'ศิลปินพื้นบ้าน' รับนิวนอร์มอล คุมเข้มความสะอาด-จำนวนผู้ชม -จัดที่นั่งมีระยะห่าง


เพิ่มเพื่อน    

   

 

 

      วันที่ 3 มิ.ย. น.ส.อัจฉราพร พงษ์ฉวี รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กล่าวว่า หลังจากที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โควิด-19 ได้มีมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 ให้เปิดโรงมหรสพทำการแสดงลิเก ลำตัด และการแสดงพื้นบ้านนั้น ในส่วนของ สวธ.จึงเป็นสื่อกลางนำ 9 เครือข่ายสมาคมศิลปินพื้นบ้านจากภูมิภาคต่างๆ อาทิ สมาคมศิลปินขับซอล้านนา สหพันธ์สมาคมโนราแห่งประเทศไทย สมาคมหมอลำอีสาน สมาคมลิเกประเทศไทย ร่วมประชุมทางไกลกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อหาแนวทางและข้อปฏิบัติป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยระหว่างนี้จะมีการพิจารณาร่างแนวทางการปฏิบัติสำหรับเปิดการแสดงพื้นบ้านตามมาตรการป้องกันโรคของ สธ. เมื่อแล้วเสร็จ สวธ.จะจัดทำเป็นคู่มือส่งให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด (สวจ.) ทั่วประเทศแจ้งให้สมาคม และคณะศิลปินพื้นบ้านถือปฏิบัติ รวมถึงให้เจ้าภาพที่จะจ้างงานให้ประสานงานหน่วยงานท้องถิ่นก่อนจ้างงานเพื่อปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด      

     นายวันชัย เอนกลาภ  นายกสมาคมลิเกประเทศไทย กล่าวว่า กลุ่มศิลปินพื้นบ้านพร้อมปฏิบัติตามมาตรการทุกด้าน เบื้องต้นได้แจ้งไปยังคณะลิเกก่อนที่มีการรับงาน เป็นลิเกวิถีใหม่ ให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดทั้งเสื้อผ้า หน้าผม จากนี้ไปต้องไม่ใช้เครื่องสำอางร่วมกันเหมือนที่เคย เบื้องต้นการซ้อมจะต้องใช้เฟซชิลด์ รวมถึงการแสดงบทเกี้ยวพาราสีด้วย  ผู้เข้าชมจะต้องสวมหน้ากากอนามัย กำหนดการแสดงไม่เกิน 21.00 น. เพื่อไม่ให้เกินเวลาเคอร์ฟิวส์ จำกัดจำนวนคนไม่เกิน 200 คน จัดที่นั่งแบบมีระยะห่าง มีระบบการลงทะเบียน การเล่นอาจต้องหยุดพักครึ่ง เพื่อทำความสะอาด ช่วงที่ผ่านมา ชาวคณะลิเกส่วนใหญ่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลแล้ว การเปิดการแสดงได้เป็นเรื่องน่ายินดี  แม้ว่าการจ้างงานจะน้อยก็ตาม  ทั้งนี้ อยากได้คู่มือปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ชม และเจ้าภาพที่จะมาจ้างงานทุกคน

     ด้านนางฉวีวรรณ พันธุ  ศิลปินแห่งชาติ  ในฐานะนายกสมาคมหมอลำอีสาน  กล่าวว่า  คณะศิลปินหมอลำเครือข่าย 20 จังหวัดได้เตรียมความพร้อมการแสดงเอาไว้ในช่วงหลังเทศกาลออกพรรษา  เมื่อทางการให้เปิดทำการแสดงได้ ทุกคนก็ดีใจ  แต่การแสดงหมอลำประเภทกลอนจะไม่มีปัญหา เพราะใช้คนน้อยไม่เกิน  20 คน  หากเป็นหมอลำเรื่องต้องใช้คนจำนวนมาก จะต้องพิจารณาดูความเหมาะสมว่า จะแสดงอย่างไร  เมื่อทำการแสดงจะต้องมีระยะห่าง สถานที่ต้องไม่แออัด นักแสดงจะไม่แตะต้องกัน ต้องทำความสะอาดอุปกรณ์การแสดงและฆ่าเชื้อโรคทุกอย่าง สำหรับการเปิดให้แสดงครั้งนี้จะเป็นมิติใหม่ของการจัดระบบระเบียบคณะหมอลำไทย หากจะทำการแสดงต้องแจ้งทางการให้ดูแลมาตรการป้องกันโรค  ในส่วนของคณะหมอลำเครือข่ายทั้ง 20 จังหวัด หากสามารถเปิดรับงานต่างๆ ได้อย่างเต็มที่จะมีการจัดกิจกรรมการแสดงหมอลำและนำเงินไปช่วยเหลือคณะหมอลำต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบในช่วงโควิด-19 อีกด้วย

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"