'ผู้รู้ศาลเจ้า' ชี้กระแส '#saveเจ้าแม่ทับทิม' ค้านจุฬาฯรื้อย้ายพื้นที่ใหม่มีวาระซ่อนเร้น


เพิ่มเพื่อน    

14 มิ.ย.63 - จากกรณีสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำหนังสือแจ้งถึงผู้ดูแลศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง ขอให้ย้ายออกจากพื้นที่จุฬาฯภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563 จนเกิดกระแสติดแฮชแท็ก #saveศาลเจ้าแม่ทับทิม นำโดยนายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นักเคลื่อนไหวทางสังคม ได้ออกมาล่ารายชื่อคัดค้านการรื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิม พร้อมโจมตีว่าเป็นการทำลายประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชน

จากนั้นสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาฯ ชี้แจงว่า ต้องการอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมและเพิ่มศรัทธาส่งเสริมคุณค่าเจ้าแม่ทับทิมด้วยการสร้างศาลแห่งใหม่ในพื้นที่อุทยาน 100 ปีอย่างสมเกียรติเพื่อความเป็นสิริมงคลคู่ชุมชน โดยคำนึงถึงความดั้งเดิมพร้อมสถาปัตยกรรมร่วมสมัยและหลักฮวงจุ้ยจากผู้เชี่ยวชาญ

ล่าสุดได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Charlie Lew" ผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องศาลเจ้าและศิลปวัฒนธรรมจีน โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นถึงกรณีดังกล่าวว่า ตอนนี้กระแสเรื่องเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลืองมาแรงมากในโลกโซเชียล เลยอยากจะแสดงความเห็นส่วนตัวต่อเรื่องนี้บ้าง ขอบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัวจริงๆ ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายไหน และเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับบรรยากาศงานงิ้วประชันที่นี่มานานแล้ว รักและเคารพศาลเจ้าแห่งนี้มาก หลายคนคงจะทราบดี

เรื่องการย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งนี้พูดกันมาไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้ว และทางเจ้าของพื้นที่คือจุฬาก็ยื่นคำขาดว่าต้องย้ายแน่ แต่จุฬาก็ให้พื้นที่ใหม่ในบริเวณอุทยาน 100 ปี ให้เป็นที่สร้างศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งใหม่นี้ ถ้าทำใจเป็นกลางและลองคิดถึงเหตุและผล และลองมองโลกในแง่ดีแบบสุด ๆ เราอาจจะพบว่า

1.พื้นที่ซึ่งเป็นศาลเจ้าที่เคยมีชุมชนล้อมรอบ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงศาลเจ้าตั้งอยู่โดดเดี่ยวท่ามกลางลานจอดรถโล่งๆ เค้ามีแผนจะสร้างเป็นหอพัก (อันนี้ไม่แน่ใจไม่กล้ายืนยัน) ถ้าหากไม่ย้ายศาล ก็จะมีอาคารที่เป็นหอพักหรือคอนโดขึ้นล้อมรอบศาลเจ้า ในความเห็นส่วนตัวดูไม่เหมาะสมเท่าไหร่ ถึงทำจริงก็จะไม่มีพื้นที่ในการจัดงานประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบทอดกันมา จุฬาคงไม่ปล่อยพื้นที่ว่างๆให้เป็นที่จอดรถต่อไปเรื่อยๆเป็นแน่ ฉะนั้นเราตัดประเด็นว่า "ไม่ย้ายได้ไหม" ออกไปจากการพิจารณาก่อน

2.ผมเดินไปดูสถานที่ใหม่ที่จะก่อสร้างแล้ว ผมว่าเนื้อที่ก็ไม่ได้เล็กนะ ถือว่ากว้างขวางพอสมควร ปัจจุบันอาจจะมีแนวต้นไม้เพาะชำซึ่งสามารถขยับขยายได้ แถมพื้นที่ใหม่อยู่ติดถนนบรรทัดทอง สามารถทำประตูทางเข้าจากถนนใหญ่ได้ ถือว่าทำเลดีอยู่ ที่สำคัญอยู่ใกล้ชุมชนที่อยู่บนถนนบรรทัดทอง คนแถวนั้นสามารถเข้ามาไหว้ได้สะดวกกว่าที่ตั้งปัจจุบันแน่ๆ ศาลเจ้าย่อมคู่กับชุมชนเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

3.ผมไม่เห็นด้วยกับการย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลืองไปอยู่ที่อื่น ถ้าย้ายไปความรู้สึกก็คงไม่ใช่ศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลืองอีกต่อไป แต่การขยับขยายจากที่ตั้งเดิมไปอยู่บริเวณใกล้ๆกันก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว ศาลเจ้าเคยตั้งอยู่ริมน้ำ พอตลิ่งทรุดก็ขยับไปสร้างศาลใหม่บริเวณใกล้เคียงห่างไปเล็กน้อย สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องปกติ

