เราไม่ทิ้งกันในยามโควิดวิกฤติ


เพิ่มเพื่อน    


    “โควิด-19” พิษร้ายที่คืบคลานลุกลามเข้ามาทำลายเศรษฐกิจไทยชนิดที่ว่าไม่ให้ได้ตั้งตัวกันเลยทีเดียว หรือแม้แต่ระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นทางบก ราง น้ำ อากาศก็โดนเล่นงานชนิดที่ว่า ทำคนเดินทางกันไม่ได้เลย  เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ไทยเราเท่านั้น แม้แต่ทั่วโลกก็เจอกับวิกฤติไวรัสโคโรนา 2019 ตัวนี้เช่นเดียวกัน
    เมื่อย้อนกลับไปดูในส่วนของระบบขนส่งสาธารณะที่พบว่ามีพนักงานติดโควิด-19 จนเสียชีวิตเป็นพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ตำแหน่งพนักงานรถจักร 6 ฝ่ายการช่างกล โดยมีอาการเป็นไข้ ไม่สบาย เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา ไปหาหมอที่โรงพยาบาล ซึ่งหมอแจ้งว่าเป็นไข้ธรรมดา เพราะผู้ป่วยไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยง ไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ หรือไปในที่ที่มีการแพร่ระบาด โดยหมอให้ยากลับมากินที่บ้านปกติ หลังจากนั้นอาการก็หายเป็นปกติ
    ต่อมาวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พนักงานการรถไฟรายนี้ที่สถานีรถไฟรังสิต นำเอกสารไปให้เพื่อนที่ทำงาน จากนั้นกลับมาบ้าน เข้าห้องน้ำ และมีอาการหน้ามืด จะเป็นลม เกร็ง ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ภายหลังพบว่าเป็นผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 รายแรก ของจังหวัดปทุมธานี
    เรื่องการติดเชื้อโควิด-19 ถือว่าเป็นที่เลื่องลือกันในหมู่คนรถไฟ หลังจากมีการรายงานตรวจพบช่างซ่อมรถไฟมักกะสัน 1 ราย ติดเชื้อโควิด-19 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาฯ  แล้วนั้น ได้มีการสอบสวนโรคในพื้นที่ว่า มีพนักงาน หรือลูกจ้างในโรงซ่อมมักกะสันรายใดที่มีการพบปะทำงานใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อรายดังกล่าว ในเวลาต่อมาพบว่ามีพนักงานรถไฟ และลูกจ้างเข้าข่ายมีความเสี่ยงรวม 67 ราย
    เรื่องนี้ส่งผลให้ ”ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ต้องลงพื้นที่โรงงานมักกะสัน ตามสโลแกนประจำตัวก่อนมานั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ว่า ”เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยได้เยี่ยมให้กำลังใจพนักงานรถไฟ เมื่อวันที่ 10  เม.ย.ที่ผ่านมา โดยกำชับผู้บริหารดูแลพนักงานอย่างเต็มที่ เพราะถือเป็นบุคคลเสียสละให้บริการประชาชนท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 พร้อมจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น แจกหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ให้กับพนักงาน
    โดยนายศักดิ์สยามได้พูดสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานรถไฟ ว่าสิ่งที่ผมอยากทำคือ การหยุดให้บริการรถไฟทุกขบวน แต่ไม่สามารถทำได้เพราะจะส่งผลกระทบกับผู้ใช้บริการที่มีรายได้น้อย และยังมีความต้องการใช้บริการจำนวนมากถึง 1,500-2,000 คนต่อวัน แม้จะลดลงจากเฉลี่ยวันละ 9,000 คนก็ตาม ดังนั้นท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้  อาจทำให้พนักงานหลายคนรู้สึกเครียดและวิตกกังวลไปตามๆ  กัน แต่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐบาล  เพราะสิ่งนี้คือหน้าที่ที่ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมต้องถือปฏิบัติในการให้บริการแก่ประชาชน
    ปัจจุบันมีพนักงานด้านปฏิบัติการที่ยังให้บริการกับผู้โดยสารจำนวน 2,500 คน จึงมอบนโยบายให้ผู้บริหาร รฟท.1ดูแลพนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกคนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะพนักงานช่างซ่อม สังกัดฝ่ายซ่อมส่วนล่าง รถดีเซลรางซึ่งป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้ด้วยความมั่นใจ เช่น การพ่นยาฆ่าเชื้อในสถานที่ทำงาน  รวมทั้งตู้โดยสาร ให้ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าพื้นที่ รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น แจกหน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์ให้กับพนักงาน
    ขณะเดียวกัน ได้สั่งให้จัดอุปกรณ์การป้องกันความเสี่ยงการติดเชื้อ รวมทั้งใช้นโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม(Social Distancing) เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของพนักงานลงด้วย ถึงแม้การเดินขบวนรถไฟจะน้อยลง แต่พนักงานทุกคนยังให้บริการทุกสถานี หากมีประชาชนมาติดต่อขอใช้บริการที่สถานี เช่น จองตั๋ว คืนตั๋ว รฟท.ยังคงให้บริการทุกวันเหมือนเดิม
    ต้องอย่าลืมว่า ณ เวลานี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการสร้างขัวญและกำลังใจจากผู้บังคับบัญชา ที่จะหล่อเลี้ยงกำลังใจให้พนักงานคนรถไฟ หรือแม้แต่หน่วยงานอื่นๆ ได้มีกำลังใจที่จะลุกขึ้นสู้กับวิกฤติในครั้งนี้ เมื่อทุกคนผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้เชื้อว่าจะเป็นบทพิสูจน์นำมาซึ่งการต่อสู้ที่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทุกคน.

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"