102 ภาพจากฟิล์มกระจก ย้อนเวลาสู่อดีต ร.5-ร.7


เพิ่มเพื่อน    

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมาชิกเริ่มแรกของกองเสือป่าฯ
   

หากย้อนกลับไปในอดีต การถ่ายภาพในประเทศไทย ด้วยฟิล์มกระจก ได้เริ่มขึ้นในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3  และแพร่หลายมากขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชนิยมถ่ายภาพมาก จนถึงรัชสมัย รัชกาลที  6 และรัชกาลที่ 7 ที่ได้ทรงมีภาพบันทึกภาพในสมัยนั้นมากมาย ถือเป็นหบักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกเรื่องราวทั้งในแง่ บุคคล สถานที่ การเมือง เหตุการณ์สาคัญทั้งระดับชาติและนานาชาติไว้  

ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ รัชกาลที่ 5 เป็นภาพที่ราษฎรพายเรือมารอรับเสด็จ ที่วัดไลย์ เมืองลพบุรี ในปี 2449

ปัจจุบัน ฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับชุดหอพระสมุด วชิรญาณ องค์การยูเนสโก จำนวน 35,427 แผ่นได้ถูกประกาศให้เป็นมรดกความทรงจำโลก  ประจำปี 2560  ล่าสุด กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้จัด นิทรรศการ “ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา” จากชุดหอพระสมุดวชิรญาณ กล่องที่ 1-24 และ 50-52 จำนวน 102 ภาพ จาก 1,000 ภาพในชุดนี้ เพื่อนำพาผู้คนที่ได้เข้าชม เดินทางย้อนเวลาไปในอดีต  สัมผัสกับเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งวิถีชีวิตของชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 7 โดยนิทรรศการจะจัดแสดงในวันที่ 10 กรกฎาคม –  20 กันยายน 2563 ระหว่างเวลา 10.00 – 18.30 น. ทุกวัน (ยกเว้นวันจันทร์) ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร 

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ขณะบูรณปฏิสังขร เมื่อปี 2422-2424

ภายในนิทรรศการได้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่1: ปฐมบรรพ การเสด็จประพาสหัวเมืองของ ในหลวงรัชกาลที่ 5  และการเสด็จประพาสต้น ส่วนที่2 : ทุติยบรรพ สยามอันสุขสงบในรอยต่อของกาลเวลา เป็นภาพวิถีชีวิตที่ธรรมดาเป็นกิจวัตรของผู้คนในกรุงเทพฯ ให้บรรยากาศของความสุขสงบ เรียบง่ายของผู้คนและบ้านเมือง ส่วนที่3 : ตติยบรรพ ตะวันออกบรรจบตะวันตก เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นบทบาทของชาวตะวันตกที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7 และ ส่วนที่4 : จตุตถบรรพ เร่งรุดไปข้างหน้า สะท้อนให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกที่ทำให้สยามประเทศขณะนั้น เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสร้างและเชื่อมโยงระบบเส้นทางรถไฟ ทั้งนี้ยังได้มีการคัดเลือกภาพจำนวน 205 ภาพ จัดทำคำบรรยายและตีพิมพ์ในหนังสือ ฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ เล่ม 2 อีกด้วย 

 

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ผู้ออกแบบนิทรรศการ ฟิล์มกระจก: เรื่องราวเหนือกาลเวลา กล่าวว่า การคัดเลือกภาพฟิล์มกระจกที่ถูกจัดแสดงภายในนิทรรศการและในการตีพิมพ์เป็นหนังสือ ที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญนั้นยากมาก เพราะแต่ละคนก็มีความสนใจในเรื่องราวที่แตกต่างกัน ก่อนนำภาพมาจัดเป็นกลุ่ม และดูว่าสามารถร้อยเชื่อมโยงเรื่องราวได้อย่างไร ดังนั้น จะเห็นว่าในแต่ละส่วนภาพจะสื่ออารมณ์ที่เป็นส่วนพระองค์ ซึ่งความท้าทายคือการจัดแสดงภาพที่จำกัดจำนวนภาพ และการเล่าเรื่องที่ต้องเชื่อมกันให้ได้  ซึ่งในมุมมองฐานะช่างภาพ บทบาทของการถ่ายภาพ  ไม่ใช่เพียงแค่การบันทึกเหตุการณ์ แต่ยังเป็นการถ่ายทอดมุมมองการบันทึกของคนถ่ายภาพด้วย ภาพในการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้ จึงให้อารมณ์ ความรู้สึกและมีพลังในเวลาที่มองภาพ เพราะเราจะเห็นถึงวิถีชีวิต คน สังคม เหตุการณ์ต่างๆ ตามคอนเซ็ปของนิทรรศการ คือ การให้คนปัจจุบันได้เข้าใจและมีความรู้สึกผูกพันกับรูปภาพ

