พระไพศาล วิสาโล เทศน์ออนไลน์ใช้วิถีชีวิตใหม่มีสติ4ข้อ ทิศทางประเทศไทยเดินถูกทาง ดูแลวิถีชีวิตสุขภาพมิติใหม่


เพิ่มเพื่อน    

 

“ชีวิตดีเริ่มต้นที่เรา สสส.” จัดเสวนาใหญ่ “ฝ่าวิกฤติโควิด-19 สู่ชีวิตวิถีใหม่” พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ เทศน์ทางไกลออนไลน์หลักปฏิบัติในการใช้วิถีชีวิตใหม่อย่างมีสติ 4 ข้อ ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียให้ผ่านวิกฤติ รักษาใจไม่แพ้รักษากาย ผจก.สสส.ยืนยัน สสส.เดินถูกทาง สร้าง New Normal ฝังลึกในสังคมระยะยาว คำนึงความปลอดภัยชุมชนมาก่อน เดินหน้าสู่ SDGs ยั่งยืน ชวนคนไทยรักษาสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เป็นโรค NCDs สร้างปราการป้องกันโรคติดต่อ WHO ชมเมืองไทยระบบบริหารจัดการโควิด-19 ดีเยี่ยม โดยเฉพาะ อสม. รพ.สต.เข้มแข็ง ม.จอห์น ฮอปกินส์ จัดอันดับสุขภาพโลกก่อนโควิดระบาด ไทยติดอันดับ 6 ของโลก อันดับ 1 สหรัฐ อันดับ 2 สหราชอาณาจักร อันดับ 3 แคนาดา ข้อคิดสุดยอดจากวิทยากรระดับแถวหน้าเมืองไทย รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ วิวัฒน์ ศัลยกำธร อาจารย์ยักษ์ อดีต รมช.กระทรวงเกษตรฯ นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญระบาดวิทยา

             

ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ใต้ลานสาละ จัดเสวนาทิศทางประเทศไทย : ฝ่าวิกฤติโควิด-19 สู่ชีวิตวิถีใหม่ โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญครอบคลุมทุกมิติทั้งภาคเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข และสุขภาพ มาร่วมเสวนาเปิดมุมมองแนวทางการพัฒนาประเทศไทยภายหลังวิกฤติโควิด-19 ทั้งนี้ สามารถรับชมการเสวนาผ่าน Live ทาง FB : สสส. : ThaiHealth หรือชมย้อนหลังได้

 

             

พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ กล่าวเทศน์ผ่านระบบประชุมทางไกลออนไลน์ถึงแนวทางการปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงการระบาดของโควิด-19 ว่าใช้วิถีชีวิตใหม่อย่างมีสติ การรักษาใจสำคัญไม่แพ้การรักษากาย การใช้ชีวิตวิถีใหม่ช่วงยุคโควิด-19 มีหลักปฏิบัติ 4 ข้อ 1.ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ตระหนักว่าความเครียด วิตกกังวล ความกลัวทำร้ายจิตใจ 2.พยายามอย่าอยู่นิ่ง หากิจกรรมทำเพื่อคลายความเครียด 3.ทำประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วยการผลิตหน้ากากผ้า เพื่อแบ่งปันตามกำลังที่พอทำได้ 4.ปรับตัว หาช่องทางเพิ่มรายได้ การขายของผ่านออนไลน์ วัดเป็นสถานที่พึ่งพิงของประชาชนในช่วงวิกฤติ มีการช่วยเหลือด้านปัจจัย 4.อาหาร และยังเป็นที่พึ่งทางจิตใจโดยใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นพลังทางใจให้ประชาชนก้าวพ้นผ่านวิกฤติไปได้

             

