ไม่มีเยาวชนคนใด Born to be เป็น “อาชญากร” เมื่อสังคมตัดสินให้ “แพ้” ชีวิตจึงจบที่คุก


เพิ่มเพื่อน    

 

ทิชา ณ นคร 17 ปี ผอ.บ้านกาญจนาภิเษก การันตีไม่มีเยาวชนคนใด Born to be อาชญากร เมืองไทยมีคุกเด็ก 19 แห่ง เหยื่อเด็กคือผู้แพ้ของสังคม เป็น Nobody’s child พ่อแม่ชอบเปรียบเทียบลูกกับคนอื่นทำให้เด็กไร้ค่า สังคมหยิบยื่นบาดแผลใหญ่ ถูกไล่ออกจาก รร. ประตูคุกเปิดรับในทันที เมื่อคำพิพากษาตัดสินลงโทษ บ้านกาญจนาฯ เปิดประตูด้วยการปลดกุญแจมือ ผูกข้อมือรับขวัญพร้อมโอบกอด ทั้งพ่อแม่ เจ้าหน้าที่บ้านกาญจนาฯ และตัวเด็ก 3 ประสานร่วมมือกัน Change เมืองไทยมี 22. 8ล้านครอบครัว หรือ 61 ล้านคน มีเพียงพันครอบครัวที่พ่อแม่กล้าและพร้อมที่จะเลี้ยงลูกแบบ home school

             

ทิชา ณ นคร ผอ.บ้านกาญจนาภิเษก เริ่มต้นเสวนาว่า เด็กๆ ที่ป้าทำงานด้วยเป็นเด็กปลายน้ำ สังคมมองว่าเขาก่ออาชญากรรม ควรเก็บพวกเข้าไว้ในพื้นที่มิดชิด การเปิดเวทีให้ป้าเสวนาครั้งนี้เท่ากับว่าให้พื้นที่เด็กๆ ด้วย ด้วยความเชื่อที่ว่าไม่มีใคร Born to be เป็นอาชญากรให้คนทั้งประเทศเหยียดหยาม เกรี้ยวกราด และต้องจบชีวิตในสถานควบคุม ทุกวันนี้เมืองไทยมีสถานควบคุมหรือคุกเด็ก 19 แห่ง ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องที่เราควรจะภาคภูมิใจแต่อย่างใด

 

             

บ้านกาญจนาฯ เป็นหนึ่งในสถานควบคุมตาม กม.ที่ศาลพิพากษาให้เขาอยู่ในสถานที่แห่งนี้ คือความยุติธรรมสำหรับเหยื่อที่เป็นเด็กกว่าพันคน พวกเขาเหล่านี้ไม่ใช่อาชญากร เขาทำความผิดซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เขาคือผู้แพ้ของสังคมจริงๆ เรายอมรับสิ่งที่เขาทำนั้น เมื่อย้อนดูตัวเลขเด็กที่ถูกจับกุมแต่ละปีอยู่ในนิยามไม่ต่างจากเหยื่อ เด็กถูก drop out 70% ก่ออาชญากรรม มีประวัติถูกให้ออกจากโรงเรียนกลางคัน เป็นเด็กระดับ ม.ต้น เมื่อถูกไล่ออกจาก รร. เด็กกลุ่มนี้จะไปอยู่ที่ไหนกัน เป็นบาดแผลที่นำความไม่มีตัวตนออกมาด้วย ไม่ใช่เป็นการเดินออกจาก รร.ตามปกติ

             

เด็กที่ถูกไล่ออกจาก รร.จะถูกดึงดูดเข้าหากัน เมื่อผู้แพ้มาเจอกันเป็นบทสนทนาที่เราคาดไม่ถึง เมื่อย้อนเวลาตอนที่เป็นเด็กน้อยไม่เคยฝันว่าจะมีวันนี้ ผู้แพ้เจอผู้แพ้ พฤติกรรมที่ออกมาย่อมเหนือความคาดหมายจริงๆ ป้ายืนอยู่ตรงหน้าเด็กที่ถูกใส่กุญแจมือ นาทีแรกที่เราปลดกุญแจมือแล้วผูกข้อมือเป็นการรับขวัญ โอบกอดเขา ถ้าปาฏิหาริย์มีจริง พาหนูไปยังสถานที่เกิดเหตุอีกครั้งเมื่อ 3 ปีก่อน 5 ปีก่อน ป้าเชื่อว่าหนูจะไม่ฆ่าเขา แต่วันนั้นมีคนตายจริง พ่อแม่เศร้าโศก พ่อแม่หนูต้องหมดเงินหมดทองเพื่อพวกหนู เราเชื่อว่ามีคนอยากดี อยากสว่าง แต่ปาฏิหาริย์ไม่มีจริง เป็นเพราะหนูอ่อนแอถึงได้ทำความผิด มีคนด่าทั้งเมือง เรามีสองคนอยู่ในตัวหนู ถ้าเราทำงานอยากให้คนขาว อยากสว่าง คนที่มืดก็เล็กลงและหายไป ป้าทำงานตามลำพังไม่ได้ พ่อแม่ก็ทำตามลำพังไม่ได้ ตัวหนูเองก็ต้องช่วยเราด้วย

