เติมคลังความรู้ประวัติศาสตร์ หนังสือล้ำค่าจาก’เอนก’ อดีตอธิบดีกรมศิลป์


เพิ่มเพื่อน    

เอนก สีหามาตย์  อดีตอธิบดีกรมศิลปากร

 

     ห้องสมุดเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ทางปัญญา เป็นแหล่งเรียนรู้ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เพื่อให้การเรียนรู้มีความต่อเนื่อง เอนก สีหามาตย์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จึงมอบหนังสือและเอกสารสำคัญให้กับกรมศิลปากรจำนวน 3,781 รายการ  โดยนำมาเผยแพร่ภายในอาคารหอบรรณสารตั้งอยู่ที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย  ซึ่งถือว่าเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ในสุโขทัย ณ ตอนนี้

      ทั้งนี้ มีการจัดโซนหนังสือของอดีตอธิบดีกรมศิลปากรเฉพาะ แบ่งหมวดหมู่อย่างน่าสนใจ  มีหนังสือหายากและทรงคุณค่าจำนวน 2,540 เล่ม อีกทั้งหนังสือระบบชลประทานสุโขทัย เนื้อหาเหมาะกับคนในพื้นที่ เพราะรวบรวมเรื่องแหล่งน้ำภายในเมืองสุโขทัยและร่องรอยหลักฐานที่แสดงถึงความชาญฉลาดของคนโบราณในการบริหารจัดการน้ำในสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีหนังสือประวัติศาสตร์และโบราณคดีต่างประเทศที่หายาก   ทุกเล่มเป็นเล่มโปรดที่อ่านแล้วสร้างสรรค์ พร้อมให้องค์ความรู้ที่สำคัญ อดีตอธิบดีมากความสามารถต้องการส่งต่อให้นักอ่านหรือคนทำงานอื่นๆ ได้ทราบ โดยมีประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีรับมอบหนังสือและเอกสารสำคัญจากเอนก สีหามาตย์  เมื่อวันก่อน  

 

ประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เยี่ยมชมหนังสือหายาก โดย เอนก สีหามาตย์ แนะนำหนังสือและเอกสารสำคัญ

 

 

           ประทีป เพ็งตะโก  บอกเล่าถึงที่มาว่า  เอนก สีหามาตย์ ปฏิบัติราชการกรมศิลปากรกว่า 34 ปี มีความประสงค์ส่งมอบหนังสือให้กรมศิลปากร เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ สร้างคลังความรู้ให้ประชาชน โดยเฉพาะงานด้านประวัติศาสตร์ บราณคดี สามารถสืบค้น ศึกษาเรียนรู้ นำข้อมูลเหล่านี้ใช้พัฒนาตัวเอง ทั้งยังส่งผลต่อการอนุรักษ์และพัฒนามรดกของประเทศมีความก้าวหน้า  ทั้งยังสนองนโยบายการพัฒนาห้องสมุดของอุทยานฯ สุโขทัยให้เป็นศูนย์ข้อมูลเมืองมรดกโลกของสุโขทัย 

           นอกจากหนังสือ ยังมีภาพถ่ายเก่าและฟิล์มสไลด์บันทึกเรื่องการเดินทาง การสำรวจและปฏิบัติงานทางโบราณคดี รวมทั้งโบราณสถาน  จำนวน  1,241 ภาพ และบันทึกการเดินทางสำรวจถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองกำแพงเพชรจนถึงสุโขทัย  รวมทั้งภาพการปฏิบัติงานโบราณคดีของเอนก ขณะปฏิบัติราชการในช่วงแรก ณ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตลอดจนการดำเนินงานโบราณสถานในต่างประเทศ  เช่  พุกาม  อินโดนีเซีย และจีน ดยเอกสารอีกส่วนจะส่งให้สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัยและสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในงานอนุรักษ์และพัฒนาเอกสารสำคัญของชาติด้วย

 