โควิด-19 ทำให้การดำรงชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง การดำเนินวิถีชีวิตใหม่ต้องทำอย่างมีสติ ปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โรคระบาดไม่ได้บั่นทอนสุขภาพกายเพียงอย่างเดียว แต่บั่นทอนจิตใจผู้คนด้วย ดูแลรักษาตัวไม่ให้เชื้อโควิดเข้าร่างกายจนเกิดโรคไม่เพียงพอ ต้องหมั่นล้างมือ ใช้หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้ ส่วนสุขภาพใจ บางคนมีความทุกข์ใจ มีความเครียด วิตกกังวล เกิดความเบื่อหน่าย บั่นทอนจิตใจผู้คนเป็นอย่างมาก เราต้องรักษาใจให้ดี แม้กายไม่ป่วย แต่ถ้าใจเป็นทุกข์จะพากันป่วยได้ในที่สุด

 

            

ดังนั้นการดูแลใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด การยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เพียงโรคระบาด แต่มาตรการต่างๆ ที่ไม่ใช่เป็นเรื่องปกติ การหยุดทำงาน เก็บตัวอยู่ภายในบ้าน รวมถึงการไม่มีงานทำ รายได้หดหาย สิ่งที่เราควรทำก็คือต้องยอมรับความจริง ถ้าเราปฏิเสธความจริง ตีโพยตีพาย เกิดความโกรธ ความคับแค้นใจ ท้อถอย สิ้นเรี่ยวแรง เท่ากับเป็นการซ้ำเติมตัวเอง ความยากลำบากทางเศรษฐกิจก็มี เอาความทุกข์มาใส่ในจิตใจ ขอให้ยอมรับว่าความจริงเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเราไม่ยอมรับความจริง สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้นแต่อย่างใด ยิ่งตีโพยตีพาย ปัญหายิ่งเพิ่มขึ้น เป็นความทุกข์ใจ เราอย่ามัวแต่อาลัย ความปกติที่เปลี่ยนแปลงไป สูญหาย แท้จริงแล้วความปกติดียังอยู่กับเรา อย่ามัวแต่อาลัยสิ่งที่เราสูญเสียไปในยามวิกฤติ

             

เรายังมีสุขภาพดี ไม่เจ็บไม่ป่วย ยังมีลมหายใจอยู่ มีคนจำนวนไม่น้อยที่หายใจลำบาก โควิดเล่นงานปอด เรามีกิน กินอิ่ม นอนอิ่ม ยังอยู่กับเรา คนรักอยู่รอบตัวเรา เรายังไม่ได้พลัดที่นาคาที่อยู่ ยังมีเคหสถานพักอาศัยอยู่ได้ ถ้าเรานึกถึงภัยพิบัติ น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 สึนามิพายุใหญ่ เราอยู่ไม่ได้ เราต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ ถึงมีเคหสถานก็พักอาศัยไม่ได้ แต่ขณะนี้เรายังมีสิ่งดีๆ อยู่กับเรา ยังเป็นคนปกติ ไม่สูญเสียไปไหน ให้เราได้ชื่นชมสิ่งดีๆ สิ่งที่คงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ยังอยู่รอบตัวไม่ได้กระจัดกระจายหายไปไหน ถ้าหากเราปล่อยใจให้คิดไปทางลบหรือทางร้าย ก่อให้เกิดความคับแค้นใจ ท้อแท้ ห่อเหี่ยว สิ้นเรี่ยวสิ้นแรง เราจะหาอะไรมาสร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรมได้ เวลาอย่างนี้ควรจัดบ้าน ซ่อมประตู ซ่อมห้องน้ำ เย็บถุงผ้า ถักโครเชต์ มีที่ดินก็ปลูกพืชผักสวนครัว วาดรูป เอาเวลามาใช้กับงานสร้างสรรค์ เป็นรูปธรรม ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น จิตใจไม่ห่อเหี่ยว เมื่อเราได้ทำเรื่องดีๆ มีจิตใจจดจ่อ ทำให้ใจเราเป็นสุขได้ ฟังอะไรก็มีแต่เรื่องสร้างสรรค์ เติมพลังให้กับจิตใจ ถ้าวางจิตให้เป็นก็จะเป็นพลังจากภายใน ยิ่งทำอะไรที่สร้างสรรค์เกิดความภาคภูมิใจ จิตใจปลอดโปร่ง แจ่มใส ไม่สิ้นเรี่ยวแรงในสถานการณ์อย่างนี้

             