             

ก่อนที่พวกหนูจะก่อคดีนั้นเป็นเด็ก Nobody’s child เมื่อเราโอบกอดแรกเพื่อจะเป็นการสื่อสารต้องการการพิสูจน์ ไม่ใช่อยู่ๆ เรายอมรับหนูโดยไม่ต้องทำอะไร เขาจะช่วยเรานำความมืดออกไปสร้างคนที่เข้มแข็ง การออกแบบบ้านกาญจนาฯ ห่างไกลคำว่าคุก เด็กไม่อยู่ในนิยามของการก่ออาชญากรรม เป็นผู้แพ้ของสังคม พ.ร.บ.ศาลคดีเด็กและเยาวชน คุกเด็กสร้างขึ้นมาครั้งแรกเมื่อปี 2495 แต่ก่อนนั้นเด็กทำความผิด ศาลตัดสินจำคุก 7 ปีขึ้นไป ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำกับผู้ใหญ่ แต่เมื่อ พ.ร.บ.ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีผลบังคับใช้ แยกคุกเด็กออกจากผู้ใหญ่ตั้งแต่ปี 2495 ด้วยคำนึงถึงความเป็นเด็กในทุกมิติ กลายเป็นวัฒนธรรมต่อเนื่องขององค์กร

             

เด็กไม่ได้ Born to be ที่จะเป็นอาชญากร มนุษย์ไม่ได้เป็นผ้าขาวแท้ ดำแท้ เป็นสีเทา เป็นเรื่องของสงครามทางความคิด ถือเป็นเรื่องใหญ่มากในบ้านกาญจนาฯ การเดินทางอย่างยาวนานคือพลังชนิดหนึ่ง เป็นแนวคิดที่มองเด็กทำความผิดเพียงครั้งเดียว “ป้าถูก outsource เข้าไปทำงานในบ้านกาญจนาฯ ไม่ได้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ป้าเป็นสงครามทางความคิด การเปลี่ยนแปลงของเด็กต้องใช้เวลามาก ป้าตั้งคำถามเรื่องการกินอาหารในสถานควบคุม ป้าไม่เข้าใจเรื่องการตบฉากก่อนกินอาหาร ทำไปเพื่ออะไร ไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้ ทำไมเราไม่ปล่อยให้เด็กทำกับข้าวด้วยตัวเอง ไม่ต้องมาตบฉาก ในเมื่อเรามีมีด มีเขียง มีเตาก๊าซอยู่แล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดอยู่ในความหมายว่าเป็นอาวุธ เด็กๆ เหล่านี้ไม่ควรพกพาอาวุธ เมื่อย้อนกลับไปดูว่าวันที่ก่อคดีฆ่าคน เขาไม่ได้เอามีด เขียง มาเป็นอาวุธ แต่เขาใช้ตีน ใช้เท้า ใช้มือทำร้ายคนที่อยู่ตรงหน้าจนเสียชีวิต ด้วยส้นตีน มือของเด็กเราต้องจัดการด้วยหรือไม่?”

             

ป้ามลทำงานที่บ้านกาญจนามาแล้ว 17 ปี หลายเรื่องเอาออกได้ สัญลักษณ์แห่งการพัฒนาเกิดความงดงาม สถานควบคุมเด็ก-เยาวชนของทุกประเทศในโลกนี้ เด็กเดินไปในทิศทางนั้น เราย้อนกลับมาเพื่อดูกิจกรรมที่ไม่ได้สร้างบรรยากาศให้เหมือนกับคุก

             

