ประชาชนกว่า51%รับได้โจมตีผู้เห็นต่างทางการเมืองผ่านออนไลน์ชี้เป็นสิทธิและเสรีภาพ


เพิ่มเพื่อน    

 

6 ก.ย.2563 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสรีภาพในการโจมตีผู้เห็นต่าง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 3 กันยายน 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,326 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อต่อต้าน/โจมตี ผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง    การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อต่อต้าน/โจมตี ผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.58 ระบุว่า เป็นสิทธิและเสรีภาพที่กระทำได้ในระบอบประชาธิปไตย รองลงมา ร้อยละ 13.20 ระบุว่า เป็นการละเมิดสิทธิผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง ร้อยละ 12.14 ระบุว่า เป็นแค่การทำตามกระแส ร้อยละ 8.90 ระบุว่า ผู้ถูกต่อต้าน/โจมตีผ่านสื่อออนไลน์ ก็มีสิทธิตอบโต้กลับ ร้อยละ 8.37 ระบุว่า เป็นแค่กิจกรรมทางการเมืองทั่ว ๆ ไป อย่างหนึ่ง ไม่เสียหายอะไร และเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่สร้างความแตกแยกในสังคม ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 4.37 ระบุว่า เป็นการรณรงค์ที่มีกลุ่มการเมือง/พรรคการเมือง อยู่เบื้องหลัง ร้อยละ 4.15 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ร้อยละ 2.87 ระบุว่า เป็นกิจกรรมทางการเมืองที่บังคับให้คนในสังคมเลือกข้าง ร้อยละ 0.83 ระบุว่า เป็นการรณรงค์ที่มีหน่วยงานต่างประเทศ อยู่เบื้องหลัง และร้อยละ 10.71 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ ไม่สนใจ 

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อต่อต้าน/โจมตี ผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง พบว่า ร้อยละ 17.19 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่สามารถกระทำได้โดยการแสดงออกผ่านสื่อออนไลน์ที่หลากหลายช่องทาง ร้อยละ 17.65 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่างทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ และเป็นช่องทางที่แสดง ความคิดเห็นง่ายที่สุด ร้อยละ 20.36 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ เป็นการละเมิดสิทธิผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง ซึ่งทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการเเสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน ร้อยละ 37.18 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการเเสดง            ความคิดเห็นที่ต่างกัน ควรเคารพความคิดเห็น ไม่ควรโจมตีคนที่เห็นต่างทางการเมือง และร้อยละ 7.62 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

ส่วนความกลัวของประชาชนหากมีการแสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง แล้วจะถูกต่อต้าน/โจมตี ผ่านสื่อออนไลน์ พบว่า ร้อยละ 10.48 ระบุว่า กลัวมาก เพราะ ทุกเพศ ทุกวัยมีสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถรับรู้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ 20.67 ระบุว่า ค่อนข้างกลัว เพราะ เกรงว่าจะเกิดผลกระทบต่ออาชีพการงาน เรื่องส่วนตัว และครอบครัว ร้อยละ 17.35 ระบุว่า ไม่ค่อยกลัว เพราะ ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แต่อยู่ในกรอบของกฎหมาย ร้อยละ 46.30 ระบุว่า ไม่กลัวเลย เพราะ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่สามารถแสดงความคิดเห็นต่างทางการเมืองในพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และร้อยละ 5.20 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงผลกระทบต่อการตัดสินใจในการบริโภคของประชาชน จากกรณีที่มีการรณรงค์ผ่านสื่อออนไลน์เพื่อแบนสินค้า/บริการของผู้สนับสนุนหรือผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง พบว่า ร้อยละ 11.16 ระบุว่า มีผลกระทบมาก เพราะ มีผลทางด้านจิตใจกับผู้สนับสนุนหรือผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง ทำให้แบนสินค้านั้น ๆ ตามไปด้วย ร้อยละ 15.31 ระบุว่า ค่อนข้างมีผลกระทบ เพราะ ผู้สนับสนุนหรือผู้แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมืองไม่มีใจเป็นกลาง ทำให้ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้านั้น ๆ ด้วย ร้อยละ 12.90 ระบุว่า   ไม่ค่อยมีผลกระทบ เพราะ การบริโภคสินค้าจะดูจากสรรพคุณ คุณภาพ และคุณสมบัติมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ ร้อยละ 57.46 ระบุว่า ไม่มีผลกระทบเลย เพราะ ดูที่ตัวสินค้าเป็นหลักในการบริโภค และขึ้นอยู่กับความพึงพอใจหรือความชอบส่วนตัวมากกว่า พรีเซ็นเตอร์หรือยี่ห้อสินค้า และร้อยละ 3.17 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"