'ผบ.สส.' ขอบคุณตำรวจทำงานหนักตลอด 80 วันเคอร์ฟิว ไม่มีข้อร้องเรียน จนท.ทำเกินกว่าเหตุ


เพิ่มเพื่อน    

18 มิ.ย.63 - ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด(ผบ.สส.) ในฐานะหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (หน.ศปม.) เดินทางมาตรวจเยี่ยมและมอบขวัญกำลังใจ รวมถึงติดตามความคืบหน้าการทำงาน ที่ศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปม.ตร.) โดยมี พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) ให้การต้อนรับ ใช้เวลาตรวจเยี่ยมประมาณ 1 ชั่วโมงจึงเสร็จสิ้น

พล.อ.พรพิพัฒน์ กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมศูนย์ ศปม.ตร. ว่า วันนี้ได้มาตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจศูนย์ปฏิบัติการด้านความมั่นคง ในส่วนของตำรวจ ที่ได้มีการปฏิบัติงานร่วมกันในสถานการณ์ระงับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม ถึงปัจจุบัน การมาในครั้งนี้ได้นำคำขอบคุณของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มามอบให้ตำรวจ ผบ.ตร. และกำลังพล ที่ได้ร่วมกันรักษาความสงบของประชาชน และระงับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รายงานผลการปฏิบัติตั้งแต่วันประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึงปัจจุบัน ประมาณ 80 วัน ที่ได้ตอบสนองความต้องการและงานที่ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับสาธารณสุข โดยการตั้งด่านตรวจโควิด-19 ด่านเคอร์ฟิว กำลังพลที่ใช้จากทั่วประเทศ 4 หมื่นกว่านาย จัดตั้งจุดตรวจ 1,600 จุด และปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ถือว่าตำรวจเป็นส่วนสำคัญในการระงับการแพร่ระบาดของไวรัส

พล.อ.พรพิพัฒน์ กล่าวอีกว่า เมื่อเลิกสถานการณ์เคอร์ฟิว ทางตำรวจก็ปรับรูปแบบการปฏิบัติงานเพื่อที่จะจัดตั้งจุดตรวจในจุดที่จำเป็น กับเพิ่มขีดความสามารถในการออกตรวจตรา ค้นหาเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นผู้ก่ออาชญากรรม การชุมนุม หรือกิจกรรมต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชือ้ไวรัส เป็นการปรับบทบาทเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 ที่เปลี่ยนไป

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากมีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในส่วนของ ศปม. จะมีการถ่ายโอนอำนาจไปอย่างไร พล.อ.พรพิพัฒน์ กล่าวว่า ตำรวจเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายตามปกติ หากมีการเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทุกคนก็กลับไปใช้กฎหมายที่มีอยู่เดิม ต่อข้อถามว่าสิ่งที่ทุกคนมีความกังวลการออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง จะดูแลภาพรวมอย่างไร หากไม่มี พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว พล.อ.พรพิพัฒน์ กล่าวว่า ก็ขึ้นอยู่กับ พ.ร.บ.การชุมนุมฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากมีการเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตาม ที่ไม่ทำผิดกฎหมายที่กำหนด ก็สามารถกระทำได้

ถามต่อว่าในทัศนะของฝ่ายความมั่นคงประเมินว่าสถานการณ์ตอนนี้ควรจะต่อหรือยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พล.อ.พรพิพัฒน์ กล่าวว่า ตนขอตอบในกรอบของสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะนี้สามารถควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดได้ สิ่งสำคัญที่สุดที่นายกรัฐมนตรีพยายามเน้นย้ำคือประเทศต้องเดินต่อไปได้ ผู้คนต้องทำมาหากินได้ เศรษฐกิจต้องเจริญเติบโตเป็นปกติ เราก็ประเมินว่าอะไรก็ตามที่สามารถลดหย่อนการเข้มงวดเพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้ รัฐบาลพยายามจะเน้นแบบนั้น

ในส่วนของฝ่ายความมั่นคง ทั้งทหารตำรวจ พยายามที่จะยืดหยุ่นขั้นตอนต่างๆ เพื่อไม่ให้ไปกระทบการทำมาหากิน ยกตัวอย่างตลอด 80 วัน จะไม่พบว่าตำรวจปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เดือดร้อน รำคาญ ทุกนายปฏิบัติหน้าที่อย่างสุขุม สุภาพ นุ่มนวล ไม่มีการร้องเรียนว่ากระทำเกินหน้าที่ รุนแรงเกินกว่าเหตุ นายกก็ได้ให้คำชมเชย ผ่านตนเองมามอบให้ ผบ.ตร. ไปบอกต่อกำลังพลทุกนาย ในเรื่องของตำรวจทหารยืนยันว่าเรามีหน้าที่บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้มาที่สุด เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจด้วย เรารู้ว่ามีประชาชนส่วนหนึ่งที่หาเช้ากินค่ำ ประสบความลำบากจากมาตรการที่รัฐได้กำหนดขึ้น ทหารตำรวจก็พยายามจัดโครงการปันสุข จัดโครงการอาหารฟรีจากตำรวจ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อน 

"ประเทศไทยได้แสดงตัวอย่างให้ชาวโลกได้เห็นว่าความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการร่วมแก้ไขสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ได้อย่างดี มาตรการที่กำหนดขึ้น ประชาชนทุกคนเชื่อถือและปฏิบัติตาม เป็นความสอดคล้องและกลมเกลียว จากความกลมเกลียวหากเรานำไปทำให้เกิดพลังขับเคลื่อนทางด้านเศรษฐกิจอยากให้ทุกคนมองเห็นอนาคต ได้ร่วมใจอย่างที่เป็นอยู่ เพราะประเทศไม่สามารถเติบโตได้ด้วยความเกลียดชัง แต่เติบโตด้วยความกลมเกลียว"พล.อ.พรพิพัฒน์ กล่าว

ผบ.ทสส. ยังกล่าวถึงการเปิดประเทศอย่างเสรี โดยระบุว่า ต้องมีการพิจารณาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเริ่มจาก travel bubble หรือการให้สิทธิพิเศษของการเดินทางเข้าออกประเทศระหว่างกันได้โดยไม่ต้องมีการกักตัว 14 วัน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเข้มข้น แต่ขณะนี้ ยังติดขัดในข้อปฏิบัติ ทั้งประเทศต้นทาง ปลายทาง และข้อกฎหมาย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างศึกษาผลกระทบให้รอบคอบ แต่เบื้องต้น หากไม่ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การพิจารณาคนเข้าประเทศ เชื่อว่า กฎหมายปกติ สามารถดูแลควบคุมการเดินทางเข้าออกได้ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรี มีความกังวัลเกี่ยวกับกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวในต่างประเทศ ซึ่งทางผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามพร้อมเดินออกจากวงสัมภาษณ์ทันที


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"