เด็กทุกคนมีมุมบวก สีขาว สีดำ ด้านมืด ถูกต่อยอดตลอดเวลา ในด้านมืดของเด็กมีการโยนของใส่ป้า เจ้าหน้าที่ของเราหลายคนเมื่อรับเด็กเข้ามาอยู่ใหม่ๆ เราจะไม่เข้าไปเล่นด้านมืดของเด็ก วันที่ 2 เด็กอยู่บ้านกาญจนาฯ ไม่ว่าจะมีโทษจำคุก 7 ปี 3 ปี และจะต้องไปรับโทษต่ออีก 34 ปี คดีฆ่าคนตายเป็นคดีที่ 2 มีเด็กบางคนคิดจะหนีออกไปจากบ้านกาญจนาฯ ด้วยเหตุผลไม่อยากติดคุกอีกกว่า 30 ปี 

             

ดังนั้นที่บ้านกาญจนาฯ เราปฏิบัติต่อเขาให้เป็นคนดี คนสว่างในเรือนจำ คืนที่ 2 ที่บ้านกาญจนาฯ ทุกคนต้องไปกินหมูกระทะที่ศาลายา นครชัยศรี ภายในห้องเดินไปเดินมาได้อย่างอิสระ ทำให้เขามองเห็นทั้งด้านมืดและด้านสว่างปะทะกันอย่างรุนแรง ไม่มีใครควบคุมเขาไว้ได้ ถ้าเขาชนะในคืนนี้ได้ ไม่หนีออกไป ที่ผ่านมา 17 ปี เด็กทั้งหมด 99 รุ่น ราคาเป็นแสนที่เราต้องจ่ายเงินค่าหมูกระทะ เพื่อกอบกู้ด้านดีของเขาให้กลับคืนมา คืนที่ 2 เพื่อจะไปเรือนจำอีก 34 ปี     

             

เมื่อทุกคนกลับเข้าบ้านกาญจนาฯ ต้องเขียนไดอารีก่อนนอน เขียนถึงความรู้สึก บางคนเขียนไดอารีเป็นสิบๆ เล่ม บางคนเขียนบันทึกว่าคืนนี้ถึงป้าพาพวกเราไปกินหมูกระทะ ป้ามีสิทธิ์กลัวหวาดระแวงร้องขอในระหว่างที่ผมกินหมูกระทะ แต่ป้าพูดกับผมอยู่ที่นี่ปีครึ่ง จึงไม่ได้รู้สึกว่าติดคุก อีก 34 ปีที่เราต้องเผชิญในเรือนจำจะเป็นเรื่องน่าหวาดกลัวอีกต่อไป ผมจะไม่ทำให้ทุกคนรู้สึกหวาดกลัว ป้าไม่ต้องร้องขอ ในเมื่อป้าและเจ้าหน้าที่กล้าให้สิ่งเหล่านี้ที่ผมไม่เคยได้มาก่อนตลอดชีวิต ผมไม่มีทางหนี พร้อมจะย้ายไปอยู่ในเรือนจำ 34 ปี

             

สำหรับเด็กคนแล้วคนเล่าในด้านดีของเขามีอยู่จริงๆ ไม่ต้องไปรอให้ใครเห็น แต่ข้อผิดพลาด ป้าเสียดายที่เราเห็นด้านดีของเขาช้าเกินไป ทำให้มีคนเสียชีวิตและมีบาดแผลอยู่ในจิตใจ ถ้าเขาเป็นเด็กต้นน้ำ เด็กน้อยในชุมชนอยู่ในสังคม เราต่อยอดขยาย เราเชื่อว่าจะปิดเส้นทางเดินเข้าคุกของเด็กกลุ่มนี้ได้อย่างมหาศาล เราเป็นผู้ใหญ่ในชุมชน ต้องช่วยกันหาด้านดีของเด็ก สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล สร้างพื้นที่เพื่อดึงด้านดีของเด็กออกมา เราได้ยิน ได้เห็นสังคมแสดงความฉุนเฉียว กราดเกรี้ยว ด่าทอพวกเขา        

             

เมื่อ 2 ปีก่อน เด็ก 5 คนรุมโทรมเด็กหญิง มีการโพสต์ลง facebook และ youtube ถล่มเด็ก 5 คนด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย เรียกร้องให้เอาเด็กไปประหาร เด็ก 5 คนทำความผิดจริง เราไม่อาจบอกได้ว่าเด็กทำถูก เด็กทั้ง 5 คนก็เหมือนกับเด็กที่ก่อคดีอาชญากรรมในบ้านกาญจนาฯ หลายคน มีความละม้ายคล้ายกันหมด ทำไมผู้ใหญ่ไม่แก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ป้าเข้าไปกอดเขาทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน ป้าขอโทษเขาที่เราเป็นผู้ใหญ่ดูแลบ้านเมืองได้ดีกว่านี้ หนูจะไม่ได้เป็นอย่างนี้ เด็กทั้งหมดถูก drop out ออกจาก รร. เด็กเหล่านี้เป็นผู้แพ้ รร.มีเหตุผลอะไรที่ให้เด็กออกจาก รร. เราต้องการวิศวกรทั้งประเทศ หมอทั้งประเทศหรือ เราต้องการคนที่มีอาชีพหลากหลายแตกต่างทุก level ของสังคม ถ้า รร.ให้พื้นที่กับเขา ให้คนซ้ายคนขวาจนเหลือคนไม่กี่กลุ่ม

