กรมสุขภาพจิตพบบุคลากรทางการแพทย์-ปชช.เครียดลดลงหลังคลายล็อก


เพิ่มเพื่อน    

18 พ.ค. 63 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต  กล่าวถึงสถานการณ์สุขภาพจิตในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ว่า  ผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19 จะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ คลื่นลูกที่หนึ่ง ตั้งแต่ช่วง1-3 เดือนแรกที่มีโรคระบาด เป็นช่วงที่สร้างผลกระทบกับสุขภาพของคนและขีดความสามารถของโรงพยาบาล เพราะพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตต่อเนื่อง คลื่นลูกที่ 2 ช่วง 2-4 เดือนหลังเริ่มมีการระบาด โดยเป็นช่วงที่ผู้ป่วยเร่งด่วนที่ไม่ติดเชื้อโควิด-19 มาใช้บริการ ซึ่งอาจทำให้เกิดการล้นทะลักเพราะไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอ คลื่นลูกที่ 3 ช่วง4-9 เดือนหลังเริ่มมีโรคระบาด เป็นช่วงที่ผู้ผ่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ต้องกลับมาโรงพยาบาล​เพื่อพบแพทย์หรือรับการรักษา และคลื่นลูกที่ 4 ช่วง2 เดือน ถึง 3 ปี หลังมีโรคระบาด ผลกระทบทางเศรษฐกิจยังเป็นลูกโซ่ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต คนมีความเครียด ซึมเศร้า หรือฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ การให้บริการในภาวะวิกฤตมาอย่างยาวนานยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งอาจมีภาวะเหนื่อยล้าและหมดไฟ

"จากการประเมินระดับความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไปนั้น ในเดือน พ.ค.มีความเครียดที่ลดอย่างเห็นได้ชัด โดยการสำรวจในช่วง 30 มี.ค.-5 เม.ย.63 บุคลากรทางการแพทย์มีความเครียดมาก คิดเป็นร้อยละ 9.4   และประชาชนมีความเครียดมาก คิดเป็นร้อยละ 8.1 โดยเมื่อดูผลสำรวจในช่วง 27 เม.ย.-3 พ.ค.63 จะเห็นได้ว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเครียดมาก มีเปอร์เซ็นต์ลดลงกว่า 5.6 เปอร์เซ็นต์ และประชาชนที่มีความเครียดมาก มีเปอร์เซ็นต์ลดลงกว่า 2.9 เปอร์เซ็นต์ โดยสาเหตุที่ความเครียดลดลงเพราะรัฐบาลได้มีการประกาศผ่อนคลายมาตรการ" นพ.เกียรติภูมิ ระบุ

ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตได้มีการเก็บสถิติอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ในช่วงปี 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่มีปัญหาเศรษฐกิจเกิดขึ้นพบว่า มีอัตราการฆ่าตัวตาย  8.59 ต่อหนึ่งแสนประชากร หลังจากนั้นในช่วง 10 ปี หลังมีอัตราการฆ่าตัวตายลดลงมาโดยตลอด โดยปัจจุบันมีการฆ่าตัวตายกว่า 6.6 ต่อหนึ่งแสนประชากร โดยแนวโน้มการฆ่าตัวตายในปีนี้ถ้าไม่มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็อาจจะมีการฆ่าตัวตายกว่า 8.8 ต่อหนึ่งแสนประชากร 

อย่างไรก็ตาม กรมสุขภาพจิตจะดูแลทั้งหมด 4 กลุ่มคือ บุคลากรทางการแพทย์  ผู้กักกัน ประชาชนทั่วไป และกลุ่มเปราะบางต่อปัญหาสุขภาพจิต แม้ว่าขณะนี้ยังต้องรอวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แต่วัคซีนใจสามารถสร้างได้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นในบุคคล ครอบครัว ที่ครอบครัวต้องดูแลสมาชิกในครอบครัว มองบวกมองเห็นทางออกในทุกปัญหา เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่วิถีชีวิตใหม่.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"