ศาลยุติธรรมออกแนวปฏิบัติการสอบถามผู้ต้องหา-ไต่สวนผู้ต้องหาออนไลน์


เพิ่มเพื่อน    

4 เม.ย.63 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้ออกแนวทางปฏิบัติงานการสอบถามผู้ต้องหาหรือไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายขังผู้ต้องหาครั้งแรกผ่านระบบการประชุมทางจอภาพหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) ระบุว่า

โดยสมควรกำหนดวิธีการปฏิบัติในทางธุรการเกี่ยวกับการสอบถามผู้ต้องหา หรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายขังผู้ต้องหาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นตั้งแต่ครั้งแรก

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 8 แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการสอบถามผู้ต้องหาหรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายขังผู้ต้องหาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.2556 และข้อ 4 แห่งระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาในศาลที่เกี่ยวกับผู้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำหรือสถานที่กักขัง ในระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) พ.ศ.2563 เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในสุขอนามัยของประชาชนและเจ้าพนักงาน โดยมี มาตรการลดการเดินทางมาศาล และลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำที่แออัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังต่อไปนี้

1. การยื่นคำร้องและรูปแบบคำร้อง ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอหมายผัดฟ้อง/ฝากขังและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อศาล โดยทางโทรสารจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นใด โดยจัดส่งคำร้องมายังศาลในวันเวลาราชการล่วงหน้าก่อนกำหนดนัดไต่สวน

2. การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสาร 

2.1 เมื่อศาลได้รับคำร้องแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ศาลผู้รับผิดชอบดำเนินการดังนี้

(1) ให้เจ้าหน้าที่ศาลตรวจสอบคำร้องขอผัดฟ้องหรือฝากขังที่ได้รับ หากไม่ถูกต้อง ให้แจ้งพนักงานสอบสวนทราบทางโทรศัพท์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว จากนั้นรับคำร้อง บันทึกข้อมูลคดีประวัติและภาพถ่ายผู้ต้องหาไว้ในโปรแกรมระบบสำนวนคดี

(2) จัดทำสำนวนการขอผัดฟ้องหรือฝากขังเสนอผู้พิพากษาพิจารณาสั่ง

(3) เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้สอบถามผู้ต้องหาหรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายขังผู้ต้องหา ในลักษณะการประชุมทางจอภาพหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นได้ ให้เจ้าหน้าที่ศาลประสานงานไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เพื่อสอบถามวันนัดไต่สวนและความพร้อมของระบบการประชุมทางจอภาพ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น หากเจ้าหน้าที่เห็นว่าระบบที่ใช้อยู่มีเหตุขัดข้อง ก็ให้รายงานเหตุนั้นต่อศาลโดยพลัน เพื่อให้ศาลพิจารณาอนุญาตให้นำสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นมาใช้ในการไต่สวนแทน

(4) ให้เจ้าหน้าที่ศาลนัดหมายเวลาในการไต่สวนคำร้องดังกล่าว เมื่อได้กำหนดวันนัดไต่สวนแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ศาลจัดเตรียมความพร้อมระบบการประชุมทางจอภาพ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น เพื่อใช้ในการสอบถามหรือทำการไต่สวนตามวันเวลาที่ศาลกำหนดต่อไป

(5) ให้เจ้าหน้าที่ศาลจัดส่งสำเนาคำร้องและแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบทุกครั้ง ก่อนที่ศาลจะสอบถามหรือทำการไต่สวน

(6) ให้เจ้าหน้าที่ศาลจัดทำบันทึกทะเบียนคุมเกี่ยวกับการสอบถามหรือ ทำการไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายขังผู้ต้องหาในลักษณะการประชุมทางจอภาพหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม

