สถาบันปรีดียืนยันไม่เอารัฐประหาร เตรียมตั้งคณะทำงานช่วยเหลือทางคดีกับผู้ชุมนุม


เพิ่มเพื่อน    

 

20 ก.ย. 2563 บทเรียนจากรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ครบรอบ 14 ปี และ ความเห็นต่ออนาคตประเทศไทยหลังการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย 5 จุดยืนต่อสถานการณ์วิกฤติการเมือง 8 บทเรียนจากรัฐประหารสองครั้ง

การยุติการชุมนุมเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงและการรัฐประหาร

กลุ่มผู้นำรัฐบาล กลุ่มผู้นำรัฐสภา ควรเปิดเวทีเจรจากับ แกนนำการชุมนุม หาก รัฐบาล ไม่สะดวกใจที่จะดำเนินการ ทาง สถาบันปรีดี พนมยงค์ ขออาสาเปิดเวทีเพื่อให้มีการปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกให้บ้านเมือง ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามไปมากกว่านี้    

ขอคัดค้านการรัฐประหารทุกรูปแบบและเราขอต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆอันเป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตยและกฎหมายอันชอบธรรม

ทางคณะกรรมการสถาบันจะจัดตั้ง “คณะทำงานเพื่อช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ร่วมชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย” และ จะออกแถลงการณ์เป็นระยะๆเพื่อมีส่วนในการช่วยทำให้สถานการณ์ไม่ถลำลึกสู่วิกฤตการณ์รุนแรง และ นำไปสู่การเจรจาหารือ สานเสวนาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศและประชาชนได้

ที่ สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 11.00 น. วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2563

นาย อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ และ อดีตกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การยุติการชุมนุมเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงและการรัฐประหาร เป็นการแสดงให้ความเห็นอย่างชัดเจนว่า แกนนำของ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ยึดมั่นในแนวทางสันติวิธีอย่างเคร่งครัด ไม่เคลื่อนไหวสุ่มเสี่ยง และต้องการให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยอย่างจริงใจ ลูกหลานของเราได้ต่อสู้เพื่อประเทศนี้ เพื่ออนาคตของพวกเขาเอง และ ต่อสู้ให้กับบรรดาผู้สูงวัยทั้งหลาย เราควรจะสำนึกในความเสียสละ กล้าหาญของเหล่าเยาวชนผู้ที่จะเติบโตเป็นหลักให้กับบ้านเมืองในอนาคต กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยอย่างมียุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ดีจะทำให้เส้นทางสู่ประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริงสงบสันติ มั่นคง ยั่งยืนและไม่ย้อนกลับไปสู่ระบอบอำนาจนิยมซ้ำแล้วซ้ำอีก

ผู้มีอำนาจรัฐก็ได้พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการปะทะและความรุนแรงซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี นับเป็นพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นของผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม ผู้มีอำนาจรัฐต้องตระหนักและแยกแยะให้ออกระหว่าง “ข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” “การล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์” หรือ “การล้มสถาบันกษัตริย์” ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน การยัดข้อหา “ล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์” และ “การล้มสถาบันกษัตริย์” เป็นสิ่งที่ต้องไม่กระทำเพราะจะทำให้เกิดความแตกแยกร้าวฉานในสังคมไทย นอกจากนี้ยังไม่เป็นผลดีต่อสถาบันหลักของชาติ รวมทั้งทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขอ่อนแอลง  

การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา บางประเทศประสบความสำเร็จ บางประเทศไม่ราบรื่น บางประเทศล้มเหลว สถานการณ์การชุมนุมที่เริ่มขึ้นในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563 ภายใต้คำขวัญ “ 19 กันยา ทวงคืนอำนาจราษฎร” จะเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อและจุดเปลี่ยนแปลงของอนาคตของประเทศไทย ทางสถานบันปรีดี พนมยงค์ได้เผยแพร่แถลงการณ์ฉบับที่ 1 ไปเมื่อวานนี้ เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนยึดมั่นแนวทางสันติวิธี ยอมรับความเห็นอันแตกต่างหลากหลาย เปิดโอกาสให้เสรีภาพและเจตจำนงอันแท้จริงของประชาชนได้ผลักดันให้เกิดการปฏิรูป ความเป็นธรรม ประชาธิปไตยและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ทางสถาบันปรีดี พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ จึงขอแถลงจุดยืนต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่จะเกิดขึ้น ดังนี้

1. ขอให้ทุกฝ่ายเคารพเจตจำนงและการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนที่เรียกร้องให้สถาปนาระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอันเป็นรากฐานสำคัญของสังคม



2. สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติเป็นสิทธิโดยชอบตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ในการให้หลักประกัน และคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ชุมนุม รวมถึงจะต้องหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า การกระทำอันเป็นการยั่วยุ หรือการใช้มาตรการรุนแรงในทุกรูปแบบ

3. สถาบันการศึกษาควรเป็นพื้นที่ปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก

4. ขอประณามการกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดที่ประสงค์จะใช้การยั่วยุหรือใช้ความรุนแรง และเรียกร้องทุกฝ่ายให้ร่วมกันต่อต้านการก่อรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจรัฐ ซึ่งจะมีผลเหนี่ยวรั้งสังคมไทยให้ถอยหลังลงอีก ไม่ว่าจะโดยการนําของฝ่ายใดก็ตาม

5. ขอให้ทุกฝ่ายพึงระลึกว่า ระบอบประชาธิปไตยจะมั่งคงอยู่ได้ต้องประกอบด้วยกฎหมายที่สนองตอบต่อเจตนารมณ์ของปวงชนชาวไทย พร้อมด้วยศีลธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต 

นาย อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ กล่าวอีกว่า ทางสถาบันปรีดี พนมยงค์ เชื่อว่าการแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบที่มิใช่วิถีทางแห่งประชาธิปไตยจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะร่วมกันหาทางออกอย่างสันติวิธี

ทั้งนี้ โดยผู้มีอำนาจจะต้องลดละการเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน และรับฟังเสียงเรียกร้องของประชาชน อันนับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการแก้ไขปัญหาในระบอบการเมืองที่เป็นอยู่ และ เราขอคัดค้านการรัฐประหารทุกรูปแบบและเราขอต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใดๆอันเป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตยและกฎหมายอันชอบธรรม ทางคณะกรรมการสถาบันจะจัดตั้ง “คณะทำงานเพื่อช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย” และ จะออกแถลงการณ์เป็นระยะๆเพื่อมีส่วนในการช่วยทำให้สถานการณ์ไม่ถลำลึกสู่วิกฤตการณ์รุนแรง และ นำไปสู่การเจรจาหารือ สานเสวนาเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับประเทศและประชาชนได้

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึง 14 ปีที่ผ่านมา มีการไล่ล่าผู้เห็นต่างด้วยวิธีการต่างๆทั้งอุ้มหาย ยัดข้อหายัดคดี ใช้เครื่องมือทางกฎหมายกลั่นแกล้งด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งยุบเลิกหน่วยงานหลายหน่วยงานที่ได้ปฏิบัติภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพียงแต่เห็นว่า หน่วยงานเหล่านั้น จัดตั้งขึ้นมาด้วยรัฐบาลฝ่ายตรงข้ามจัดตั้ง โดยไม่ใส่ใจว่าก่อให้เกิดต้นทุนและสร้างความเสียหายให้กับประเทศ 

บทเรียนที่เราได้รับจากการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เนื่องในโอกาสครบรอบ 14 ปีของการรัฐประหาร และ นำมาสู่การรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2557 มีมากมายและเราไม่ควรย้ำรอยความผิดผลาดและวิฤกติซ้ำซากอย่างในปัจจุบันและในอดีตอีก บทเรียนมีดังต่อไปนี้

บทเรียนข้อที่หนึ่ง ความเป็นเอกภาพและร่วมแรงร่วมใจของคนในชาติ เราจึงฝ่าวิกฤตการณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ วิกฤติทางการเมือง วิกฤติจากผลกระทบของโรคระบาด Covid-19 หรือ ปัญหาผลกระทบรุนแรงจากภัยธรรมชาติ จึงต้องเปิดให้มีการเจรจาหารือ สานเสวนาเพื่อหาทางออกร่วมกัน กลุ่มผู้นำรัฐบาล กลุ่มผู้นำรัฐสภา ควรเปิดเวทีเจรจากับ แกนนำการชุมนุม หาก รัฐบาล ไม่สะดวกใจที่จะดำเนินการ ทาง สถาบันปรีดี พนมยงค์ ขออาสาเปิดเวทีเพื่อให้มีการปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกให้บ้านเมือง ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามไปมากกว่านี้    

บทเรียนข้อที่สอง ความกล้าหาญและเสียสละของประชาชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้ การเสียสละของผู้นำและกลุ่มผู้นำสามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ และผู้นำต้องลาออกหากการลาออกทำให้สถานการณ์วิกฤตการณ์ดีขึ้น

บทเรียนข้อที่สาม การยึดถือหลักการประชาธิปไตย หลักความเป็นธรรม และใช้กลไกรัฐสภาหาทางออกให้ประเทศมีความสำคัญ ผู้มีอำนาจรัฐทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านจึงต้องเร่งรัดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนแล้ว ควรคืนอำนาจให้ประชาชนด้วยการจัดการเลือกตั้งใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ทำให้กระบวนการเข้าสู่อำนาจโปร่งใส ยุติธรรมและสะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง 

บทเรียนข้อที่สี่ ต้องลดเงื่อนไขหรือสภาวะเพื่อที่นำไปสู่ความขัดแย้งอันต้นทางของสงครามกลางเมือง และ ยึดในแนวทางสันติ ต้องไม่ให้เกิดความรุนแรงใดๆ หรือ มีผู้สูญเสียชีวิต เพราะหากเกิดสถานการณ์เช่นนั้นแล้วจะทำให้สถานการณ์มีความยุ่งยากลุกลามไปสู่ความรุนแรงเพิ่มขึ้นติดตามมา