             

ตลอดเวลา 17 ปีที่ป้ามลทำงานในบ้านกาญจนาฯ ประตู รร.ปิดใส่เด็กเหล่านี้ ประตูคุกจะเปิดต้อนรับเขาในทันที การ drop out แก้ไขในปัจเจกไม่ได้ พ่อแม่ยังไม่เก่งพอที่จะสอนลูกแบบ home school เมืองไทยมี 22.8 ล้านครอบครัว มี home school เพียง 1,000 ครอบครัว พ่อแม่มีบุคลิกความฝัน ความศรัทธาที่จะสอนลูกแบบ home school แต่พ่อแม่อีกเป็นจำนวนมหาศาลจัดการสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ในขณะที่คนเหล่านี้เป็นพ่อแม่แล้ว รัฐจะทำได้ต้องเริ่มสร้างพื้นที่สีขาว พื้นที่ดีๆ เพื่อเด็กที่ไม่สามารถจัดการตัวเองได้ มีโอกาสแสดง Exercise ด้านดี พวกเราทำงานทุ่มเท เรียกร้องสิ่งนี้จากรัฐบาลเป็นแผ่นเสียงตกร่อง

             

ทุกครั้งที่เด็กก่ออาชญากรรมในสังคมไทย เราเกรี้ยวกราดอย่างบ้าคลั่ง เป็นความสูญเสียซ้อนความสูญเสีย เราส่งสัญญาณที่จะต้องคิดนโยบายเป็นระบบ คุณเป็นคนที่อยู่ในจุดต้องค้นหา ประเทศนี้ปราศจากงานวิจัย คุณต้องนำงานวิจัยเหล่านี้ไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย เพื่อจะได้รับในสิ่งที่ดีที่สุด สังคมเอื้อให้เขาลอยนวล มองเห็นความผิดปัจเจกเหมือนที่เราได้สมคบคิดโดยไม่รู้ตัว เพื่อให้คนออกแบบนโยบายลอยนวล

             

ป้าถามคำถามอยู่เสมอว่า คนจำนวน 22.8 ล้านครอบครัว หรือ 61 ล้านคน ในวันที่เด็กปิดเทอม 120-130 วัน เด็กจำนวนหนึ่งที่พ่อแม่มีเงินก็จะส่งไปต่างประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมต่อยอดโลกทัศน์ให้กับชีวิตที่ดี แต่เด็กอีกจำนวนมหาศาลแม้แต่จะไปค่ายพักแรม ถีบจักรยานเสือภูเขา เพื่อเฟ้นหาความสนุกสนานก็ทำได้ยากเพราะไม่มีเงิน เพราะการเข้าค่ายทำกิจกรรมก็ต้องมีเงินเป็นหมื่นบาท จึงต้องใช้จินตนาการส่วนตัว แม่ทุกคนก็ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน แม่เป็นผู้หญิงชาวบ้าน รับเสื้อผ้าจากโรงงานมาเย็บที่บ้าน เมื่อลูกยังเล็กอยู่ก็ประคับประคองได้ แต่เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นจะทำอย่างไรเมื่อลูกปิดเทอม ก็จะแลกแบงก์ 50 บาทมาใส่ไว้ในลิ้นชัก ให้ลูกไปอยู่ร้านเกมทั้งวี่ทั้งวันทุกครั้งที่ปิดเทอม            

             

