เปิดห้องเรียนพ่อแม่ออนไลน์ ‘คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน’ สร้างสมดุลใช้มือถือ-จอใส


เพิ่มเพื่อน    

สสส.จับมือทูลมอโร เปิดตัวโครงการ “คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน” ห้องเรียนออนไลน์ ชวนพ่อแม่ที่มีปัญหา “ลูกติดมือถือ” อบรมออนไลน์สื่อสารในครอบครัวผ่านการเรียนรู้ สร้างสมดุลใช้มือถือในเด็กแต่ละช่วงวัย ลดห่างเหิน เพิ่มเวลาคุณภาพสำหรับครอบครัว ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยกัน 

 

โครงการ “คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน” ระบบการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับผู้ปกครองที่มีลูกหลานติดมือถือ เป็นการเปิดห้องเรียนออนไลน์สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองในการสื่อสารกับบุตรหลาน เพื่อแก้พฤติกรรมการติดมือถือด้วยรูปแบบการแชร์ประสบการณ์กลุ่มที่เน้นการสื่อสารแบบสองทาง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ปกครองด้วยกัน เป็นการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องทักษะการสื่อสารภายในครอบครัวผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ ด้วยความเชื่อว่า การสื่อสารเป็นพื้นฐานสำคัญของครอบครัวที่อบอุ่น เป็นการฝึกทักษะให้พ่อแม่สามารถสื่อสารกับลูกหลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยงานนี้จัดเปิดตัวผ่านระบบ ZOOM เชิญ 120 ครอบครัวเข้าร่วมทำความรู้จักโครงการ ฯลฯ และ Live ผ่าน page toolmorrow ซึ่งถือว่าได้รับความสนใจอย่างมาก

ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว (สำนัก 4) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงานเปิดตัวโครงการ “คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน” ระบบการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับผู้ปกครองที่มีลูกหลานติดมือถือ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ว่า สสส.สนับสนุนงานต่างๆ มีเป้าหมายให้คนไทยมีสุขภาพดี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง โครงสร้าง กฎหมาย นโยบายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในวิถีชีวิต มีสุขภาพดี

 

ข้อมูลจากรายงานจับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2563 (Thai Health Watch) สสส.พบว่า ประเด็นสุขภาพเด็กและเยาวชนที่มาแรง คือทำอย่างไรดีเมื่อลูกวัยเรียนวัยรุ่นติดเกมในโทรศัพท์มือถือ การเสพติดออนไลน์ ภัยคุกคามออนไลน์ และการติดเกม สอดคล้องกับข้อมูลจากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เด็กเเละเยาวชนไทยใช้ชีวิตอยู่หน้าจอมากกว่าสถิติโลก คือ 35 ชม./สัปดาห์ ซึ่งปกติไม่ควรเกิน 16 ชม./สัปดาห์ จากการสำรวจเด็กวัย 6-18 ปี จำนวนกว่า 15,000 คน พบว่าร้อยละ 61 มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเกมออนไลน์ เพราะเล่นเกมมากกว่า 3 ชั่วโมง/วัน

อ.ชูธรรม ตั้งใจตรง และ ณัฐยา บุญภักดี

 

จากเกมออนไลน์จะนำพาเด็กและเยาวชนไปสู่ความเสี่ยงอื่นๆ อย่างการพนัน ความรุนแรง แนวทางแก้ปัญหาหนึ่งคือ สร้างความเข้มแข็งอบอุ่นให้แก่ครอบครัว มีสัมพันธภาพที่ดีไม่ห่างเหิน มีเวลาคุณภาพร่วมกัน ซึ่งในปี 2562 สสส.ร่วมกับ บริษัท ทูลมอโร พัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านการสื่อสารผ่าน Online Platform สำหรับผู้ปกครองที่มีลูกหลานวัยรุ่น จนเกิดรายการ “รอลูกเลิกเรียน” ทำรายการ 10 ตอนที่มีพ่อแม่เข้าร่วมโครงการนี้ มีการเก็บผลการศึกษาพบว่า ปัญหาลูกติดมือถือเป็นประเด็นที่พ่อแม่ผู้ปกครองกังวลและอยากแก้ไขมากที่สุด จึงต่อยอดโครงการ “คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน” กับภาคีเครือข่าย ได้แก่ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข คณะจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ศิริราชพยาบาล คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ช่วยสร้างความเข้าใจและหาแนวทางในการแก้พฤติกรรมติดเกมโดยใช้ผ่านวิธีการที่เหมาะสม