3. การไต่สวนผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น

3.1 ในการสอบถามผู้ต้องหาหรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายผัดฟ้องหรือฝากขังผู้ต้องหาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ตั้งแต่ครั้งแรก ให้ดำเนินการภายในห้องพิจารณาคดีโดยมีการถ่ายทอดภาพและเสียงระหว่างห้องพิจารณาคดีกับสถานีตำรวจ (กรณีผู้ต้องหาอยู่ที่ทำการของพนักงานสอบสวน) หรือเรือนจำ (กรณีพนักงานสอบสวนนำ ตัวผู้ต้องหามาที่เรือนจำ) หรือที่ทำการของพนักงานอัยการ โดยให้พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการนำตัวผู้ต้องหามาไต่สวนที่สถานีตำรวจหรือเรือนจำ หรือที่ทำการของอัยการแล้วแต่กรณี

3.2 ในการสอบถามผู้ต้องหาหรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายผัดฟ้องหรือฝากขังผู้ต้องหาครั้งแรก ศาลอาจใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสํานักเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานศาลยุติธรรม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือหากการดำเนินการผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสํานักเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้คดีเกิดความล่าช้า ศาลอาจดำเนินการดังกล่าวผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใดๆ ที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงระหว่าง ศาลและสถานที่ซึ่งทำการผัดฟ้องหรือฝากขัง อาทิเช่น Skype, FaceTime, Messenger, LINE, WhatsApp, ZOOM, WeChat เป็นต้น

3.3 ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศาลอาจพิจารณาว่าเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องที่เจ้าพนักงานศาล บุคคลภายนอก หรือบุคคลที่ผู้ต้องหาร้องขอ ไม่อาจไปเป็นสักขีพยานในการสอบถามหรือไต่สวนได้ซึ่งศาลมีอำนาจ มอบหมายให้บุคคลอื่นเป็นสักขีพยานแทนก็ได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นสักขีพยานตามข้อ 5 ของข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการสอบถามผู้ต้องหาหรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานในการออกหมายขังผู้ต้องหาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ.2556 จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(2) สามารถพูดคุย มองเห็นและติดต่อสื่อสารผ่านระบบการประชุมทางจอภาพหรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นได้
(3) ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นคนวิกลจริต
(4) ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หากเป็นข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ควรต้องเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตรขึ้นไป

3.4 การสอบถามและไต่สวนให้เป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อศาลสอบถามผู้ต้องหาหรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานเสร็จแล้ว ให้ศาลจดบันทึกถ้อยคำของผู้ร้องและผู้ต้องหา และจดบันทึกให้ปรากฏด้วยว่าได้สอบถามผู้ต้องหา หรือทำการไต่สวนพยานหลักฐานผ่านระบบการประชุมทางจอภาพแอปพลิเคชันอื่นใด หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น และลงลายมือชื่อไว้

3.5 เมื่อศาลไต่สวนเสร็จแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ศาลส่งคำให้การพยานและรายงานกระบวนพิจารณาไปยังสถานีตำรวจ หรือเรือนจำ หรือที่ทำการของพนักงานอัยการ โดยทางโทรสารจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น เพื่อให้ผู้ร้อง สักขีพยาน และผู้ต้องหาลงลายมือชื่อแล้วให้ส่งมากลับมายังศาลโดยทางโทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นแล้ว ให้รวมเข้าสำนวนคดี

4. การออกหมายขัง

4.1 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ออกหมายขัง ให้เจ้าหน้าที่ศาลส่งสำเนาหมายขังพร้อมภาพถ่ายผู้ต้องหาไปยังเรือนจำ โดยทางโทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ส่วนต้นฉบับหมายขัง ให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มารับหมายขังในภายหลัง

4.2 ให้ผู้ร้องนำตัวผู้ต้องหาไปส่งที่เรือนจำในวันเดียวกัน                                                                                                                                                                                                                                      4.3 กรณีที่มีการขอประกันตัว ให้ผู้ขอประกันยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาต่อศาล พร้อมเอกสารประกอบและหลักประกัน โดยให้สอบถามผู้ต้องหาอยู่ที่สถานีตำรวจผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น หากผู้ต้องหาประสงค์ขอประกันโดยไม่มีหลักประกัน ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณีส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราว (คำร้องใบเดียว) มายังศาลโดยทางโทรสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น เพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งการสาบานตนของผู้ต้องหาก่อนปล่อย อาจทำผ่านระบบการประชุมทางจอภาพได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"