วิษณุบอกหากมั่นใจพ.ร.บ.โรคติดต่อเอาอยู่ก็เลิกใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้


เพิ่มเพื่อน    

17 มิ.ย.2563 - นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาศึกษาเพื่อรองรับกรณีหากมีการยกเลิกประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 ให้สัมภาษณ์กรณีหากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว จะสามารถใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อแทนได้หรือไม่ ว่าต้องไปประเมินกันเอง เพราะได้แนะนำไปหลายแนวทาง โดยจะต้องไปพูดคุยกับฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคง ที่ผ่านมาฝ่ายสาธารณสุขก็ปรารภเรื่องความยุ่งยากหลายอย่างหากไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และได้ยกตัวอย่างกรณีแรงๆ หลายกรณีเหมือนกัน ตนก็บอกว่า ไม่ทราบเ พราะไม่เคยเจอ จึงแนะนำให้ลองไปคิดเองว่า กระทรวงสาธารณสุขสามารถมีความพร้อมขนาดไหนในการเผชิญปัญหา 

นายวิษณุ​ กล่าวว่า​ ยกตัวอย่างสมมติว่า หากให้เครื่องบินและนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ ไม่ว่าจะมาแบบ Travel Bubble หรือจะเป็นคนไทยก็ตาม หากเราเกิดความสงสัยว่ามีอาการติดเชื้อ คำถามคือ 1.อำนาจที่จะสั่งให้เข้าสู่สถานกักตัวของรัฐนั้นมีหรือไม่ 2.ให้ไปกักตัวที่ไหน 3.ใครเป็นคนสั่ง และเรื่องที่สำคัญคือ 4.ค่าใช้จ่ายที่ใช้ ตรงนี้ก็ต้องหาคำตอบ หากแก้ปัญหาได้ก็วางใจได้ แต่หากยังติดปัญหาอยู่ก็คิดกันอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีกฎหมายฉบับใดที่จะใช้รองรับหากไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นายวิษณุ กล่าวว่า ตอนนี้มีเพียง พ.ร.บ.โรคติดต่อ เท่านั้น ซึ่งมีอำนาจน้อย เพราะ พ.ร.บ.โรคติดต่อ เป็นกฎมายที่ออกแบบมาเพื่อรับมือการระบาดแบบ Epidemic (ระดับโรคระบาดทั่วไป) ไม่ใช่สำหรับ Pandemic (การระบาดใหญ่) แต่ก็สามารถใช้ได้ ทุกวันนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ลดลงแล้ว แต่เป็นเรื่องที่เราเกรงหรือกลัวเรื่องในอนาคตเท่านั้นเอง ถ้าเป็นที่วางใจอย่างวันนี้ที่ไม่มีผู้ติดเชื้อติดต่อกัน 22 วันแล้ว ก็ถือว่าน่าอุ่นใจ กว่าจะถึงปลายเดือนนี้ก็ไม่มีติดต่อกัน 30-40 วันแล้ว 

รองนายกฯ กล่าวว่า ได้พูดย้ำหลายครั้งแล้วว่า ที่กลัวกันคือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ให้อำนาจออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งประกาศนั้นทำให้เกิดอำนาจตามมาตรา 9 ที่สามารถออกข้อกำหนดได้ 6 เรื่อง ซึ่งถ้าเราไม่ใช้ 6 เรื่องนี้ ข้อกำหนดนั้นก็จะไม่เกี่ยวอะไรกับประชาชน แต่จะเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้เกิดเหตุ 2 ประการ คือ 1.ส่วนที่บังคับใช้กระทบกับประชาชน คือ มาตรา 9 และ 2.ส่วนที่บังคับใช้แล้วไม่กระทบกับประชาชน คือ มาตรา 7 ที่ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นอกเหนือไปจากเจ้าหน้าที่ควบคุมโรค ซึ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคเป็นบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข หากเราสามารถทำงานแบบบูรณการ นำตำรวจ ทหาร พลเรือน และ อสม. มาร่วมทำงานด้วย คนเหล่านั้นทำงานด้วยความเชื่อมั่น ไม่เกรงกลัวอะไร ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถออกำสั่งโดยไม่ต้องวิตกมากนักว่าพอสั่งไปแล้วมีคนไปร้องศาลปกครอง จนต้องหยุดคำสั่งไป หากเป็นอย่างนี้ก็จะเดินหน้าใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อได้ 

"ถ้าเรายังเผชิญกับสิ่งเหล่านี้อยู่คือ ให้ฝ่ายปกครองไปถามผู้ว่าฯ ว่าหากใช้ พ.ร.บ.โรคติดต่อแล้ว ท่านจะต้องเป็นผู้บริหาร ผู้ว่าฯ 77 จังหวัดจะต้องเป็นคนสั่งเอง นายกรัฐมนตรีสั่งอะไรเองไม่ได้ เพราะ พ.ร.บ.โรคติดต่อ นายกฯ ครม. และรัฐมนตรีสาธารณสุขไม่มีอำนาจ เพราะอำนาจทั้งหมดเป็นของผู้ว่าฯ ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเท่านั้น และคณะกรรมการฯ ประกอบด้วยกรรมการที่มาจากหลายฝ่าย รวมถึงเอกชน และท้องถิ่น รัฐจะไปสั่งการเขาไม่ได้ ถ้าหากเขาเดินในแนวทางเดียวกันได้ เราก็มั่นใจ และสามารถปล่อยให้ทำงานได้ แต่ถ้าเขาไม่มั่นใจ เช่น อยากไปสั่งปิดโน้นปิดนี้ แต่กลัวว่าจะต้องถูกฟ้องร้อง ถ้าคิดอย่างนั้นจึงไม่สั่งดีกว่า หรือในจังหวัดมันมีการลูบหน้าปะจมูก มองเห็นและเกรงอกเกรงใจกัน ไม่กล้าปิดบางร้านค้า เช่น คาเฟ่ หรือผับ ถ้ายังไม่กล้าเราก็คิดว่า ต้องมีมาตรฐานกลางที่ทำให้เขากล้า ทั้งหมดไม่ได้มีการบอกว่าซ้ายหรอขวา เราจึงให้เลขาสภาความั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธานในเรื่องนี้"นายวิษณุ​ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า​ ในตอนท้าย​นายวิษณุ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “ผมเล่าให้ฟังว่า ผมยังไม่ได้คุยอะไรกับเขา ตอนนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจ เดี๋ยวก็จะไปพาดหัวกัน หาว่าผมชี้อีก”
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"