เอนก สีหามาตย์ กับโซนภาพถ่ายชีวิตและการทำงานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีทั้งในไทยและต่างประเทศ

 

     หนังสือคือโลกอีกใบของ เอนก สีหามาตย์  กล่าวว่า หนังสือและเอกสารเหล่านี้สะสมมาตั้งแต่ปี 2524 เพราะทำงานด้านโบราณคดี เมื่อพบหนังสือที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีทางโบราณคดีหรือหลักการทำงานจะซื้อเก็บไว้ รวมถึงไปทำงานโบราณสถานในต่างประเทศ เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ระดับโลก อย่างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในเนเธอร์แลนด์ จะมีหนังสือเล่าเรื่องราวพ่อค้าชาวเนเธอร์แลนด์ที่เข้ามาค้าขายในอยุธยา เกิดเป็นหมู่บ้านฮอลันดาที่ยังคงมีร่องรอยจนทุกวันนี้ เป็นข้อมูลทำให้ศึกษาประวัติศาสตร์การค้าสมัยอยุธยาได้ดี   

      “ เกือบ 40 ปีที่สะสมมา หนังสือควรอยู่ในที่ๆ เหมาะสม ประชาชน บุคลากรกรมศิลปากรควรได้อ่าน ศึกษาเรียนรู้ เรื่องราวในหนังสือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับประเทศไทย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น   ส่วนหนังสือหายาก เช่น Royal Siamese Maps เล่มนี้รวบรวมแผนที่โบราณ ทำให้ทุกคนรู้ถึงการเดินทัพและเส้นทางการค้าที่สำคัญในประเทศไทย  ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงค้นพบในพระราชวังหลวงและทรงให้จัดพิมพ์เผยแพร่ อีกเล่มที่เป็นหนังสือในดวงใจ  World History Atlas เล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โลกผ่านแผนที่  มีการเปรียบเทียบพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วน INDIAN MINIATURE  PAINTING เกี่ยวกับงานจิตรกรรมอินเดีย เป็นที่ทราบกันดีว่า ต้นอารยธรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อไทยมาก หายากอีกเล่ม A Passage to Asia ว่าด้วยเส้นทางการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้ในเอเชียจากสายตาชาวยุโรป “ เอนก แนะนำหนังสือหายาก

 

หนังสือและเอกสารสำคัญ 3,781 รายการ  เผยแพร่ในอาคารหอบรรณสาร อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

 

     อดีตอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การอ่านหนังสือมีส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ให้การทำงานด้านโบราณคดีประสบความสำเร็จ เพราะต้องมีคู่มือด้านวิชาการ ส่วนประสบการณ์ช่วยให้แก้ปัญหางานได้ดียิ่งขึ้น การมอบหนังสือให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะจะเป็นมรดกชาติเป็นร้อยปี หนังสือเหล่านี้ตีเป็นมูลค่าไม่ได้ แต่มีคุณค่าทางจิตใจ ตนเริ่มรับราชการที่กำแพงเพชร ศรีสัชนาลัย สุโขทัย แล้วไปอยุธยา เชียงใหม่ ภูเก็ต ก็สะสมหนังสือและข้อมูลแต่ละพื้นที่ เมื่อขึ้นตำแหน่งผู้บริหารมองภาพรวมภารกิจทั้งกรม ทำให้มีหนังสือครบทุกด้าน ทั้งจดหมายเหตุ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ดนตรี นาฏศิลป์ มีความสุขกับการอ่านหนังสือที่หลากหลาย หาความรู้ต่างๆ ได้รอบตัว และวันนี้ก็ยังมีหนังสืออีกมากมายที่อยากจะอ่าน การสนับสนุนด้านหนังสือและเอกสารมีคุณค่าเป็นอีกความพยายามสร้างนักอ่านรุ่นใหม่ๆ และยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในสุโขทัยให้ดีขึ้นด้วย 

 

 

 


 

 

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"