พิโธ่!โฆษกพรรคก้าวไกลขึ้นต้นแจงงบปกป้อง'ลุงตู่'ก่อนตบตูดเสนอตัดงบกองทัพให้เหี้ยนมาสู้โควิด-19


เพิ่มเพื่อน    

1 เม.ย.2563 -  นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร โฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดสรรงบกลางของรัฐบาล ว่าเรื่องนี้ต้องให้ความเป็นธรรมกับทางรัฐบาล งบกลางที่มีจำนวน 5.2 แสนล้านบาทนั้นไม่ได้วางไว้ให้ใช้กับภารกิจฉุกเฉินหรือจำเป็นอย่างเดียว แต่ถูกจัดวางไว้ให้ใช้กับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญแก่ข้าราชการ ประมาณ 2.66 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ ประมาณ 7.12 หมื่นล้านบาท เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 4.94 พันล้านบาท และอื่นๆ อีกประมาณ 6.3 หมื่นล้านบาท ส่วนงบประมาณที่นำมาใช้กับสถานการณ์วิกฤตฉุกเฉินที่อยู่ในงบกลางมีชื่อว่า เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น มีอยู่ 9.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นจำนวนไม่มาก ดังนั้นเวลาที่เราคิดถึงงบกลาง เราต้องคิดถึงจำนวน 9.6 หมื่นล้านบาท ไม่ใช่ 5.2 แสนล้านบาท 

“ผมได้ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินของรัฐบาลพบว่า ถูกใช้ไปในมาตรการดูแลเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แล้วประมาณ 9.4 หมื่นล้านบาท ดังนั้นการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีบอกว่า งบกลางจะหมดแล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ แต่การใช้งบประมาณของรัฐบาลจะเป็นที่พอใจของประชาชนหรือเกิดประสิทธิผลหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง”

นายวิโรจน์กล่าวว่า วันนี้เราจึงเรียกร้องให้รัฐบาลโอนงบประมาณในส่วนที่ไม่จำเป็นจากกระทรวงต่างๆ มาใช้ในการกู้วิกฤต ล่าสุดรัฐบาลแจ้งว่าจะตัดงบประมาณ 10% จากทุกระทรวง ซึ่งการโอนงบแบบนี้ถือว่าไม่ถูกหลักการ เพราะหากกระทรวงหรือหน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้เงินจริงๆ ก็ไม่สามารถนำไปใช้ดำเนินการตามที่วางแผนได้ เราจึงแนะนำให้บริหารงบแบบ Zero-based budgeting (การตั้งงบประมาณฐานศูนย์ ) ซึ่งการโอนงบประมาณแบบ Zero-based budgeting คือการเรียกงบประมาณที่ยังไม่มีการเบิกจ่ายมาทั้งหมด ทั้งงบลงทุน งบดำเนินงาน และงบร่ายจ่ายอื่น เช่น งบรายจ่ายที่ปรึกษา งบเดินทางไปราชการต่างประเทศ และงบจัดงานมหกรรม นิทรรศการ อบรม งานประชาสัมพันธ์ งบส่วนนี้เราเสนอให้ตัดทั้งก้อน ไม่จำเป็นต้องตัด 10% เพราะไม่สามารถนำงบมาใช้ได้อยู่แล้วในสถานการณ์เช่นนี้ 

“งบส่วนที่ไม่ควรตัดแม้แต่บาทเดียวอย่างเช่น งบดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้พิการของกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ สรุปการตั้งงบประมาณฐานศูนย์ คือการนำงบประมาณที่เหลือยู่ทั้งหมด ลบด้วยรายจ่ายประจำ เช่นเงินเดือนข้าราชการ เงินบำเหน็จบำนาญ จากนั้นเหลือเท่าไหร่ก็มาพิจารณาทีละโครงการ หากไม่จำเป็นก็ตัดทั้งโครงการ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลควรทำ เพราะหากใช้มาตรฐานตัดงบ 10% เราก็จะตัดงบจากกระทรวงกลาโหมได้น้อย ซึ่งข้อมูลจากกรมบัญชีกลางเปิดเผยว่า อัตราการเบิกจ่ายของงบลงทุนของกระทรวงกลาโหมต่ำมาก และอยากให้ย้อนหลังไปดูงบ 2562 หากมีสัญญาการซื้ออาวุธใดๆ แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างว่ามีการทำสัญญาไปแล้ว ก็ต้องรื้อมาดู ตราบใดก็ตามที่ยังไม่มีการส่งมอบ ก็ควรไปเจรจาเพื่อลดออเดอร์ลง ขอแก้ไขสัญญาซื้อสินค้าชนิดอื่น หรือเลื่อนการซื้อขาย ดังนั้นหลักคิดในการโอนงบ 2563 คือ ใช้งบประมาณฐานศูนย์ คือ อะไรที่จำเป็นไม่ตัด แต่อะไรที่ไม่จำเป็นต้องตัดให้เหี้ยน โยกมาทั้งก้อน อย่ามาถือโอกาสใช้แนวคิดเท่าเทียม ตัด 10% เหมือนกันหมด” นายวิโรจน์ กล่าว 