 

โจทย์ใหญ่สำคัญคือ ประชาชนในสังคมไทยมีมือถือใช้ 90% ต้องมีความฉลาดรู้ รอบรู้ ถ้าเด็กใช้มือถือในสิ่งที่เป็นประโยชน์ก็จะดีมาก แต่ถ้าใช้ผิดจะกลายเป็นปัญหาได้ ในเมื่อทุกบ้านมีมือถือใช้กันอยู่แล้ว จึงพัฒนา platform online เพื่อให้เข้าถึงทุกคนด้วย นับตั้งแต่การลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อมูลซักถามพ่อแม่ปู่ย่าตายายคนที่ดูแลเด็ก บางบ้านให้เด็กเล่นมือถือตั้งแต่อายุเพียง 8-9 เดือน ส่งผลต่อการเรียนรู้ พฤติกรรมเด็กเมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น

 

พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบตามใจในสังคมดิจิทัล เด็กเกิดมาก็เห็นโทรศัพท์มือถือแล้ว พ่อแม่ก็ต้องรู้เท่าทัน ถ้าเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์หรือจะเป็นพิษเป็นภัยต่อเด็กก็ต้องควบคุม คือให้เด็กใช้มือถืออย่างถูกวิธี แต่ไม่ได้ถึงกับปฏิเสธการใช้ทั้งหมด การที่เยาวชนยุคนี้เป็นชาวดิจิทัลโดยกำเนิด (Digital Native) โตมากับคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอินเทอร์เน็ต ทั้งเพื่อความบันเทิงและเพื่อการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกม ทำการบ้าน ค้นหาข้อมูลสินค้า และกิจกรรม ติดต่อสื่อสารกับสังคมโดยรอบผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ จึงถือเป็นความท้าทายของผู้ปกครองในปัจจุบัน ที่จะสอนให้เด็กๆ รู้จักการสร้างความสมดุลในเรื่องของการใช้อุปกรณ์จอใสเหล่านี้

 

ในโครงการนี้จะมีคลิปวิดีโอสร้างแรงบันดาลใจ เปิดห้องเรียนในมือถือ เรียนรู้ 9 วันผ่านระบบออนไลน์ เกิดความเข้าใจนำความรู้ไปใช้กับลูก เมื่อปีก่อนทำกิจกรรมรอลูกเลิกเรียนเป็นกิจกรรมที่ได้ผล เนื่องจากพ่อแม่ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อนำมาปรับใช้ได้ ต่อไปจะมีการนำ AI เข้ามาปรับใช้ให้เข้าถึงผู้คนจำนวนมาก การเรียนรู้ผ่านมือถือมีความเป็นส่วนตัว คุยผ่านระบบออนไลน์ จึงขอเชิญชวนพ่อแม่ยุคใหม่ที่มีความรู้ digital ได้รับฟังนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญปัญหาเด็กบอกเล่าการแก้ไขปัญหาผ่านวิดีโอ

 

สุรเสกข์ ยุทธิวัฒน์ ผู้ก่อตั้งบริษัท ทูลมอโร จำกัด กล่าวว่า ระบบการเรียนรู้ออนไลน์ คุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยน เป็นระบบการอบรมเพิ่มศักยภาพการสื่อสารของครอบครัวผ่าน Platform Online โดยครั้งนี้โครงการใช้เทคโนโลยีช่วยพัฒนาระบบจนสามารถรองรับการอบรมได้ถึง 600 คน วัตถุประสงค์เพื่อให้มีทักษะความรู้ความเข้าใจ เทคนิควิธีการสื่อสารกันในครอบครัว เกิดความอยากที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการใช้โทรศัพท์มือถือ สร้างแรงบันดาลใจผ่านรายการ Livestream ที่แสดงให้เห็นว่าวิธีการสื่อสารที่ใช้แก้ปัญหานั้นไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อนและสามารถนำไปใช้ได้จริง พร้อมมีกิจกรรมอบรมส่งเสริมทักษะด้านการสื่อสารออนไลน์ (Self-Help Group) ออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องทักษะการสื่อสารภายในครอบครัวผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ เปิดห้องเรียนออนไลน์ (กรุ๊ปไลน์) เป็นเวลา 9 วัน วันละ 1 ชั่วโมง เหมาะกับเด็กในแต่ละช่วงวัย

