก่ นายธีระ ฉันทสวัสดิ์  และ นายเอก ทองประเสริฐ  ร่วมพัฒนาลวดลายผ้าบาติก ร่วมกับชุมชนชายแดนใต้ โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาในการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ตลอดจนแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใช้เป็นแกนหลักพัฒนาสร้างสรรค์ผ้าบาติก เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชาวบ้าน ทั้งนี้ เพื่อต้องการเพิ่มศักยภาพการผลิต สร้างแรงบันดาลใจ และแนวคิดในการพัฒนาผืนผ้าชายแดนใต้มีความทันสมัยและน่าสนใจมาก ยิ่งขึ้น
     น.ส. สุวิมล วิมลกาญจนา ผอ.ศูนย์เครือข่ายสัมพันธ์และแหล่งทุน สศร. กล่าวว่า จากการลงพื้นที่แดนใต้ เก็บข้อมูลของชุมชนต่างๆ ก่อนการพัฒนา ประกอบด้วย ชุมชนใน จ.สงขลา ได้แก่ มีดีนาทับ นาหม่อมบาติก และจ.ยะลา ได้แก่ ศรียะลาบาติก และอาดือนันบาติก จ.ปัตตานี ได้แก่ บาติก เดอ นารา รายาบาติก และจ.นราธิวาส ได้แก่ ซาโลมา ปาเต๊ะ และบ้านบาโง พบว่า แต่ละชุมชน มีแนวคิดการผลิตตามวัฒนธรรมเดิมที่สืบทอดกันมา ไม่มีการคิดค้นลวดลายใหม่  ทำให้ผ้ามีลวดลายคล้ายกัน และมีรูปแบบมีให้เลือกน้อย เห็นได้บ่อย คือ ลายรูปปลา  ลายดอกไม้   ปะการัง หิน ทะเล และส่วนใหญ่มีสีฉูดฉาด ส่งผลให้การจำหน่ายอยู่ในวงแค[

     "   เมื่อมีการลงไปช่วยพัฒนาผ้าบาติก โดยการใช้นวัตกรรมใหม่ด้วยผ้าแอนตี้แบคทีเรีย  ซึ่งมีคุณสมบัติ  ในการต้านแบคทีเรียและป้องกันรังสียูวี ระบายความร้อนได้ดี ไม่อับชื้น และไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และกำลังเป็นที่นิยมในท้องตลาด รวมถึงให้ความรู้ในการสร้างไอเดียการคิดค้นลวดลาย การปรับลดโทนสีผ้า ผลของการดำเนินงานคือ  12 ชุมชน  ได้ปรับเปลี่ยนมิติมุมมอง และ แนวคิดใหม่ในการ เปิดรับนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และลวดลายผ้า กล้าใช้วิธีการผลิตรูปแบบ  คิดแหวกออกจากกรอบ   จนได้รับเสียงตอบรับจากการเปิดตลาดผ้าแดนใต้ได้กว้างขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ออสเตรีย มาเลเซีย เป็นอย่างดี ทำให้ผ้ามีคุณค่าเพิ่มราคาได้สูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการแดนใต้มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 10-30% นอกจากนี้ ยังพบว่า ผลพลอยได้ที่มีค่าสำคัญยิ่งของโครงการนี้คือ ได้ช่วยเหลือคนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ซึ่งบางคนเหลือตัวคนเดียว ได้ปรับสภาพจิตใจ จากผู้ซึมเศร้า หมดหวัง ให้กลับมามีกำลังใจ มีความสุข  เห็นคุณค่าของชีวิต  สร้างอาชีพ เพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว   ทั้งนี้ สศร. กำลังประสานงาน กับ เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ ชื่อดัง shopee thailand  เพื่อเปิดช่องทางนำสินค้าจากผ้าบาติกและผลิตภัณฑ์ชายแดนใต้ เข้ามาจำหน่าย ซึ่งขณะนี้ชาวต่างชาติ  ต่างให้ความสนใจจำนวนมาก   รวมทั้งจะประสานกับ โรงพยาบาล ธัญญารักษณ์ จ. ปัตตานี ชวนผู้ประกอบการ ชุมชนชาวแดนใต้ร่วมผลิตหน้ากากผ้า ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โควิด -19 ด้วย " น.ส.สุวิมล กล่าว 

 

 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"