ศาลก็ขยับ!เพิ่มเครื่องเทอร์โมสแกน'โควิด' แนะคู่ความป่วย-เสี่ยงขอเลื่อนคดีได้


เพิ่มเพื่อน    

16 มี.ค.63 - นายปุณณพัฒน์ มหาลี้ตระกูล ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานคณะทำงานป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) สำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวถึงการติดตามผลการป้องกันของศาลต่างๆ ว่า ในวันพรุ่งนี้ (17 มี.ค.นี้) คณะทำงานป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 สำนักงานศาลยุติธรรม ทั้ง 10 คนที่แต่งตั้งมาจากตัวแทนสำนักต่างๆ ในส่วนกลาง สำนักงานศาลยุติธรรม จะประชุมติดตามผลจากรายงานของศาลต่างๆ ทั่วประเทศ โดยที่ผ่านมาคณะทำงานฯ ก็ประชุมต่อเนื่องมา 3-4 ครั้งแล้ว นับตั้งแต่นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม มีคำสั่งแต่งตั้ง และที่ผ่านมาในการรับมือเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด คณะทำงานฯ ได้เสนอจัดงบประมาณให้แต่ละศาลแห่งละ 10,000 บาทดำเนินการจัดหาเครื่องมือ-อุปกรณ์การป้องกันในเบื้องต้นก่อน ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว เพราะเกรงว่าหากจะให้ส่วนกลางพิจารณาจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์จะล่าช้าไปไม่ทันการณ์

อย่างไรก็ดี ในการประชุมคณะทำงานป้องกันการแพร่ระบาดฯ ในวันพรุ่งนี้ (17 มี.ค.) เราจะติดตามผล และรับฟังข้อเสนอแนะของศาลต่างๆ ที่รายงานเข้ามาเพื่อพิจารณาว่า เราจะจัดทำมาตรการอะไรต่อไปอีกบ้างเพื่อการป้องกัน รวมทั้งพิจารณาแนวทางปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในสำนักงานศาลยุติธรรมและผู้ที่ติดราชการ โดยขณะนี้เรากำลังพิจารณาว่าจะจัดหาเครื่องเทอร์โมสแกนกล้องถ่ายภาพความร้อน ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายที่ทำงานด้วยระบบเซ็นเซอร์เมื่อเดินผ่านกล้อง ตั้งบริเวณทางเข้าอาคารที่เวลานี้ก็มีการทดลองใช้เครื่องจากเอกชนในศาลอาญา ซึ่งเรากำลังจะจัดหาในระบบเดียวกันมาให้กับ 6 ศาลขนาดใหญ่ในพื้นที่ กทม. ที่จะมีทางเข้าหลักทางเดียว เช่น ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลอาญากรุงเทพใต้-ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี-ศาลแพ่งธนบุรี รวมทั้งสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก โดยเราจะเน้นจัดเครื่องที่ใช้กล้องตรวจจับวัดอุณหภูมิ เนื่องจากการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวไม่ต้องใกล้ชิดกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจกับผู้ที่เดินผ่านเข้ามาติดต่อราชการในอาคาร

นายปุณณพัฒน์ ยังกล่าวด้วยว่า ในส่วนของคู่ความที่มีอาการเจ็บป่วยหรือสงสัยจะเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง อาจขอเลื่อนนัดต่อศาลได้ หากคู่ความอีกฝ่ายไม่คัดค้านก็ขอเลื่อนคดีออกไปได้ ซึ่งจะเป็นเหตุวิสัยหรือเหตุอื่นก็จะเป็นดุลยพินิจขององค์คณะพิจารณาต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ที่เป็นหนึ่งในศาลขนาดใหญ่พื้นที่ กทม. ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2563 ได้ติดตั้งเครื่องเทอร์โมสแกนกล้องถ่ายภาพความร้อน มาตรฐานใกล้เคียงใช้ในสนามบิน เพื่อคัดกรองผู้มาติดต่อราชการ บริเวณอาคารศาลอาญา ซึ่งเป็นหนึ่งในการเพิ่มมาตรการป้องกันโรคไวรัสโควิด (COVID-19) ของสำนักงานศาลยุติธรรมร่วมจัดหา ขณะที่ล่าสุดวันนี้ (16 มี.ค.) ศาลอาญายังจัดหาเครื่องเทอร์โมสแกนวัดอุณหภูมิแบบพกพา ให้ รปภ.ประจำทางเข้าอาคารศาล ได้ใช้ตรวจวัดบุคคลที่เดินผ่านเทอร์โมสแกนกล้องถ่ายภาพความร้อนแล้วมีเสียงเตือนอุณหภูมิสูงกว่า 37 องศา เพื่อตรวจอุณหภูมิซ้ำเพื่อความแม่นยำอีกครั้งด้วย

โดย นายชนุดม ปิติฤกษ์ เลขานุการศาลอาญา ได้กล่าวถึงมาตรการเพิ่มการเฝ้าระวังของศาลอาญาในการป้องกันแพร่ระบาดโรคว่า หลังจากที่ได้จัดสรรงบประมาณ 10,000 บาท ตามนโยบายจัดหาอุปกรณ์ป้องกันแล้ว ในส่วนของศาลอาญานำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อเจลล้างมือ ตั้งประจำจุดมีผ่านเข้า-ออก เช่น หน้าลิฟท์ และหน้ากากอนามัยให้กับบุคลาการในศาล ส่วนหนึ่งจัดหาเครื่องเทอร์โมสแกนวัดอุณหภูมิแบบพกพา ซึ่งขณะนี้จัดหามาได้แล้ว 3 เครื่อง ก็วางไว้ประจำจุดตรวจ รปภ.ที่ทางเข้า และจุดห้องเวรชี้ ชั้น 1 (บริเวณห้องควบคุมตัวผู้ต้องหามาฝากขัง) โดยเราตั้งใจจะจัดหาเครื่องเทอร์โมสแกนวัดอุณหภูมิแบบพกพามาอีก 3 เครื่อง เพื่อจะกระจายให้ห้องพิจารณาชั้น 7, 8, 9 ที่เป็นส่วนซึ่งจะมีผู้ต้องหาและจำเลยต้องผ่านต่อเนื่อง ก็เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัยให้ทุกภาคส่วน สำหรับเครื่องเทอร์โมสแกนกล้องถ่ายภาพความร้อนที่ติดตั้งหน้าทางเข้าอาคารศาลชั้น 2 นั้น เท่าที่ได้พูดคุยหารือกับสำนักงานศาลยุติธรรม ก็มีแนวโน้มจะจัดหาไว้ติดตั้งแบบถาวร ขณะที่ในส่วนของศาลอาญาเอง ผู้บริหารกับกำลังพิจารณาหารือที่จะปรับทางเข้า-ออกบริเวณศาล ให้เหลือเพียงทางเดียวด้านหน้าอาคาร เพื่อความสะดวกในการจัดหน้าที่ตรวจและเฝ้าระวังด้วย จากที่ขณะนี้มีทางเข้าได้ 4 ช่องทาง
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"