แพทย์จุฬาฯห่วง'ม็อบ'กิจกรรมเสี่ยงสูงสุดแพร่โควิด บี้ศบค.-สมช.เร่งหยุดยั้งให้ได้


เพิ่มเพื่อน    

20 ก.ค. 63 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "อีก 2 วันจะแตะ 15 ล้านคน ล่าสุดทั่วโลกติดเชื้อเพิ่มอีก 226,781 คน รวมแล้ว 14,602,504 คน

อเมริกา เพิ่มถึง 61,124 คน รวมแล้ว 3,887,454 คน คาดว่าจะแตะ 4 ล้านในวันเดียวกับที่ทั่วโลกแตะ 15 ล้าน 

บราซิล เพิ่มอีก 23,265 คน รวม 2,098,389 คน 

อินเดีย ตอนนี้รุนแรง ติดเพิ่มอีก 40,243 คน รวม 1,118,107 คน หากเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกราว 4-6 สัปดาห์อาจแซงบราซิลเป็นอันดับสองได้ 

รัสเซีย ติดเพิ่ม 6,109 คน รวม 771,546 คน 

เปรู เม็กซิโก อิหร่าน ปากีสถาน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ยังเกาะกันหลักพัน

กลุ่มประเทศยุโรปยังติดกันหลักร้อย เฉกเช่นเดียวกับสิงคโปร์ ออสเตรเลีย

ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และจีน ตอนนี้เลขสองหลักครับ

สถานการณ์การบริหารจัดการเพื่อควบคุมปัญหาโรคระบาด COVID-19 ของประเทศไทยนั้น ดำเนินการด้วยดีตลอดมา แต่จุดพลิกผันเกิดจากการกำหนดวิธีปฏิบัติที่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มเป้าหมาย และปัญหาจากการประสานงานระหว่างหน่วยงานในระดับพื้นที่ ทำให้ความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบบลดลง

และนั่นเป็นโอกาสที่ทำให้เกิดการช่วงชิงโอกาสทางการเมือง มีกิจกรรมเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นมา ทั้งๆ ที่สงครามโรคระบาดยังมีต่อเนื่อง

ทั้งศึกในที่ปลดล็อกกิจการเสี่ยงสูง และศึกนอกที่มีคนต่างชาติทยอยเดินทางเข้ามาตามที่กำหนดไว้ราว 30,000 คน...แค่สองอย่างนี้ก็หนักแล้ว

แต่ที่จะเป็นภาวะคุกคามที่น่ากลัว และจัดการได้ยากคือ "การชุมนุม" หรือ Mass gathering ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะระบาดรุนแรงในหลายประเทศที่มีสถานการณ์เช่นนี้

"การชุมนุม"...มีทั้งเรื่องจำนวนคนที่มาก แออัด ใกล้ชิด อยู่กันเป็นเวลานาน มีการพูดคุยปลุกเร้าตะโกน และมีพฤติกรรมการป้องกันตัวน้อย เช่น ใส่หน้ากากบ้างไม่ใส่บ้าง ยังไม่นับการแชร์สิ่งของที่มีการจับต้องร่วมกัน

ดังนั้นนี่จึงจัดเป็นกิจกรรมที่เสี่ยงสูงที่สุดของศึกในประเทศ...

โจทย์หลักของท่านนายกรัฐมนตรี ศบค. และสมช.คือ การหยุดยั้งหรือห้ามการชุมนุมครับ จะด้วยการบังคับใช้กฎหมายหรือวิธีอื่นใดก็แล้วแต่

นี่คือเรื่องความเป็นความตายของประชาชนในประเทศ การจัดกิจกรรมเช่นนั้นในท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโรคที่ไม่มียารักษามาตรฐาน ไม่มีวัคซีนป้องกันนั้น เป็นการทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม

สิทธิของบุคคลจะพึงมีก็ต่อเมื่อกระทำการโดยไม่ทำให้เกิดภัยอันตรายต่อบุคคลอื่น จะทำอะไรต้องรู้จักกาละเทศะ

การแสดงออกทำได้หลายทาง รัฐคงต้องขบคิดหาแนวทางที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายเห็นต่างนั้นได้นำส่งข้อมูลและแนวคิดเพื่อการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาสังคม ตามแนวทาง"รวมไทยสร้างชาติ" ให้เป็นผลสำเร็จ

ที่แน่ๆ คือ เลิกเสียทีกับการผลักดันแนวคิดนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศครับ หยุดเอาไว้ก่อนเภิดครับ อดทน อดกลั้น อดออม ยืนบนขาตนเอง และยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ไม่งั้นไม่รอดแน่นอน... ด้วยรักต่อทุกคน... ประเทศไทยต้องทำได้...".

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"