เขย่า ระบบคัดเลือกเข้ามหา'ลัย" สพฐ".คุย"ทปอ."สรุปให้เหลือสอบแบบเดียว แต่วัดได้ครบด้าน เริ่มใช้ปี 66 


เพิ่มเพื่อน    

20เม.ย.63-นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมแนวทางดำเนินการการจัดทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) การทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) และการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชาสามัญ ประจำปีการศึกษา 2563 โดยมีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธาน ร่วมกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)  ซึ่งที่ประชุมได้หารือถึงการจัดทดสอบต่างๆ โดยเฉพาะการจัดการทดสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถานบันอุดมศึกษาของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวมีการทดสอบหลายครั้งส่งผลให้เด็กมีความเครียดและผู้ปกครองมีความกังวล เพราะเด็กบางคนต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการสอบ ดังนั้นที่ประชุมจึงมีข้อสรุปร่วมกันว่าจะกลับไปทบทวนการจัดทดสอบต่างๆ ในกลุ่มเด็กม.6 ให้เหลือการสอบเดียว แต่วิธีการดำเนินการจะเป็นข้อสอบในรูปแบบใดนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สทศ.และ ทปอ.จะไปหารือร่วมกันในรายละเอียดอีกครั้ง
           
นายอำนาจ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ในที่ประชุม ทปอ.เสนอว่า การทดสอบโอเน็ตและการทดสอบวิชาสามัญ 9 วิชา น่าจะนำมารวมเป็นข้อสอบเดียวได้ เนื่องจากตอบโจทย์การวัดทักษะและสมรรถนะผู้เรียน โดย ทปอ.และ สทศ.จะไปประเมินข้อสอบของเด็กทุกระดับอีกครั้งว่าข้อสอบแบบไหนจะสามารถวัดทักษะและสมรรถนะเด็กได้ไปพร้อมกันได้ เพราะ สพฐ.เองจะมีการปรับหลักสูตรใหม่เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ซึ่งจะต้องปรับข้อสอบให้มีความเชื่อมโยงด้วย อย่างไรก็ตามการดำเนินการรื้อการสอบซ้ำซ้อนนั้นจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษานี้ และจะประกาศใช้การสอบเดียวสำหรับเด็กม.6 ในปีการศึกษา 2566 ต่อไป อย่างไรก็ตาม รมว.ศธ.ให้ความเห็นในเรื่องนี้ด้วยเช่นกันว่าอยากจะให้ปรับการทดสอบของเด็ก ม.6 เหลือการสอบเดียว เพราะหลักการทดสอบที่แท้จริงคือการทดสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน แต่การจะวัดมาตรฐานของเด็กให้ได้นั้นจะต้องใช้ข้อสอบแบบใดบ้างที่จะระบุได้ว่าเด็กมีทักษะ และมีสมรรถนะด้านไหน รวมถึงการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะมีข้อสอบแบบใดที่สามารถวัดศักยภาพเด็กได้ตรงกับสาขาที่เรียนด้วย  ซึ่งที่ประชุมจึงได้อิงการทดสอบจากต่างประเทศ เช่น การทดสอบของประเทศญี่ปุ่น อังกฤษ อเมริกา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา เป็นต้น เพื่อนำมาเป็นต้นแบบและวิเคราะห์การทดสอบให้เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด

ด้านนายพีระพงศ์ ตริยเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการ ทปอ. กล่าวว่า ทปอ.ได้รายงานแนวทางการรวมข้อสอบโอเน็ตกับ วิชาสามัญ 9 วิชา เข้าเป็นข้อสอบชุดเดียวกัน ว่า เป็นแนวทางที่ตรงกับสิ่งที่ ทปอ.คิด เนื่องจาก ทปอ.มีแนวคิดที่จะปรับปรุงข้อสอบและจะใช้ข้อสอบใหม่ปีการศึกษา 2566  โดยเห็นว่าควรลดจำนวนการสอบลง ซึ่งข้อสอบวัดความรู้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนความรู้ และส่วนความถนัด โดยส่วนความรู้จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนความรู้พื้นฐาน ซึ่งก็คือข้อสอบโอเน็ตเดิม และ ส่วนความรู้ประยุตก์ หรือวิชาสามัญ 9 วิชา เช่น ข้อสอบคณิตศาสตร์ 1 เป็นส่วนพื้นฐาน กับ คณิตศาสตร์ 2 ส่วนความรู้ประยุตก์ ซึ่งแล้วแต่ว่านักเรียนจะเลือกสอบดังนั้น ผลสอบออกมาแล้ว ข้อนี้เป็นความรู้พื้นฐาน ข้อนี้เป็นความรู้ประยุกต์ ก็นำไปใช้งานอย่างไรก็สามารถนำคะแนนไปใช้ได้ ซึ่งที่ประชุมก็รับทราบและเห็นด้วย ดังนั้นต้องมีการนำไปประชุมหารือเพื่อที่จะดำเนินการต่อ
 
เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงปฏิทินการสอบโอเน็ต GAT/PAT วิชาสามัญ 9 วิชา ประจำปีการศึกษา 2563 นั้น นายพีระพงศ์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากการที่ ศธ.เลื่อนวันปิดภาคเรียนที่ 2/2563 วันที่ 30 เมษยน 2564 นั้น ขณะนี้ปฏิทินที่จะเลื่อนการสอบ ทปอ.มีข้อเสนอบเบื้องต้นแล้ว โดยได้หารือกับ สพฐ.และ สทศ. และอยู่ระหว่างการยังหารือกับ มหาวิทยาลัยต่างๆ ว่าจะลงตัวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยหรือไม่ แต่คาดว่าจะได้ข้อสรุปอย่างช้าที่สุด คือ หลังเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1/2563 หรือ เดือน กรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้  เพื่อให้นักเรียนได้มีเวลาเตรียมตัว แต่ข้อสรุปดังกล่าวต้องผ่านความเห็นชอบจาก ที่ประชุมสามัญ ทปอ.ก่อน ซึ่งขณะนี้ ทปอ.มุ่งแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก่อน เช่น การปรับปรุงการสรอน การช่วยเหลือนักศึกษา ส่วนทีแคสปี2564 ยังสามารถรอได้ แต่เราก็ไม่ได้ทอดทิ้ง และเนื่องจากปีการศึกษา 2564 ระบบทีแคสรอบ 3 กับ รอบ 4 ก็จะทำให้ระยะเวลาการประมวลผลสั้นลง ดังนั้นการเลื่อนการเปิดภาคเรียนปีนี้ จากผลของโควิด-19 ก็จะส่งผลต่อทีแคส 2564 แต่ก็คงไม่มาก

ผู้สื่อข่าวรายงาน การทดสอบโอเน็ต GAT/PAT และวิชาสามัญ 9 วิชา เป็นการทดสอบเพื่อนำคะแนน ไปใช้ยื่นในระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้า ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (TCAS) รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน และรอบที่ 4 แอดมิชชั่น ที่แต่ละคณะ/สาขาวิชา จะมีความต้องการคะแนนที่ต่างกันออกไป ส่งผลให้นักเรียนต่อศึกษาว่า คณะ/สาขา ที่จะเข้าศึกษาต่อนั้น ต้องใช้คะแนนในรายวิชาใดบ้างและเลือกสอบตามที่มีการกำหนด ซึ่งหากข้อสอบทั้งหมดสามารถรวมเป็นการสอบครั้งเดียวแต่วัดอย่างรอบด้านได้ ก็จะทำให้นักเรียนไม่ต้องวิ่งสอบรายวิชา

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"