อดีตรองอธิการฯมธ.เตือน พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์แบบเบิ้มๆเสี่ยงนองเลือดซ้ำรอย 6 ตุลา!


เพิ่มเพื่อน    


14 ก.ย.63-รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Harirak Sutabutr ระบุว่า การประกาศไม่อนุญาตให้ใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อจัดชุมนุมทางการเมือง ในวันที่ 19 กันยายนนี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำเป็นต้องทำ ไม่ใช่เพราะใครบังคับ แต่เป็นเพราะไม่มีทางเลือกอื่นอีก

การที่แกนนำประกาศชัดว่าการชุมนุมในวันดังกล่าว เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งยังบอกด้วยว่าจะพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์แบบ “เบิ้มๆ”

ดังนั้นการพูดจาบจ้วง กล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน

หากมหาวิทยาลัยอนุญาต ก็เท่ากับเป็นผู้สนับสนุนให้มีการทำผิดกฎหมายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัย

เมื่อได้ทราบว่า มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์ ไม่อนุญาตให้จัดการชุมชุม แกนนำจึงได้แถลงข่าว ด้วยความไม่พอใจ และยืนยันจะเดินหน้าจัดการชุมนุมเช่นเดิม โดยอ้างเหตุผลว่า

1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ชื่อว่า ภายในมหาวิทยาลัยมีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว การไม่อนุญาตให้จัดการชุมนุมครั้งนี้เป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกของนักศึกษา
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นของประชาชน ไม่ใช่เป็นของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เป็นขี้ข้าเผด็จการ

เหตุผลข้อที่ 1 ไม่ว่าจะพูดกันกี่ครั้งก็ไม่ยอมฟังว่า เสรีภาพต้องอยู่ในขอบเขตของกฏหมายเสมอ

จากประสบการณ์ของผม ในฐานะที่เคยรับผิดชอบดูแลกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในยุคที่ประโยค “มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว” กำลังแพร่หลาย ผมต้องคอยตรวจตรา ดูแลไม่ให้นักศึกษา ซึ่งในสมัยนั้นนิยมเล่นหมากรุกจีน ที่เรียกว่า
” เลี๊ยบตุ่ย “ ใช้ หมากรุกจีนบังหน้า แต่แท้ที่จริงแล้ว เอาตัวหมากเลี๊ยบตุ่ยมาเล่นแทนไพ่กินเงินกัน ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

มหาวิทยาลัยจึงปล่อยให้นักศึกษาเล่นการพนันในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยไม่ได้
ฉันใดก็ฉันนั้น

เหตุผลข้อที่ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นของประชาชน ไม่ใช่ของผู้บริหารที่เป็นขี้ข้าเผด็จการ

ก็ต้องยอมรับว่า มหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องมีเงินสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งมาจากภาษีของประชาชน แต่มหาวิทยาลัย เป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ มีกฎข้อบังคับ และระเบียบต่างๆที่ใช้บังคับในการดำเนินงานต่างๆของมหาวิทยาลัย อธิการบดีและทีมงาน เป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ให้ทำหน้าที่บริหาร และกำกับดูแลมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับเหล่านั้น

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงมีอำนาจ และความชอบธรรม และจะต้องทำตามหน้าที่ที่ควรจะทำ หาใช่เป็นขี้ข้าหรือรับใช้ใครแต่อย่างใดไม่ เพียงแต่การทำหน้าที่ที่ควรจะทำของผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นการกระทำที่ไม่ถูกใจแกนนำการชุมนุมเท่านั้น

คำกล่าวหาข้างต้น จึงเป็นคำกล่าวหาที่ไร้เหตุผลและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง

นอกจากนี้ การใช้คำว่า “ประชาชน”มา
กล่าวอ้าง พึงทราบด้วยว่า ประชาชนไทย มีทั้งหมดกว่า 66 ล้านคน หากจะบอกว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นของประชาชน ก็จะต้องเป็นของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

แน่ใจได้อย่างไรว่าประชาชนทั้งประเทศ เห็นดีเห็นงามกับการกระทำของ “กลุ่มปลดแอก”ที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์

แน่นอนว่า การใช้วาจาจาบจ้วง ลบหลู่ และกล่าวหาสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างรุนแรง ของแกนนำในการชุมนุมแต่ละครั้งที่ผ่านมา ได้สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนที่ยังคงมีความจงรัก ภักดีและเห็นความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก และน่าจะเป็นส่วนใหญ่ของประเทศเสียด้วย

ดังนั้น ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ความแตกแยก ที่ร้าวลึก แบ่งฝ่าย ของสังคมไทยในอีกรูปแบบ ได้เกิดขึ้นแล้ว และกำลังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

การชุมนุมในวันที่ 19 กันยายน นี้ หากมีขึ้นจริง จึงมีความเสี่ยงไม่น้อยว่าจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นจนคุมไม่อยู่ โปรดอย่าได้อ้างว่า สามารถรับประกันความปลอดภัยของผู้ร่วมชุมนุมได้ 100 %

ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่การนองเลือด เช่นเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 จะเกิดขึ้นซ้ำรอยอีกครั้ง หากการชุมนุมมีความยืดเยื้อ ดังที่มีหลายคนเป็นห่วงกัน

ขณะนี้ก็เริ่มมีกลุ่มอื่นๆ ที่เขาไม่เห็นด้วย เคลื่อนไหวกันหลายกลุ่มแล้ว

ควรแล้วหรือ ที่จะให้ลูกหลาน ของประเทศ ออกไปรับความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น ในขณะที่สถานการณ์จริงยังไม่ได้สุกงอม ถึงขนาดจะต้องมีการ “พลิกฟ้า คว่ำแผ่นดิน” อย่างที่โฆษนากัน

ขอให้ไตร่ตรองกันให้ดี ก่อนตัดสินใจ

อย่าลืมคำว่า “เสียใจ” เป็นคำที่กล่าวที่เกิดขึ้นในเวลาที่สายเกินไปแล้วทุกครั้ง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"