โพลสธ.ชี้หลังผ่อนปรน'ปชช.'ป้องกันโควิดหย่อนลงทุกด้าน


เพิ่มเพื่อน    

17 พ.ค.63- นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวว่า จากการศึกษาร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยต่างๆ และสปสช. เพื่อสำรวจพฤติกรรมประชาชนหลังจากมีมาตรการผ่อนปรน โดยเทียบระหว่างช่วงวันที่ 23-30 เม.ย.กับ 14-18 พ.ค. พบว่า ตัวเลขความร่วมมือต่ำลงทั้งสิ้น โดยพฤติกรรมโดยรวมลดลงจาก 77.6% เหลือ 72.5% สวมหน้ากากอนามัย จาก 91.2% เหลือ 91% ล้างมือด้วยสบู่หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ จาก 87.2% เหลือ 83.4% กินร้อน ใช้ช้อนตัวเอง จาก 86.1% เหลือ 82.3% ระวังไม่อยู่ใกล้คนอื่นในระยะน้อยกว่า 2 เมตร จาก 65.3% เหลือ 60.7% และการไม่เอามือจับหน้า จมูก ปาก จาก 62.9% เหลือ 52.9% ขณะที่ผลการตรวจกิจการ/กิจกรรมประจำวันที่ 16 พ.ค. ตรวจไปทั้งสิ้น 20,204 กิจการ/กิจกรรม ปฏิบัติตามมาตรการ 20,153 กิจการ/กิจกรรม ปฏิบัติตามมาตรการ แต่ไม่ครบ 51 กิจการ/กิจกรรม ไม่พบการกิจการ/กิจกรรมที่ไม่ปฏิบัติตาม

เมื่อถามว่า สำหรับแพลตฟอร์มไทยชนะ รัฐบาลบังคับให้ทุกคนต้องลงทะเบียนใช่หรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการบังคับแต่อย่างใด แต่เป็นการขอความร่วมมือ เพราะดีต่อสุขภาพท่านเอง เพื่อทำให้ได้รับทราบความแออัดและหนาแน่นของผู้ใช้บริการ ดีต่อผู้ที่เปิดกิจการด้วย เพราะไม่รู้ว่าลูกค้าเป็นส่วนหนึ่งของการนำเชื้อมาด้วยหรือไม่ และยังดีต่อการตรวจสอบมาตรการ ถือว่าดีต่อทุกส่วน การลงทะเบียนไม่ได้ยุ่งยากอะไร โดยวันที่ 17 พ.ค. มีร้านค้าลงทะเบียนไปแล้ว 11,599 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ใน กทม. รองลงมาคือ ชลบุรี นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ขอนแก่น สงขลา เป็นจังหวัดใหญ่ๆ ทั้งสิ้น ข้อดีอีกอย่างของการลงทะเบียนคือ หากท่านไปติดโรคมา หรือมีข่าวว่าเกิดการติดเชื้อในสถานที่นั้นๆ แทนที่เราจะไปกวาดคนทั้งร้อยคนมาตรวจ ระบบตรงนี้จะทำให้เราสามารถจำกัดคนได้ ไม่ต้องไปหว่านแหตรวจ

" ในที่ประชุม ศบค.สัปดาห์ก่อนได้มีการพูดคุยกันเรื่องนี้ และให้ความสำคัญ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศต่างๆ ไม่ดีนัก และคนไทยมีสิทธิที่จะกลับประเทศ ดังนั้น เราต้องทำงานกันอย่างหนัก โดยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม ระบุว่าสามารถรองรับได้ ตัวจากจากที่กำหนดไว้ 200 คนต่อวัน อาจขยับมา 300 ต่อวัน และต่อไปน่าจะขยับไป 400 ต่อวัน"

ถามว่า หากการผ่อนปรนในระยะที่ 2 ดีขึ้น จะมีการพิจารณาไม่ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และมาใช้ พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ แทนได้หรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าว ผอ.ศบค.ได้มอบให้คณะกรรมการด้านกฎหมายไปศึกษา ถ้าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้มีการนำเสนอขึ้นมา การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ผ่านมาเป็นการรวบรวมกฎหมายต่างๆ ให้มาอยู่ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้เกิดมาตรการดูแลสังคมในสถานการณ์โรคที่รุนแรง แต่ตอนนี้ในประเทศเราควบคุมโรคได้ระดับหนึ่ง เพียงแต่ยังมีประเด็น เช่น ขณะนี้เราห้ามเครื่องบินเข้าถึง 30 มิ.ย. ถ้าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะใช้สามารถประมวลกฎหมายตัวใดมาแทน ดังนั้น จึงต้องใช้กฎหมายหลายด้านประกอบกันเพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้าประเทศและการควบคุมเชื้อให้อยู่ในการดูแลได้ทั้งหมด 

"ตรงนี้จึงมีความจำเป็น ถ้าจะยกเลิกแต่สถานการณ์ของโลกยังมีการติดเชื้ออยู่จำนวนมาก เราต้องดูกันอย่างลึกซึ้งและใช้เวลาพอสมควร ถ้าไทยดีขึ้น ทั่วโลกดีขึ้น ก็ไม่มีความจำเป็น แต่สถานการณ์โลกยังมีการระบาดจึงยังมีความจำเป็น ซึ่งคณะกรรมการด้านกฎหมายจะต้องไปศึกษามาว่ามีกฎหมายอะไรทดแทนได้ เพื่อสรุปความเห็นนำเสนอต่อ ผอ.ศบค.ต่อไป"


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"