ก่อนหน้านี้หลายคนช่วยกันทำหน้ากากอนามัย ทำ Face Shield ส่งไปให้ตาม รพ. หลายคนทำตู้ปันสุขตั้งไว้หน้าบ้าน ริมถนน เพราะเห็นถึงความเดือดร้อนของผู้อื่นจะได้อานิสงส์จากตู้ปันสุข วิถีชุมชนป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาถึงผู้คนในชุมชน การเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อจะได้อยู่กันอย่างสะดวกสบาย ร่วมแรงร่วมใจกันทำให้ชุมชน แบ่งปันอาหารให้คนที่เดือดร้อน เป็นการเติมพลังทางจิตใจ จะได้ไม่สิ้นเรี่ยวแรง ห่อเหี่ยว ช่วยกันเติมพลังทางจิตใจ เราควรหันหน้าเข้าหาเพื่อน

             

ถึงจะเว้นระยะห่างทางสังคม เราก็ยังมีเครือข่ายมิตรสหาย ในบ้านในเมืองมีช่องทางที่จะเข้าหาเพื่อน รับฟังความทุกข์ ความเครียด เมื่อได้มีการระบายความทุกข์ก็จะสบายใจขึ้น หันหน้าปรึกษาหารือหรือปรับทุกข์กันได้ รับฟังเพื่อน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน รวมกลุ่มเพื่อนเพื่อช่วยเหลือกัน เครือข่ายมิตรสหายที่เป็นไปในปัจจุบัน มีกลุ่มไลน์ กลุ่ม facebook โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้จิตใจปลอดโปร่งแจ่มใส มีพลังและไม่อ่อนเพลีย ปรับตัวให้เข้ากับอาชีพการทำงานเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ยืดเยื้อยาวนาน เปลี่ยนตัวเราเอง เรายังมีพลังชุมชน เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยดี ตราบใดที่เราอยู่ท่ามกลางวิกฤติโควิดก็ขอให้ปลอดภัยทั้งกายและใจด้วย

 

             

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า วงจรการเกิดโรคระบาดมี 3 ระยะ คือ 1.ระยะความกลัว กังวล เพราะยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ 2.ระยะการเรียนรู้ และ 3.ระยะเกิดพัฒนาการสู่การเปลี่ยนแปลง นอกจากจะให้ความสำคัญเรื่องสุขอนามัยเพื่อป้องกันโควิด-19 แล้ว ยังนำไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อการป้องกันในอนาคตทั้งในระดับบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อม และเชิงระบบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการป้องกันโรคระบาด โดยในระดับบุคคล เน้นการรักษาความสะอาดร่างกาย การกิน การสวมหน้ากาก การเว้นระยะห่าง และยังต้องคำนึงถึงการทำให้สุขภาพกายและใจแข็งแรง ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า รวมถึงการมีกิจกรรมทางกาย การบริโภคอาหาร และพฤติกรรมเพื่อสุขภาพอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นอกจากการใช้มาตรการเชิงนโยบายและการบังคับใช้ในช่วงเกิดการระบาดแล้ว ยังต้องเสริมด้วยกระบวนการสร้างค่านิยมวัฒนธรรมที่นำไปสู่การเห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงในวิถีใหม่ของชีวิตด้วย กล่าวได้ว่ากระบวนการในการสร้างเสริมสุขภาพที่ สสส.ใช้อยู่ สามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อนได้ทันที

 

             

“การขับเคลื่อนการสร้างชีวิตวิถีใหม่จะเชื่อมโยงปัจจัยและระบบสุขภาพ สังคม การศึกษา เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ โดยรัฐและสังคมไทยต้องร่วมกันกำหนด “จุดหมาย” ของวิถีใหม่ที่เห็นพ้องกันว่าจำเป็นและเหมาะสม โดยร่วมกับโลกในการเร่งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ประชาคมโลกได้ลงปฏิญญาไว้แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และใช้กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ ในก้าวเบื้องต้นของการเดินทางไกลในขณะนี้ สสส.และภาคีเครือข่ายได้จัดทำไกด์ไลน์แนวทางปฏิบัติการสร้างชีวิตวิถีใหม่แล้ว 7 คู่มือ ครอบคลุมประเด็นการใช้ชีวิตประจำวัน การป้องกันและเฝ้าระวังโรค มาตรการสำหรับโรงเรียน สถานศึกษา รวมถึงการจัดระเบียบสังคม การสร้างความเข้าใจเพื่อลดการตีตราผู้ป่วย โดยได้กระจายให้หน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนและสถานศึกษามากกว่า 1 แสนเล่ม ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดคู่มือได้ที่ www.thaihealth.or.th” ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าว