เมื่อถามว่า งบกลางในส่วนเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นสามารถเพิ่มจำนวนได้หรือไม่ โฆษกพรรค ก.ก. กล่าวว่า สามารถทำได้ และควรเพิ่มเงินในส่วนนี้ด้วย ทั้งนี้ในปี 2564 หากรัฐบาลจะขอเพิ่มงบในส่วนนี้ ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเราไม่รู้ว่าใน 1 ปี เราจะเผชิญภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินเรื่องใด จึงต้องมีเงินส่วนนี้สำรองไว้ใช้จ่าย ซึ่งในวันนี้เราเห็นชัดเจนว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มจะลากยาว และส่งผลกระทบไปอีกหลายเดือน หรือเป็นปี รัฐบาลจึงมีภารกิจสำคัญ 3 ประการคือ การควบคุมการระบาด การยกระดับขีดความสามารถทางสาธารณสุข และการเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจ 


ทั้งนี้จากสถิติปี 2562 ที่ผ่านมาพบว่า ตัวเลขผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีทั้งหมด 3,084,290 ราย ก่อให้เกิดการจ้างงานรวม 13,950,241 คน หากคนเหล่านี้ไม่สามารถฟื้นกลับมาได้ ก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างอย่างแน่นอน
ดังนั้นสิ่งที่เราอยากเห็นในงบประมาณปี 2564 คือ การมีงบความมั่นคงใหม่ เปลี่ยนความมั่นคงทางการทหารมาเป็นความมั่นคงทางสาธารณสุข เปลี่ยนอาวุธมาเป็นยารักษาโรค วันนี้ไอเอสประกาศยุติการก่อการร้าย และขบวนการบีอาร์เอ็นประกาศยุติการยิง เพราะต่างฝ่ายก็ทราบอย่างชัดเจนแล้วว่า วันนี้ความมั่นคงที่ทุกคนต้องเผชิญคือความมั่นคงด้านสาธารณสุข ไม่ใช่ความมั่นคงด้านการทหารอีกต่อไป และไวรัสไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่ว่าคุณจะมีชื่อเสียงหรือไม่ก็ตาม 

“เรากำลังจะเสนอแนวทางการโอนงบประมาณ 2563 และการจัดสรรงบประมาณ 2564 ซึ่ง ส.ส.ที่อยู่ในกรรมาธิการงบประมาณ จะติดตามการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด หากรัฐบาลยังใช้วิธีบวกๆ ลบๆ งบประมาณ 2563 ถือว่ารัฐบาลยังส่งการบ้านแบบเดิม ทั้งที่สถานการณ์ไม่เหมือนเดิม ดังนั้นหากยังไม่แก้ไข การพิจารณาในวาระ 1 คงโหวตให้ผ่านไม่ได้ โดยสิ่งที่เราอยากจะเตือนคือ กระทรวงกลาโหมเป็นกระทรวงที่มีสัดส่วนของงบผูกพันสูงมาก ในปี 2564 เราคาดหวังว่า จะไม่เห็นงบผูกพันใดๆ ของกระทรวงกลาโหม ยกเว้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นความตายและชีวิตของประชาชน เราไม่อยากเห็นงบการจัดซื้ออาวุธที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงไม่อยากเห็นงบอีเว้นท์ สัมมนา นิทรรศการ อบรม การเดินทางไปต่างประเทศ เพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ไม่จบในเร็วๆ นี้แน่. 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"