 

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นำชมนิทรรศการ

“อย่างภาพในส่วนแรก เป็นการเล่าเรื่องการเสด็จประพาสของรัชกาลที่ 5 ตามหัวเมืองต่างๆ อย่างภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ เป็นภาพที่ราษฎรพายเรือมารอรับเสด็จ ที่วัดไลย์ เมืองลพบุรี ในปี 2449  หรือภาพของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ที่ทรงมีความใกล้ชิดกับพระองค์ ทำให้เราได้สัมผัสความรู้ส่วนพระองค์ที่ถ่ายทอดความสุข แต่ก็ยังมีมุมที่พระองค์โศกเศร้า ในภาพถ่ายงานพระราชทานเพลิงพระศพของพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภชด้วย นอกจากนี้ ยังมีภาพขณะทรงเสด็จไปที่เกาะสีชัง หรือภาพระหว่างทางเไปพระนครคีรี ไปถ้ำหลวงที่ทุ่งเขาพนมขวด และในส่วนถัดๆไป เราก็จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่างของประเทศในสมัยนั้น ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าด้วยภาพถ่ายได้เป็นอย่างดี” ท่านผู้หญิงสิริกิติยา กล่าว 

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช

นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า   ภายในนิทรรศการผู้ที่เข้ามาชมจะได้ชมภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบรมวงศ์ ขุนนาง และช่างภาพ ซึ่งแต่ละท่านมีมุมมองในการถ่ายภาพ การจัดวางองค์ ประกอบ และการสื่อความหมายที่แตกต่างกันออกไป สะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ บุคคล สถานที่ และเหตุการณ์สําคัญในอดีตได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การเผยแพร่  ศึกษา ค้นคว้า วิจัย 

 

ภาพถนนเจริญกรุงตัดกับถนนมหาชัยฯ

นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของนิทรรศการครั้งนี้มาจากการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ โดยในปี  2563  กรมศิลปากร โดยสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้ดำเนินงานอนุรักษ์ฟิล์มกระจกต้นฉบับ ชุด หอพระสมุดวชิรญาณ กล่องที่ 1-24 และ 50-52 จำนวนอีกกว่า 1,000  ภาพ ที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาแปลงฟิล์มกระจกต้นฉบับ ให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล เพื่อลดการสัมผัสฟิล์มกระจกต้นฉบับ ที่มีลักษณะเปราะบาง เสี่ยงต่อการแตกหักเสียหาย จากนั้น จึงนำสำเนาไฟล์ดิจิทัลมากำหนดรหัส และจัดทำคำบรรยาย โดยมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับภาพถ่ายโบราณ มาร่วมศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดคำบรรยายภาพที่ถูกต้องเหมาะสม คัดเลือก จำนวน 205 ภาพ มาจัดพิมพ์เป็นหนังสือฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ เล่ม 2 และคัดเลือก102 ภาพมาจัดแสดงในนิทรรศการตรั้งนี้  ที่สามารถชมนิทรรศการเสมือนจริง ด้วยเทคโนโลยี Virtual Reality นำเสนอข้อมูลนิทรรศการแบบออนไลน์ ซึ่งประชาชนสามารถเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวแบบเสมือนจริง ได้ผ่านเว็บไซต์ www.nat.go.th

 

ภาพเรือกลไฟสี่เสา ขนส่งสินค้าจากสยามไปทวีปยุโรปฯ

นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการ 2 ครั้ง ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ คือ ​​ครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.30-15.30 น. ในหัวข้อ เบื้องหลังการอ่านภาพฟิล์มกระจก ครั้งที่ 2 ในวันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2563 เวลา 13.30-14.30 น. ในหัวข้อ เล่าเรื่องการเก็บรักษาฟิล์มกระจกและภาพเก่า ​​ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ www.nat.go.th หรือ facebook ของกรมศิลปากร และสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ 

 

ภาพขณะเสด็จประพาสทะเลตะวันตก

 

ศาลาเฉลิมกรุงฯ


--------------------
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"