'สุริยะใส'เปิดมุมมอง'ข้อดี-ข้อเสีย' เรียนออนไลน์ให้เท่าทันการศึกษายุค New normal


เพิ่มเพื่อน    

10 พ.ค.63 -นายสุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยมีเนื้อหาดังนี้ เล่าสู่กันฟัง : ข้อดี-ข้อเสียของ การเรียนออนไลน์

ก่อน Covid-19 แพร่ระบาด โลกของการศึกษาก็กำลังถูก Disruption อย่างรุนแรง เป็นทั้งวิกฤติและโอกาส สถาบันการศึกษาปรับตัวกันอย่างเข้มข้น ใครไม่ปรับหรือปรับไม่ทันก็ไม่มีที่อยู่ที่ยืนกันไปเลยทีเดียว ไม่ทันไร โดน Covid เข้ามาถล่มอีก ทำให้การเรียนการสอนผ่านออนไลน์ (online learning) กลายเป็นปรากฎการณ์การศึกษาสมัยใหม่ไปแล้ว ผมก็หนีไม่พ้นถูก disrupt ไปกับเขาด้วย วันนี้เลยจะขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์การสอนผ่านออนไลน์ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียดูนะครับ

ข้อดี

1.นักศึกษาเข้าเรียนเกือบ 100% ทุกคาบ เพราะการเรียนในชั้นเรียนปกติมักจะพบปัญหานักศึกษาขาดเรียนหรือโดดเรียน สารพัดข้ออ้างจริงเท็จบ้างก็มี แต่พอเรียนออนไลน์ แม้ป่วยไม่หนักหนาสาหัสก็ยังสามารถเปิดอินเตอร์เน็ตโปรแกรมเข้าเรียนได้

2.เข้าเรียนตรงเวลามากขึ้น เพราะไม่ต้องเดินทาง ไม่มีความเสี่ยงเรื่องปัญหาจราจร พอถึงเวลาใครที่ยังไม่ log in เข้ามาก็โทรถามไถ่ตามตัวได้ว่านักศึกษามีปัญหาอะไร

3.เรียนไปด้วย ช่วยงานที่บ้านไปด้วยก็ได้ หรือดูแลผู้ปกครองพ่อแม่ ที่อาจจะป่วยอยู่ที่บ้านด้วย

4.ลดภาระค่าใช้จ่าย อันนี้แน่นอนครับไม่ต้องมาเช่าหอพัก ไม่ต้องเดินทาง และไม่ต้องมากินข้าวนอกบ้านหรืออาจโดนเพื่อนชวนไปเที่ยวกันต่อก็ได้

5.กลับมาเรียนซ้ำ เรียนชดเชยได้ เพราะทุกโปรแกรมออนไลน์สามารถบันทึกระหว่างเรียนไว้ได้ เรียนแล้วไม่เข้าใจสามารถกดย้อนกลับมาดูได้ คนที่ขาดเรียนก็มาเรียนย้อนหลังได้

6.อยู่ที่ไหนก็เรียนได้ ขอให้มีอินเตอร์เน็ต ช่วงไวรัส Covid-19 แพร่ระบาดนักศึกษาบางคนไปเป็น อาสาสมัครช่วยชุมชนในจังหวัดต่างๆ ก็ทำหน้าที่เป็นนักวิจัย เก็บข้อมูลมาเสนอให้เพื่อนที่อยู่จังหวัดอื่นได้เห็นได้ฟังสดๆกันไปเลยก็มี

7.กล้าและมั่นใจได้การแสดงความคิดเห็นมากขึ้น เพราะไม่ต้องแสดงตัวตน อากัปกิริยาหน้าชั้นเรียนหรือในห้องเรียน ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนทั้งหมด

8.เชิญแขกหรือวิทยากรได้ง่ายและมีคุณภาพขึ้น เพราะเมื่อเป็นมนุษย์โซเชียล ก็ตอบรับคำเชิญง่ายแค่ log in เข้าโปรแกรม ก็ทำหน้าที่เป็นวิทยากรได้เลย ไม่ต้องจ่ายค่าวิทยากรหรือเสียเวลาเดินทางมาห้องเรียนด้วยซ้ำ

9.การสนับสนุนระหว่างเรียนคล่องตัว ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เช่น การเปิด slide powerpoint youtube ฯลฯ ประกอบการบรรยายทำได้ตลอดเวลา

10.บางวิชาผู้ปกครองขอนั่งเรียน นั่งฟังไปด้วย เป็น home school อีกรูปแบบหนึ่งก็ว่าได้ อันนี้ผมเจอมาแล้ว นักศึกษาบางคนอาจารย์ครับผมขออนุญาตให้คุณพ่อคุณแม่นั่งฟังด้วยนะครับ แค่ฟังไม่พอครับผู้ปกครองขอแลกเปลี่ยนด้วยก็สนุกและตื่นเต้นไปอีกแบบครับ

ข้อเสีย

1.ต้องเข้มงวด เช่น ต้องเปิดกล้องสดๆ ตลอดเวลา เพราะอาจมีบ้างที่นักศึกษาปิดกล้อง โชว์รูปนิ่งแล้วหนีไปทำอย่างอื่นหรือไม่ตั้งใจเรียน

2.การพัฒนาความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรง กับอาจารย์และเพื่อนๆนักศึกษาทำได้ยากกว่า

3. อาจต้องจ่ายค่าซอฟต์แวร์ที่อัพเดตเพื่อเข้าถึงโปรแกรมออนไลน์หรือจ่ายเงินเพิ่มเพื่ออัพเกรดเป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือต้องพัฒนาทักษะในการใช้แต่ละโปรแกรมตลอดเวลา (technology skills)

4.ตรวจสอบความสงสัยและความเข้าใจของนักศึกษาอาจทำได้ยากกว่าเพราะในห้องเรียนสามารถกุมสภาพได้ละเอียดกว่าว่าใครทำหน้ามึนงง สงสัย หรืออยากถามแต่ไม่กล้าถาม

5.การสร้างแรงจูงใจ (motivation) ในห้องเรียนปกติทำได้ดีกว่า กระตุ้นได้ดีกว่า เพราะเป็นการเผชิญหน้ากันทำให้เห็นสภาพความพร้อมหรือไม่พร้อมของนักศึกษาแต่ละคนได้ละเอียดกว่า

เอาเข้าจริงๆ ข้อดีและข้อเสียอาจจะมีมากกว่าที่ผมเล่าซึ่งมาจากประสบการณ์โดยตรงเฉพาะตัวของผมนะครับ
ผมคิดว่าถึงที่สุดแล้วเราไม่ควรเลือกแบบใดแบบหนึ่ง
ระหว่างการเรียน (online learning) กับการเรียนแบบปกติ (usual instruction) แม้แต่นักศึกษาจำนวนมากที่ผมสอบถามก็ยังอยากมาเรียนที่มหาวิทยาลัย เพราะได้พบปะเพื่อน อาจารย์แบบ face to face
ถ้าต้องเลือกผมจึงขอเลือกใช้แบบผสมผสาน (blended) จะทำให้การศึกษายุค New normal มีคุณภาพ ทันสมัยและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเท่าทันครับ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"