ไม่กี่ปีต่อมาลูกชายเติบโตขึ้น อยากได้มอเตอร์ไซค์ ลูกใช้วิธีการข่มขู่ เมื่อแม่ไม่ให้ก็ขนเสื้อผ้าที่เย็บเพื่อไปส่งเถ้าแก่ออกมาทิ้ง แม่ก็ต้องไปใช้หนี้เถ้าแก่ ลูกต้องการล้อแม็ก เพราะลูกมีปัจจัยดึงดูดจากเพื่อน นำไปสู่การก่อคดีอาชญากรรม ทุกอย่างเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยเสี่ยง ดังนั้นต้องการนโยบายเป็นระบบที่จะต้องผ่านการออกแบบมาแล้วเป็นอย่างดี ในสังคมไทยพูดกันน้อยมากในเรื่องเหล่านี้ คนที่เข้าไปเกี่ยวข้องก็ลอยนวลได้ง่าย ข้อเรียกร้องทั้งหลายต้องผ่านการออกแบบของประเทศด้วย       ป้ามลจะอ่าน diary ของเด็กก่อนนอน ป้าจดไว้เป็นเล่มๆ หลายเรื่องที่เด็กเขียนกระแทกความรู้สึก แต่ละคดีล้วนมีปัจจัยที่ขับไล่ ผลักไสเด็ก โดยเฉพาะพ่อของเด็กมักจะพูดถึงความสำเร็จของตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นการเปรียบเทียบ ใน 22 ครอบครัวที่หยิบยกประเด็นออกมา ในช่วงที่เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี เด็กอดทนต่อพ่อแม่ที่คอยตบซ้ายตบขวาให้ลูกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ แต่เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นอายุ 11 ปี-15ปี มีปัจจัยอื่นเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ในพิกัดเดียวกัน คือระเบิดเวลา ให้เด็กมีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมหยิบการ์ดเปรียบเทียบ ทุกครั้งที่พ่อแม่ชื่นชมชอบที่จะเปรียบเทียบกับคนอื่น ทำให้เด็กรู้สึกไร้ค่า ไม่มีตัวตน ไร้เรี่ยวแรงเหมือนตกลงจากที่สูง

             

หลายครั้งที่เด็กไม่มา รร.ทำการบ้านไม่ได้ มีคำพูดคล้ายๆ กันที่บ้านกาญจนาฯ “ผมไม่มา รร.หลายวัน ครูบอกให้ลาออกจาก รร. จะได้ไม่เสียประวัติ” หมายความว่าครูหยิบเด็กเหล่านี้ออกจาก รร. ด้วยเกรงว่าจะทำให้คุณภาพของ รร.ลดลง การที่เด็กเป็นแบบนี้ไม่ใช่ว่าเขาไม่เก่ง ครูน่าจะสอนไม่เก่งมากกว่า ครูไม่ฉลาดที่จะสอนเด็กที่มีความสามารถแตกต่างกัน ด้วยการใช้คำพูดที่ว่าให้ลาออกจะได้ไม่เสียประวัติ ระบบการศึกษาของเราเป็นการทำร้ายเด็ก

             

บ้านกาญจนาฯ เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งอย่างหนัก โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในทุกครั้งที่เกิดเหตุ เราต้องการให้เด็กบอกว่าเขาต้องการอะไร เราต้องไม่ลืมเสียงของเขา ต้องหาตัวบริบทด้วยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรม ในช่วงโควิดระบาดมีคำสั่งห้ามเยี่ยม ห้ามกลับบ้าน การที่เด็กได้กลับบ้านเป็นความผ่อนคลาย ครอบครัวเข้ามาเยี่ยมเป็นเรื่องดีที่สุด ที่นี่อนุญาตให้เด็กมีมือถือได้ ไม่มีข้อยกเว้น พ่อแม่กำหนดกติกาให้ลูกในการใช้มือถือ ปกติแล้วกฎของเรือนจำจะไม่ให้ผู้ต้องขังมีมือถือ เพราะเกรงว่าจะมีการสั่งยา สั่งให้มีการทำร้ายร่างกาย แต่ในวิกฤติย่อมต้องมีโอกาส ให้ทุกคนได้ข้ามเส้น ไม่มีใครทำลายระบบที่ออกมาแล้วเป็นอย่างดี

             

ในบ้านกาญจนาฯ มีคู่ขัดแย้งที่รุนแรงมากมาเจอกันก็จริง แต่ไม่ปะทุไปสู่ความขัดแย้งรุนแรง เราเชิญพ่อแม่ลูกคุยกันเพื่อรับรู้ปัญหา บางครอบครัวแทบหมดเนื้อหมดตัว ทุกคนต่างก็ลำบากเหมือนๆ กันหมด มีคำพูดชุดขอโทษ มีพลังเป็นอย่างมากส่งไปถึงลูกหลาน เราทำจนเกิดเป็นวัฒนธรรมในองค์กร เอาคู่ขัดแย้งมานั่งคุยกัน พ่อแม่เด็กขอโทษพ่อแม่เด็กของฝั่งตรงกันข้าม ต่างขับรถกันมาเจอกันที่บ้านกาญจนาฯ 4-5 ทุ่มพูดคุยกับลูกหลานที่ขัดแย้งกัน ทำให้ความรุนแรงแทบไม่มี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"