'เจิมศักดิ์' ชี้การเมืองภายในพรรคพลังประชารัฐเข้าข่าย 'โลกติเตียน' หลายเรื่อง


เพิ่มเพื่อน    

29 มิ.ย.63 - นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง นักวิชาการและอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "โลกติเตียน" ปฏิบัติการเมืองส่งเทียบเชิญพลเอกประวิทย์เป็นหัวหน้าพรรค ที่มูลนิธิป่ารอยต่อในค่ายทหาร หากจะ “น้อมนำคำสอนพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ”โลกติเตียน ก็เป็นสิ่งที่ต้องละเว้น ไม่ปฏิบัติ การเมืองไทยในขณะนี้เข้าข่าย “โลกติเตียน” อยู่หลายเรื่อง

1.การที่แกนนำพรรคพลังประชารัฐจำนวนมากกว่า 10 คน ไปเทียบเชิญพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นประธานยุทธศาสตร์ของพรรค เพื่อเสนอให้ไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยไปพบกันพร้อมหน้าที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ตั้งอยู่ในกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์

ก่อให้เกิดประเด็นที่โลกติเตียนว่า เหตุใดจึงใช้มูลนิธิฯ ที่ตั้งอยู่ในค่ายทหารเป็นที่นัดพบ ทั้งๆ ที่มูลนิธิฯมีข้อบังคับห้ามเกี่ยวข้องกับการเมือง การใช้ค่ายทหารซึ่งเป็นสถานที่ราชการเป็นที่ตั้งของมูลนิธิฯ และเป็นที่นัดพบเพื่อทำกิจกรรมทางการเมือง จะเป็นความงดงามเหมาะสม หรือชวนให้ “โลกติเตียน”
หากจะอ้างว่า พลเอกประวิตรเป็นประธานมูลนิธิฯ จึงสามารถใช้สถานที่มูลนิธิฯ ภายในค่ายทหารได้ คำถามจึงมีอยู่ว่าทำไมจึงไม่เลือกที่จะไปพบที่ห้องทำงานภายในทำเนียบรัฐบาลในฐานะรองนายกรัฐมนตรี

จริงหรือไม่ที่อำนาจ อาจทำให้กลุ่มคนเหล่านี้คิดไปได้ว่า จะทำอะไรก็ได้ไม่ต้องคิดไม่ต้องระวังมาก ถ้าไม่มีกฎหมายห้ามอย่างชัดเจนก็ไม่สนใจ แต่อาจลืมคิดในประเด็น “โลกติเตียน”

2.การที่พลเอกประวิตร อดีต ผบ.ทบ.ตั้งมูลนิธิป่ารอยต่อฯ อยู่ในค่ายทหารและมีกิจกรรมทางการเมืองในค่ายทหารทำให้คนอดคิดไม่ได้ว่า ถ้าไม่ใช่พรรคพลังประชารัฐ จะสามารถเข้าไปใช้พื้นที่ในค่ายทหารได้หรือไม่ ทหารซึ่งเป็นข้าราชการควรจะวางตัวเป็นกลางทางการเมืองจะใช้สถานที่สนับสนุนพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือจะมีส่วนร่วมอย่างลับๆในการตั้งพรรคการเมืองได้หรือไม่

ประชาชนจึงต้องส่งเสียงเพื่อให้มีการทบทวนบทบาทหน้าที่ของทหาร แม้พลเอกประวิตรจะเป็นอดีตนายทหาร แต่จะต้องไม่นำกองทัพมาแปดเปื้อนในการช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์ของพรรคการเมือง

ส่วนที่มีผู้ไปเข้าพบพลเอกประวิตรในวันนั้น อ้างว่า “การที่ทหารมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองถือว่าเป็นเรื่องดี ถ้าเทียบกับอาชีพอื่นแล้วทหารเป็นนักการเมืองถือว่าดีที่สุด” ต้องไม่ลืมว่าทุกอาชีพมีความสำคัญที่ทำประโยชน์ให้กับบ้านเมืองเสมือนเป็นฟันเฟืองเชื่อมร้อยต่อซึ่งกันและกัน ทุกอาชีพมีความสำคัญที่จะประกอบกันเพื่อบริหารประเทศ ทหารดีก็มีทหารเลวก็มาก นักเศรษฐศาสตร์ก็มีทั้งดีและเลว แพทย์ วิศวกร และพ่อค้าก็มีทั้งดีทั้งเลว คงตอบไม่ได้ว่าอาชีพใดจะมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่ดีกว่ากัน

