ศึกระหว่าง 'พระเพทราชา-คอนสแตนติน ฟอลคอน'


เพิ่มเพื่อน    


    ราชวงศ์ปราสาททองมีทั้งสิ้น 4 รัชกาล สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดคือ 32 ปี ฉะนั้นจึงมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่ชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาในอยุธยามากที่สุด

    สาเหตุของการต้อนรับชาวต่างชาติ ในมุมมองของสมเด็จพระนารายณ์ หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 และกอบกู้โดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น อยุธยามีราษฎรเพียงหยิบมือ แม้เวลาจะล่วงเลยไปถึงกว่า 70 ปี จนถึงช่วงที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงขึ้นครองราชย์ ราษฎรก็มิได้เพิ่มขึ้นมากแต่อย่างใด 

    การเปิดรับชาวต่างชาติเพราะ ณ ช่วงเวลานั้น เอเชียอุษาคเนย์กำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากชาวยุโรปอย่างโปรตุเกสและฮอลันดา แม้ว่าทางอยุธยาเองจะทำการค้าขายกับฮอลันดา แต่ก็ไม่วายโดนฮอลันดาเอารัดเอาเปรียบ จนเกิดการทะเลาะวิวาทกันจนได้

    สมเด็จพระนารายณ์ทรงหวั่นเกรงว่าฮอลันดาจะกระทำกับอยุธยาเหมือนกับที่ทำกับพวกชวา พระองค์จึงต้องทรงหาทางดึงชาวยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศสเข้ามาเป็นพวก ดังนั้นนโยบายการหาพันธมิตรจากแดนไกลจึงเริ่มขึ้นด้วยเหตุนี้นี่เอง

    สมเด็จพระนารายณ์มีพระราชประสงค์วิทยาการใหม่ๆ ในการค้าขาย เพื่อให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค แต่นั่นทำให้ตลอดช่วงการครองราชย์ของพระองค์ได้พานพบกับเกมแห่งอำนาจ บ้างก็เป็นเกมที่พระองค์ทรงเล่น และบ้างก็เป็นเกมที่พระองค์ทรงโดนท้าทาย 

    แต่ไม่มีครั้งไหนเลยที่จะคุกคามต่อราชบัลลังก์ของพระองค์ได้มากเท่ากรณี เจ้าพระยาวิชเยนทร์  (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขัดแย้งกับพระเพทราชา

    ในละครบุพเพสันนิวาส ฉากที่พระเพทราชาทูลถามสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเรื่องคอนสแตนติน  ฟอลคอน ในทุกตอนฟังแล้วขนลุกทุกครั้ง เพราะความเก่งกาจของนักแสดง บวกกับบันทึกประวัติศาสตร์ที่คอนสแตนติน ฟอลคอนถูกฆ่าอย่างทารุณ ทำให้บทสนทนามีความสมจริงและน่าติดตาม    

    อย่างที่ทราบกัน คอนสแตนติน ฟอลคอน นักผจญโชคผู้มากความสามารถ มีสติปัญญาเฉียบแหลม รู้จักเข้าหาคน และเป็นขุนนางต่างชาติเพียงคนเดียวที่ไม่มีขุนนางอยุธยาคนไหนกล้ามีปัญหา ด้วย ด้วยความที่เป็นคนสนิทของพระนารายณ์มหาราช จึงทำให้ขุนนางอยุธยาอีกกลุ่มที่ไม่ชอบหน้าในตัวเจ้าพระยาวิชเยนทร์รอคอยจังหวะที่จะทำลายให้ย่อยยับ

    ส่วนพระเพทราชาเป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี ปัจจุบันคือบ้านพลูหลวงตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของพระนมเปรม และมีพระขนิษฐาคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม) พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 

    ต่อมาได้รับราชการจนมีบรรดาศักดิ์เป็นพระเพทราชา ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมพระคชบาล มีกำลังพลในสังกัดหลายพัน

    พระเพทราชาคอยจับตาเจ้าพระยาวิชเยนทร์เมื่อครั้งนำทหารฝรั่งเศสพร้อมอาวุธทันสมัยเข้ามาประจำการที่ป้อมบางกอก ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายเพราะอาวุธเหล่านั้นมีอานุภาพเหนือกว่าทางอยุธยามาก แม้มีทหารเพียงกองร้อยก็สามารถเอาชนะทหารไทยในระดับกองทัพได้ 


    พระเพทราชาเคยติงเรื่องนี้ในที่ประชุมขุนนางต่อหน้าพระพักตร์ เรื่องการคบหากับต่างชาติที่ต้องระมัดระวัง สมเด็จพระนารายณ์ในเวลานั้นโปรดพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และโปรดเจ้าพระยาวิชเยนทร์เป็นพิเศษ แม้จะทรงพระพิโรธการติงของพระเพทราชา แต่ก็ทรงระงับไว้ได้ ถ้าเป็นขุนนางผู้อื่นอาจถูกโบยได้ 

    แต่นี่เป็นพระเพทราชาที่มีฐานะเป็นทั้งพระญาติสนิท เพราะแม่จริงของพระเพทราชาคือแม่นมของสมเด็จพระนารายณ์ นั่นคือเจ้าแม่วัดดุสิต นอกจากนั้นยังเป็นศิษย์พระอาจารย์องค์เดียวกัน (พระอาจารย์พรหม) ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ พระเพทราชาเป็นคนลุ่มลึก เยือกเย็น องอาจกล้าหาญ และเฉลียวฉลาด ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงรู้จักดีมานานแล้ว

