ผู้ช่วยผู้จัดการตลท.ยกกรณี'เจแปนแอร์ไลน์'ใครได้-ใครเสียกรณีฟื้นฟูกิจการ


เพิ่มเพื่อน    

20 พ.ค.2563 -  นายณัฐ เหลืองนฤมิตชัย ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศโพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ผมดีใจนะครับที่การบินไทยและรัฐบาลเลือกทางเดินที่ควรเลือกครับ แต่วันนี้มันยังเป็นแค่ทางแยกแรก หนทางยังอีกยาวไกล และเราต้องการผู้นำทางที่มีความสามารถ และกล้าที่จะเปลี่ยน และแน่นอนว่าต้องมีบางคนที่จะต้องสูญเสียเพื่อไม่ให้เราหวังสูงกับมันมากเกินไป ผมขอเอา case study กรณี Japan Airlines ที่คนพูดถึงกันว่าประสบความสำเร็จมากๆ ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น แต่หลายๆ คนไม่เคยได้ยินว่าใครสูญเสียบ้าง

วันนี้เลยขอไล่รายชื่อผู้เกี่ยวข้องที่โดนผลกระทบ จากการที่ Japan Airlines เข้ากระบวนการฟื้นฟูเมื่อปี 2553 และออกจากกระบวนการฟื้นฟูในปี 2555

1. ด้วยกฎหมายล้มละลายที่เข้มงวดของญี่ปุ่นที่ยึดในความเชื่อที่ว่าถ้าบริษัทมีปัญหา ผู้ถือหุ้นจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายก่อนเจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้นของ Japan Airlines ทั้งหมด 380,000 คน โดนลดทุน 100% และบริษัทเข้าควบรวมกับบริษัทย่อยคือ Japan Airlines International และเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น Japan Airlines แปลว่าไม่มีหุ้นเหลือเลยในบริษัทใหม่ครับ

2. ธนาคารและสถาบันการเงิน ยอมลดหนี้ของตน 87.5% (521.5 พันล้านเยน) จน article บางแห่งบอกว่านี้ไม่ใช่ haircut (ตัดผม) แต่เป็นการ shave (โกนหัว) เสียมากกว่า

3. ผู้โดยสารโดนผลกระทบจากการลดจำนวนเที่ยวบินภายในประเทศจาก 148 มาเป็น 109 เที่ยวบิน และเที่ยวบินนานาชาติจาก 75 มาเป็น 65 เที่ยวบิน (จากเดือนมี.ค. 2553 - มี.ค. 2556)

4. พนักงาน ค่าตอบแทนของพนักงานขับเครื่องบิน พนักงานต้อนรับ พนักงานภาคพื้น ถูกลดลง 21%, 24% และ 25% ตามลำดับ ในระหว่างปี 2551 - ปี 2554 การประกันชั่วโมงบินถูกยกเลิกทั้งหมด กองทุนสำรองเลี้ยงชีพถูกหักผลประโยชน์ลง 50% สำหรับพนักงาน และ 30% สำหรับพนักงานที่เกษียณอายุแล้ว นอกจากนี้ยังลดพนักงานอีก 15,700 คนจาก 47,000 คน แน่นอนที่สุด สหภาพแรงงานย่อมไม่พอใจเป็นอย่างมากและประท้วงในเรื่องนี้ แต่พอ ETIC ขู่ที่จะไม่ให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือ Japan Airlines ถ้าหากสหภาพแรงงานทั้งสองของบริษัทจะออกมาประท้วง ประเด็นความขัดแย้งก็ลดลง

5. เจ้าหนี้การค้า ไม่ค่อยได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้บริษัทดำเนินการต่อไปได้

6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล คือ DBJ ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือโดยการปล่อย bridge financing ให้ 100 พันล้านเยน ส่วนที่เป็นหนี้ได้รับการคุ้มครอง แต่หุ้นบุริมสิทธิ์มูลค่า 20 พันล้านเยนได้รับผลกระทบจากการลดทุน
ผมคงทิ้งท้ายไว้ตรงนี้ว่านักลงทุนอย่าเพิ่งดีใจกับข่าวการเข้ากระบวนการฟื้นฟูของการบินไทยจนเกินไปครับ หนทางยังอีกยาวไกล และยังต้องถางกันอีกมากครับ

แต่ก็ต้องขอให้กำลังใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และหวังว่าจะร่วมกันผลักดันให้การบินไทยกลับมาเป็นสายการบินชั้นนำของโลกในเร็ววันครับ

เดี๋ยวตอนหน้ามาดูกันว่า Japan Airlines ภายใต้การลงทุนของ ETIC และวิธีการบริหารแบบ Amoeba Management ของคุณลุง Inamori ทำอย่างไรถึงประสบความสำเร็จ

ป.ล. ความคิดเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรใดๆ ครับ ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลในอดีตของ Japan Airlines ไม่สามารถเปรียบเทียบกับการบินไทยได้ เป็นเพียงข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"