 

ผอ.ฝ่ายการสื่อสารองค์กร สสส.สวมเสื้อข้อความ “ชีวิตดีเริ่มต้นที่เรา สสส. Healthy Life Starts with me” ทำหน้าที่พิธีกร และเวทีเสวนาที่มีฉากกั้นแบบใหม่

 

             

ผลกระทบวิกฤติโควิดการสร้างเสริมสุขภาพต้องดูวิถีและคำนิยามใหม่ๆ เพื่อจะฝ่าฟันวิกฤติโรคระบาดไม่ทำให้เจ็บป่วย เราเผชิญหน้าการติดเชื้อใหม่ๆ เมื่อต้อง Wave ตัวเองก็ย่อมมีเรื่องคู่ขนานปัญหาคนตกงาน อาหารขาดแคลน เมืองไทยยังไม่ถึงขั้นนั้น ประเทศคูเวตมีเงินเต็มกระเป๋า แต่ต้องปันส่วนอาหาร โรงพยาบาลปิดรักษาโรคอื่นปรับมารักษาโควิดแทน บทเรียนที่โลกเรียนรู้โรคระบาดใหญ่สู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากประวัติศาสตร์ โรคทางเดินอาหารที่ต้องเผชิญจากการระบาด สุขาภิบาล นักสาธารณสุขในช่วง 3-40 ปีเร่งให้มีการสร้างส้วมที่อยู่ไกลจากตัวบ้าน แต่ในวันนี้ส้วมเข้ามาอยู่ในห้องนอน โรคเอดส์เมื่อ 30 ปีก่อนส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม คลินิกกามโรคเต็มบ้านเต็มเมืองหมด แต่ในวันนี้หายไปแล้ว โรคนิวมอเนียหายไป ทุกคนหันมาช่วยป้องกันโควิด-19

             

มหาวิกฤติโรคระบาดสู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อเตรียมการรับมือด้วยกระบวนการคิด Keyword การจัดทำคู่มือเรื่องโควิด-19 หมอช่วยกันทดลองยาเพื่อดูผลข้างเคียง มาตรการต่างๆ ถูกทดสอบ งานทั้งหมดเรียนรู้ไปด้วยกัน การแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยการยึดหลักช่วยกันรับผิดชอบส่วนตัวเพื่อส่วนรวม สิ่งที่น่าเป็นห่วงเรื่องกลัวน้อยเกินไป กลัวมากเกินไป พฤติกรรมความกลัว โกรธ ก่นด่า มีการกักตุนสินค้า สังคมได้เรียนรู้และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น ปรับเปลี่ยนวิถีใหม่ๆ ราชบัณฑิตบัญญัติศัพท์ New Normal ฐานวิถีใหม่

             

สสส.อยู่กับโควิด-19 ตั้งแต่ Day 1 Week 1 ร่วมกันสื่อสาร ยกระดับ Keyword ความรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ การล็อกตัวเองอยู่บ้านเพื่อทำงาน ให้ตระหนักถึงส่วนรวมเพื่อให้ประเทศพ้นวิบัติ การสร้าง New Normal ด้วยมาตรการล็อกดาวน์อยู่บ้าน ก่อนหน้านี้โรคระบาดผ่านการเดินทางด้วยเครื่องบินไปยัง 200 ประเทศ ต่อมาน่านฟ้าถูกปิดระงับการเดินทาง เราหนีตัวต่อตัวแตน แต่สักวันหนึ่งก็ต้องโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ดังนั้นเราต้องปรับตัวเองด้วยวิถีใหม่ๆ สุขอนามัย การสร้างบรรทัดฐานใหม่ New Normal เพื่อให้เกิดผลระยะยาวฝังลึกในสังคมคำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขภาพมาก่อนความสนุกสนาน งานสังคมจัดเล็กแต่ลึกซึ้ง ลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลดบุหรี่ เหล้า การพนัน ลดการใช้เวลาที่เปล่าประโยชน์ ลดการพบแพทย์ คำนึงถึงส่วนรวม ลดความเหลื่อมล้ำเห็นคุณค่าด้านจิตวิญญาณ