4.เท่าที่ฟังดู จุฬาก็มีแผนการสร้างศาลขึ้นใหม่โดยผสมผสานความเป็นจีนเข้ากับบริบทของสังคมยุคปัจจุบัน มีอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการออกแบบและการก่อสร้าง เราอย่าเพิ่งดูแคลน อาจารย์ท่านก็ออกมาอธิบายถึงรูปแบบของศาลใหม่ ผมได้อ่านแล้วก็คิดว่ารับได้นะ ถ้าใครมีความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมจีนจะช่วยออกความเห็น ตอนนี้เป็นโอกาสที่ดี ผมเชื่อว่าเค้ายังรับฟังและนำไปปรับได้ตามความเหมาะสม

5.บริเวณที่ตั้งศาลอยู่ติดกับส่วนที่เป็นเวทีการแสดงกลางแจ้ง อีกหน่อยอาจจะให้งิ้วขึ้นไปแสดงตรงเวทีใหญ่ คนดูนั่งชมได้หลายร้อยคน หรือด้านหน้าศาลก็ยังเป็นลานโล่ง สามารถตั้งเวทีงิ้วได้ และบริเวณนี้ก็ห่างจากโซนที่อยู่อาศัยระดับหนึ่ง เสียงคงไม่รบกวนชุมชนมากนัก แถมยังมีที่จอดรถชั้นใต้ดินไว้รองรับอีกด้วย

6.การที่ตอนนี้เป็นข่าวขึ้นมาย่อมเป็นที่จับตาของสังคม ทำให้ทางจุฬาเองคงจะระมัดระวังมากขึ้นในเรื่องของการอนุรักษ์ทั้งสถาปัตยกรรมและประเพณี เราไม่น่าจะคุยกันว่าย้ายหรือไม่ย้าย แต่น่าจะคุยกันว่าเมื่อย้ายไปที่ศาลใหม่แล้ว จะสามารถดำรงวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นร้อยปีได้อย่างไร อะไรคือสิ่งที่สังคมและชุมชนต้องการ แล้วดูว่าจุฬาจะสามารถตอบสนองได้มากน้อยเพียงใด

ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Charlie Lew" ยังได้โพสต์ภาพงานประชันงิ้ว ศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง พร้อมระบุว่า งานงิ้วครั้งสุดท้ายเมื่อ 7 ปีที่แล้ว แสดงถึงความยิ่งใหญ่ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวชุมชน มีงิ้ว 2 คณะและหนังกลางแปลงทั้งหมด 9 คืน ภาพชุดนี้ยังเห็นบ้านเรือนชุมชนโดยรอบที่ทยอยย้ายออกไปกันแล้ว

สิ่งที่ควรรักษาคือ "จิตวิญญาณ" ไม่ใช่เพียงอิฐหินปูนทราย หากเหลือแต่ศาลเจ้าแต่ไม่มีคนกราบไหว้ ไม่มีคนช่วยกันทะนุบำรุงดูแล ก็คงเป็นเพียงแค่โบราณสถาน (ซึ่งอาคารหลังปัจจุบันมีอายุเพียง 50 ปี จะนับเป็นโบราณสถานได้ไหม) จิตวิญญาณที่อยู่ตรงนี้ที่ยืนยาวมากกว่าร้อยปีต่างหากที่ควรเก็บรักษา ศาลเจ้าจะอยู่ตรงไหนก็ได้ ถ้ายังสามารถปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อได้เหมือนเดิม ฝากไว้ให้คิด

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องศาลเจ้า ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ศาลเจ้าแม่ทับทิมแห่งนี้ดั้งเดิมเป็นของส่วนตัว ไม่ใช่ศาลสาธารณะ ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกรมการปกครองเพราะเจ้าของศาลไม่ได้ทำเรื่องยกให้เป็นสมบัติแผ่นดิน ชุมชนที่เคยอยู่บริเวณเชียงกงสามย่าน เขตปทุมวัน ย้ายออกไปหมดแล้วไปตั้งหลักแหล่งที่อื่น ทราบว่าย้ายไปที่เชียงกงบางพลี เขาก็สร้างศาลเจ้าแห่งใหม่ขึ้น คงทำได้เพียงอัญเชิญผงธูปจากศาลเดิมไปเท่านั้น เพราะเจ้าของศาลไม่ให้ย้ายเจ้าแม่ทับทิมไปด้วย

"ผมคิดว่า การสร้างศาลแห่งใหม่บริเวณอุทยาน 100 ปี ซึ่งอยู่ใกล้ที่เดิมน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามกระแสโซเชียลติดแฮชแท็ก #saveศาลเจ้าแม่ทับทิม น่าจะเป็นการโหนกระแสอนุรักษ์เพื่อหวังผลบางอย่าง เพราะถ้าจะคัดค้านการรื้อย้ายศาลจริงๆก็ควรจะทำกันเมื่อหลายปีที่แล้ว การต่อต้านเช่นนี้ไม่มีประโยชน์เพราะจุฬาฯจะเริ่มรื้อถอนวันที่ 15 มิ.ย.นี้ เรื่องนี้มีวาระซ่อนเร้นบางประเด็นแต่ตนไม่ขอพูดรายละเอียด เวลานี้เราต้องมองไปข้างหน้าถึงการรักษาและดำรงวิถีทางจิตวิญญาณ พิธีกรรม ความเชื่อและความศรัทธาให้คงอยู่ในพื้นที่ได้อย่างไร จุฬาฯจะตอบรับมากน้อยแค่ไหน ส่วนอิฐหินปูนทรายวันหนึ่งก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"