หากพิจารณาพรรคการเมืองเหมือนหน่วยงานหนึ่งหรือบริษัทหนึ่ง ทหารก็คล้ายกับฝ่ายรักษาความปลอดภัยที่จะต้องดูแลความมั่นคงภายนอกของหน่วยงานและบริษัท แต่ไม่เคยพบว่าหน่วยงานหรือบริษัทใดจะนิยมให้หน่วยรักษาความปลอดภัยเป็นผู้บริหารสูงสุด

3.พรรคพลังประชารัฐจะมีการประชุมเลือกหัวหน้าพรรคในวันที่ 27 มิถุนายน แต่หลังพิธีกรรมที่เกิดขึ้น ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อฯ ในวันที่ 23 มิถุนายน ทุกคนรู้แล้วว่าพลเอกประวิตรจะเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ การประชุมเพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรคที่จะมีในวันที่ 27 มิถุนายน จึงเป็นเพียงพิธีกรรมหรือการแสดงประดับระบอบประชาธิปไตย ที่จะมีการเสนอชื่อ มีการลงมติ จะนำไปสู่ “โลกติเตียน” หรือไม่

4.ละครการเมืองเรื่องพรรคในระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นตั้งแต่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ 4 กุมาร เปิดตัวเป็นผู้ก่อตั้งพรรคกับนายชวน ชูจันทร์ บรรดาขุนทหารที่ประกอบกันเป็น คสช.ต่างอยู่เบื้องหลังและค่อยๆ เปิดตัวทีละน้อย เข้ามาดำรงตำแหน่ง ไม่ว่าพลเอกประวิตร จะเข้าเป็นสมาชิกพรรค เป็นประธานยุทธศาสตร์พรรค และในที่สุดก็เป็นหัวหน้าพรรค ไม่ว่าจะเป็นการทำพิธีส่งเทียบเชิญพลเอกประยุทธ์ให้เป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรค

และในที่สุดก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เราเคยมีความรู้สึกกังขา ติเตียน ว่าแม่ค้าพ่อค้าที่ค้าขายบนฟุตบาทสาธารณะต่างค่อยๆ ตั้งเก้าอี้ ตั้งแผงค้า ยึดที่เพื่อเป็นการหยั่งท่าที สุดท้ายก็ยึดฟุตบาทสาธารณะ เราเคยกังขา ติเตียนบ้านเรือนที่อยู่ริมแม่น้ำลำคลอง สร้างระเบียงชานยื่นออกไปในลำน้ำ และในที่สุดก็ต่อเป็นห้องครัวหรือห้องรับประทานอาหารริมแม่น้ำ เราเคยติเตียนผู้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในที่ราชพัสดุหรือป่าสงวนซึ่งเป็นเขตหวงห้าม โดยค่อยๆ รุกคืบจากจำนวนน้อยไปหามาก

วัฒนธรรมของการหยั่งเชิงและรุกคืบนี้ พรรคการเมืองควรเอาเป็นแบบอย่าง หรือจะทำตัวเป็นตัวอย่างที่ทุกอย่างต้องเปิดเผยโปร่งใสตรงไปตรงมา จึงไม่ถูกโลกติเตียน

5.การที่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาติดตามตรวจสอบการใช้เงินตามพระราชกำหนด 3 ฉบับ เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมเพราะฝ่ายบริหารคือรัฐบาลเป็นผู้ใช้เงินกู้จำนวนมหาศาลของประชาชนเพื่อทำโครงการ จึงสมควรที่จะต้องมีการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ 

แต่การที่รัฐบาลส่งนายไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งเป็นสส.และเป็นผู้แสดงออกในการปกป้องรัฐบาลอย่างสุดลิ่มมาเป็นประธานกรรมาธิการ แม้จะเป็นสิทธิ์แต่ก็จะขาดความน่าเชื่อถือ ที่คนกันเองพวกเดียวกันมาเป็นประธานตรวจสอบเสียเอง แม้จะเป็นผู้ประกาศจะน้อมนำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ การตรวจสอบการใช้เงินของประชาชนจำนวนมากขนาดนี้ก็เลยหมดความหมาย หมดความน่าเชื่อถือไม่ผิดกฎหมายแต่ “โลกติเตียน”
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"