             

เราทำอย่างไรไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ตัวเราทั้งระดับตัวบุคคล การเข้าไปสัมผัสโรค ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย กินร้อน มีช้อนกลางส่วนตัว ใช้มาตรฐานทางสังคม สิ่งแวดล้อม สร้างพื้นที่สะอาดไม่ให้มีการแพร่เชื้อโรคออกไป คนที่เสี่ยงโรคเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ มีโรคติดต่อเรื้อรังอยู่แล้ว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ระบบเหลื่อมล้ำในสังคมไม่มีหลักประกันขั้นพื้นฐาน สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีพื้นฐานชีวิตที่ดี แต่ก็ยังเอาไม่อยู่ ด้วยระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ต้องช่วยกันรับมือไม่เพียงแค่เฉพาะหน้าเท่านั้น

             

ในฐานะนักเสริมสร้างสุขภาวะ สสส.มีบทบาทสนับสนุนพระเอก นางเอกในการสร้างเสริมสุขภาพ คนเราต้องปรับตัว มีคู่มือ 6 เรื่อง สู้! โควิด-19 ไปด้วยกัน คู่มือดูแลตัวเองสำหรับประชาชน คู่มือจัดการ รร.รับมือโควิด-19 คู่มือมนุษย์โควิด เปิดเมืองให้ปลอด ใช้ได้ในชีวิตจริง 1, 2 แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แนวปฏิบัติสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เพื่อความปลอดภัยจากโควิด-19 คู่มือเรื่องโควิด-19 รู้ให้ชัวร์ ชุดที่ 1-3 คู่มือสู้โควิด-19 แบบไม่ตีตราและไม่เลือกปฏิบัติ

             

ปกติชายไทยเรื่องสูบบุหรี่ ดื่มเหล้าเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อ 3-40 ปีก่อน เป็นเรื่องโก้เก๋ เป็นแมน แต่ปัจจุบันความคิดนี้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว การสูบบุหรี่เป็นการทำร้ายผู้อื่น สูดควันพิษทำให้เกิดโรคถึง 30 โรค สร้างปัญหาและยังเป็นการทำร้ายผู้อื่นด้วย ให้เหล้าเป็นของขวัญ ถือเป็นอัปมงคลให้เหล้าเท่ากับแช่ง เราต้องช่วยกันปรับเปลี่ยนความคิดเพื่อสุขภาพที่ดีของส่วนรวม การสวมหมวกกันน็อกทำให้เป็นพฤตินิสัย ทั้งๆ ที่ กม.บังคับให้สวมหมวกกันน็อก แต่ทางปฏิบัติไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ขณะเดียวกันการบังคับใช้ กม.ก็ไม่เข้มพอ เมื่อหลายคนทำงานที่บ้าน Work From Home มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ก็สั่งอาหารทาง delivery เพื่อจะได้กินอาหารที่หลากหลายโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง

             

งานวิจัยในเมืองไทย ระบบสุขภาพไทยมีจุดแข็งหลายอย่างเรื่องหลักประกันสุขภาพ การที่รัฐบาลจ่ายเงิน 5,000 บาท ให้คนที่ประกอบอาชีพอิสระและไม่มีสวัสดิการ ทำให้เห็นฐานข้อมูลที่วุ่นวายอย่างโกลาหล เมืองไทยมี อสม.เป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็ก มีโครงสร้างสาธารณสุขเข้มแข็งเป็นทุนที่ดีของสังคม ควบคุมโรคไม่ให้ติดต่อได้เป็นอย่างดี การขับเคลื่อนวิถีชีวิตใหม่ต้องใช้ความหลากหลายมิติด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องเชื่อมโยงความเปลี่ยนแปลงกับมิติสุขภาพ โลกของเราต้องเร่งขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs Sustainable Development Goals รวมถึงเรื่องการไม่กดขี่แรงงานด้วย              