 

บ. toolmorrow จัดทำสื่อออนไลน์สำหรับผู้สนใจนวัตกรรมการศึกษาเล่าเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมในครอบครัว ปีที่แล้วได้มีการสำรวจ 1 ใน 3 ของความสัมพันธ์ของครอบครัวในเมืองน่าเป็นห่วง 40% ไม่พูดคุยเรื่องในครอบครัว ทำให้มีข้อจำกัดในการแก้ไขปัญหา จำเป็นต้องมีการสื่อสารกันให้มากขึ้น ปัญหาใหญ่ของครอบครัวจะเป็นเรื่องลูกใช้มือถือมากเกินไป พ่อแม่ปรึกษาหมอที่โรงพยาบาลเป็นปัญหาใหญ่ของครอบครัวในขณะนี้ ปัญหาที่พ่อแม่อารมณ์ขึ้นเมื่อเกิดการต่อว่าต่อขานลูกในการใช้มือถือ ประเด็นเหล่านี้จึงได้นำมาทำรายการทางออนไลน์ให้แต่ละครอบครัวได้มีส่วนร่วม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา เพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นจริง

 

จากนวัตกรรมนี้ทำให้ค้นพบการเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ ยิ่งมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ตอบโจทย์ให้กับผู้ปกครองได้อย่างดี ก่อนหน้าที่จะมาเรียนออนไลน์พ่อแม่บางคนแบกปัญหาไว้ทั้งโลก แต่เมื่อมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้ว ทำให้ปัญหาผ่อนคลาย รู้วิธีการแก้ไขได้ดีขึ้น การที่พ่อแม่มีประสบการณ์ในเชิงลบกับลูก ดุด่าว่ากล่าวลูกเพราะเห็นลูกไม่ได้ดั่งใจ ทำให้บรรยากาศภายในบ้านดูน่ากลัวไม่น่าอยู่ เราต้องมีความฉลาดในการควบคุมสติ ทำอย่างไรให้ลูกอยู่อย่างมีความสุขด้วย อย่าให้อยู่ในบรรยากาศท่ามกลางความแตกหัก สิ่งเหล่านี้มีเทคนิคในการสอน หมอจะช่วยตอบโจทย์ให้กับบรรดาคนที่เป็นพ่อแม่ในการพูดคุยกับลูกด้วย จากเดิมที่พูดคุยกันไม่รู้เรื่อง กลายเป็นการพูดคุยปรึกษาหารือกัน งานนี้อบรมฟรี ทั้งนี้ สสส. เป็นผู้สนับสนุนโครงการนี้

 

ห้องเรียนออนไลน์ (กรุ๊ปไลน์)

รูปแบบการเรียน : เรียนรู้ทักษะการสื่อสารผ่านห้องเรียนออนไลน์ (กรุ๊ปไลน์) จำนวน 9 วัน วันละ 1 ชั่วโมง (เรียน 19.00-20.00 น.)

คอร์สสำหรับผู้ปกครองที่ดูแลเด็กปฐมวัย (แรกเกิด-6 ปี) ออกแบบและพัฒนาโดยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว รศ.นพ.ศิริไชย หงส์สงวนศรี อาจารย์สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ที่ปรึกษาหลักสูตร

คอร์สสำหรับผู้ปกครองที่ดูแลเด็กประถม (7-12 ปี) ออกแบบและพัฒนาโดยสาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ที่ปรึกษาหลักสูตร รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หัวหน้าสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

คอร์สสำหรับผู้ปกครองที่ดูแลเด็กวัยรุ่น (13-18 ปี) ออกแบบและพัฒนาโดยมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว ที่ปรึกษาหลักสูตร พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ผู้สนใจสามารถติดตามรับชมและเข้าร่วมโครงการได้ที่เพจทูลมอโร (Toolmorrow)

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 50% ของผู้ปกครองที่ผ่านการอบรม พึงพอใจในความสัมพันธ์ของตนกับบุตรหลานเพิ่มขึ้นจากก่อนเข้ารับการอบรม

40% ของผู้ปกครองที่ผ่านการอบรม สามารถสื่อสารให้บุตรหลานมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้

65% ของผู้ปกครองที่ผ่านการอบรม สามารถพัฒนาการสื่อสารในครอบครัวของตนได้

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"