    พระเพทราชาเวลานั้นดำรงตำแหน่งรักษาการสมุหพระกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่งมาตั้งแต่ปี 2219 เป็นตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบดูแลความมั่นคงของบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องจับตาดูการเคลื่อนไหวของเจ้าพระยาวิชเยนทร์อย่างเป็นพิเศษ 

    ความจริงก็คือเจ้าพระยาวิชเยนทร์จะใช้กองกำลังทหารฝรั่งเศสที่ป้อมบางกอกทำการรัฐประหารยึดอำนาจ กองทหารนั้นควบคุมโดยนายพลเดส์ฟาร์จ ทั้งนี้จะใช้กองกำลังเพียง 60-80 คนก็สามารถดำเนินการได้เพราะมีอาวุธที่ดีกว่ามาก

    แต่พระเพทราชาฉลาดพอที่จะอาศัยพระสงฆ์ตามวัดต่างๆ ในเขตเมืองลพบุรีและปริมณฑล ทั้งนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากพระสังฆราชเมืองลพบุรี ณ วัดราชา ทั้งในเรื่องการสอดแนมการเคลื่อนไหวต่างๆ การก่อม็อบและอาจใช้เป็นกำลังรบถ้าจำเป็น 

    การอาศัยกำลังจากพระสงฆ์ในกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้น เป็นวิธีที่แนบเนียนซึ่งเจ้าพระยาวิชเยนทร์ไม่เข้าใจ เขารู้แต่เพียงว่าพระเพทราชาไม่มีกำลังรบที่ดีๆ อยู่ในมือเลย กว่าจะระดมคนได้ต้องใช้เวลาเป็นเดือน ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์โปรดที่จะประทับอยู่ที่ละโว้มากกว่าอยุธยา เพื่อหลีกหนีการเมืองในวังหลวง ดังนั้นละโว้จึงเป็นสถานที่ที่พระองค์จะได้ทรงผ่อนคลายพระราชอิริยาบถจากความวุ่นวาย  ในปลายรัชกาลพระองค์ทรงพระประชวรอย่างหนักกระทั่งไม่สามารถว่าราชการได้

    พระเพทราชจึงถือโอกาสนี้บุกเข้าวังหลวงอย่างง่ายดาย และคุมตัวสมเด็จพระนารายณ์เอาไว้ พระเพทราชาได้ว่าราชการแผ่นดินแทนสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทันที จากนั้นออกคำสั่งลวงให้เจ้าพระยาวิชเยนทร์มาเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระนารายณ์

    ทางด้านเจ้าพระยาวิชเยนทร์เมื่อทราบข่าวว่าสมเด็จพระนารายณ์ประชวรหนัก จึงถือโอกาสลงมือเดินหมากเช่นกัน แต่ทว่าหมากตัวเด่นที่เจ้าพระยาวิชเยนทร์จะใช้นั้นไม่สามารถเดินได้อย่างที่หวัง 

    เจ้าพระยาวิชเยนทร์เขียนจดหมายขอร้องให้ทหารฝรั่งเศสที่ป้อมบางกอกยกกำลังมาที่ละโว้ แต่ทว่าไม่มีกำลังทหารใดยกเข้ามาช่วย เจ้าพระยาวิชเยนทร์จึงจำใจเข้าวังหลวงเพื่อเข้าไปหาสมเด็จพระนารายณ์กับคนสนิทเพียงไม่กี่คน 

    เมื่อผ่านประตูวังเข้าไปในตำแหน่งที่คนของหลวงสรศักดิ์แอบอยู่ ก็ถูกตีด้วยไม้พลองจนตกลงมา และถูกตีซ้ำอย่างทารุณ ก่อนจะถูกพันธนาการแน่นหนาและนำขึ้นเกวียนไปสังหาร ณ วัดซาก นอกเมืองลพบุรี ตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน 2231 

    วัดซากเป็นวัดที่ชาวบ้านสร้างขึ้นทับซ้อนบนเนินที่มีโบราณสถานวางทับซ้อนกันอยู่ เป็นพื้นที่ที่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เหล่านักโทษทางการเมืองที่ผู้มีอำนาจต้องการกำจัดจะถูกนำมาประหาร และทิ้งซากศพไว้โดยไม่ได้มีการประกอบพิธีใดๆ

    ซึ่งเจ้าพระยาวิชเยนทร์ และพระปีย์พระราชโอรสบุญธรรมที่คอยถวายการปรนนิบัติสมเด็จพระนารายณ์ก็ถูกนำมาประหารที่นี่เช่นกัน

    โครงกระดูกนี้เพิ่งถูกขุดค้นพบในพื้นที่ที่อยู่ตรงข้ามวัดสันเปาโลในสมัยก่อนน่าจะเป็นพื้นที่เดียวกัน  มีข้อสันนิษฐานจากนักโบราณคดี กรมศิลปากร ว่าอาจจะเป็นโครงกระดูกของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งคนที่ยังมีความเคารพนับถือในตัวท่านแอบนำกลับมาฝังเพื่อให้ดวงวิญญาณได้มีโอกาสอยู่ใกล้กับพระผู้เป็นเจ้า

    ส่วนโครงที่ฝังอยู่ไม่ไกลกัน ค่อนข้างสมบูรณ์แต่ไม่มีศีรษะ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระปีย์ เพราะกำหนดความสูงได้ประมาณ 140 เซนติเมตร กระดูกแตก ลักษณะตัวคดงอ ซึ่งไม่ใช่การฝังศพตามปกติ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"