             

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส. ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังงานเสวนาว่า มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ได้จัดอันดับระบบบริการสุขภาพและสาธารณสุขในระดับโลก (ดัชนี Check List) เมืองไทยอยู่ในอันดับ 6 ของโลก ประเทศสหรัฐอยู่ในอันดับ 1 ของโลก สหราชอาณาจักรอยู่ในอันดับ 2 ของโลก แคนาดาอันดับ 3 ของโลก ทั้งนี้เป็นการจัดอันดับก่อนที่จะเกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาด แต่หลังจากเกิดโควิดคุกคามทั่วโลกแล้วยังไม่ได้มีงานวิจัยเพื่อจัดอันดับใหม่แต่อย่างใด เพราะโรคที่ระบาดใหม่เผชิญกับความเปลี่ยนแปลง

             

ที่ผ่านมานั้นได้รับคำชมจาก WHO ว่าประเทศไทยมีระบบบริหารจัดการโควิดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะระบบการบริการสุขภาพปฐมภูมิซึ่งเรามีฐานที่แข็งแรงจาก อสม. รพ.สต. มีโครงสร้างหลักประกันสุขภาพเป็นฐานอย่างชัดเจน ดูแลเพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม การระบาดของโรคสอนให้คนไทยมีความรับผิดชอบส่วนตัวเพื่อส่วนรวม รักษาสุขภาพให้แข็งแรง คนไทยมีจุดแข็งหลายอย่าง ซึ่งได้รับการยอมรับจากประเทศอื่นๆ ขณะนี้มี 9 จังหวัดที่การแพร่เชื้อโควิด-19 เป็น O เพราะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีทั้งจากจังหวัดและประชาชน

             

ประชาชนสหรัฐจำนวน 30 ล้านคนไม่ได้มีหลักประกันสุขภาพ โดยเฉพาะชนชั้นล่างของสังคม 65% ที่เป็นกลุ่มผิวสีเสียชีวิต (สหรัฐป่วยโควิด-19 ติดอันดับ 1 ของโลก ป่วยเข้าหลักล้านที่ 2 ตายหลักแสนแล้ว) ขณะนี้โลกทั้งโลกเร่งขับเคลื่อน SDGs Sustainable Development Goals ทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม ให้บรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 เรื่อง รวมถึงเรื่องการไม่กดขี่แรงงานด้วย ให้พ้นจากการคุกคามจากสิ่งแวดล้อม การมีภูมิคุ้มกันที่ดี บนปรัชญาพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง เป็นมิติสุขภาวะอย่างแท้จริง

             

จากวิกฤติโควิด องค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งสัญญาณถึง สสส.เน้นย้ำเป็นพิเศษเรื่องการสร้างฐานประเทศให้เข้มแข็ง WHO ตั้งผู้เชี่ยวชาญจากโรคไข้หวัดซาร์สให้ภาพรวมของโลก ต้องปรับองค์ความรู้ด้วยการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก ไม่ทำร้ายเด็ก วิธีจัดการเชื้อโรคให้ออกจากร่างกาย เพื่อเป็นฐานการมีสุขภาพที่ดีดังที่ สสส.ยึดหลักการ Health Promotion มาโดยตลอด ถือได้ว่า สสส.เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้วที่จะฝ่าวิกฤติโควิด ขณะเดียวกันเราต้องเรียนรู้ในการดูแลวิถีชีวิตสุขภาพ เพื่อให้คนไทยแข็งแรง ไม่เป็นโรค NCDs การสร้างสาธารณสุขมูลฐานที่เข้มแข็ง ด้วยการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ สร้างชีวิตวิถีใหม่ให้มากขึ้น New Normal life ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้า ทำให้รับมือกับโควิดได้อย่างเข้มแข็งด้วยองค์ความรู้สุขภาพที่ดีในครอบครัว ชุมชน และสังคมส่วนรวม.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"