บทเรียนข้อที่ห้า การมียุทธศาสตร์ กุศโลบาย กลยุทธที่ดีและมุ่งผลประโยชน์สาธารณะของผู้นำและกลุ่มชนชั้นนำจะทำให้ประเทศชาติมีทางออกที่ดีจากวิกฤตการณ์ต่างๆ บทบาทของชนชั้นนำ รัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ ตั้งใจและมุ่งมั่นจริงใจในการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขให้มั่นคงนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสันติสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของประชาชน

บทเรียนข้อที่หก ขบวนการความเคลื่อนไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นได้เมื่อ ประชาชนตระหนักถึงปัญหาร่วมกัน และ เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ และ ไม่มีใครเอาชนะพลังของประชาชนผู้มุ่งมั่นได้ การผนึกกำลังกันของฝ่ายประชาชนและฝ่ายค้านจึงมีความสำคัญมากต่อการเปลี่ยนแปลง

บทเรียนข้อที่เจ็ด รัฐประหารสองครั้ง (2549, 2557) การฉีกรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ วิกฤตการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ทำให้ประชาชนทุกฝ่ายเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมในรอบ 14 ปี จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก หากมีการก่อรัฐประหารขึ้นอีก การรัฐประหารครั้งนี้จะนำไปสู่เส้นทางหายนะของประเทศ และจะสร้างความแตกแยกมากยิ่งกว่า รัฐประหารสองครั้งก่อนหน้านี้ ผู้นำทหาร ผู้นำตุลาการ ผู้นำภาคธุรกิจ ต้องสนับสนุนประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข ต้องไม่สนับสนุนระบอบเผด็จการหรือระบอบสืบทอดอำนาจ หากผู้นำกองทัพ ผู้นำศาล ผู้นำภาคธุรกิจ ไม่สนับสนุนประชาธิปไตย ประชาธิปไตยไม่มีทางมั่นคงได้

บทเรียนข้อที่แปด ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ต้องมีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการวางรากฐานประชาธิปไตยให้มั่นคง ปฏิรูปรัฐธรรมนูญและทำให้กระบวนการสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญจะต้องประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ความยุติธรรม ประโยชน์ส่วนรวมและศีลธรรมจักบังเกิดขึ้นในสังคมไทยเมื่อประชาชนมีเสรีภาพอย่างแท้จริงโดยปราศจากความกลัวจากการคุกคามโดยอำนาจรัฐและการกลั่นแกล้งจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ ได้กล่าวอีกว่า “สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ยังคงมีความเสี่ยงที่จะถลำลึกสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงได้อยู่แม้นการชุมนุมในวันที่ 19 กันยายนจะจบลงโดยดีก็ตาม โครงสร้างอันไม่เป็นธรรมยังคงดำรงอยู่และเป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งต่อไป ผู้รักชาติ รักประชาธิปไตย รักสันติ จึงต้องสามารถเอาชนะต่อขบวนการต่อต้านประชาธิปไตยและกระหายความรุนแรงให้ได้ด้วยการรณรงค์ให้เกิดการปฏิรูปอย่างแท้จริงภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

จำเป็นต้องเอาชนะวาทะกรรม “ชังชาติ” และ “ล้มเจ้า” ที่ใส่ร้ายป้ายสีให้ได้ เอาชนะด้วยความอดทน หมั่นชี้แจงด้วยเหตุผล ด้วยข้อเท็จจริง นำไปสู่การตื่นรู้ของประชาชนส่วนใหญ่ นำไปสู่การอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายอย่างมีสันติสุข เสมอภาคเป็นธรรม และช่วยกันทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมี “กษัตริย์” เป็นประมุขมีความมั่นคงยั่งยืนต่อไป ไม่สร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่การซ้ำเติมความยากลำบากทางเศรษฐกิจของประชาชน หรือ แก้ไขปัญหานอกวิถีทางของกฎหมายและประชาธิปไตย

นาย อนุสรณ์ ธรรมใจ ประธานกรรมการบริหารสถาบันปรีดี พนมยงค์ และ อดีตกรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชื่นชมในการความกล้าหาญและเสียสละในการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้เป็นประชาธิปไตยและผลักดันการปฏิรูปประเทศ ผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรวมทั้งปกป้องผู้ถูกคุกคามจากความเห็นต่างในทางการเมืองของผู้ชุมนุมในวันที่ 19-20 กันยายน อย่างไรก็ตาม ขอฝากถึงบรรดาเยาวชนคนหนุ่มสาวผู้เป็นอนาคตของชาติว่าให้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ดีขึ้น เพื่อประชาธิปไตยและเพื่ออนาคตของทุกคน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง รัดกุม เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่ประสงค์ดีต่อระบอบประชาธิปไตย และ ผู้ที่จ้องหาโอกาสในการเข้าสู่อำนาจอันไม่เป็นไปตามวิถีทางแห่งกฎหมายและประชาธิปไตย อันหมายรวมถึงกลุ่มทหารที่จะฉวยโอกาสทำรัฐประหารด้วย

น้องๆนิสิตนักศึกษาต้องตระหนักและเตรียมรับมือกับการโต้กลับของเครือข่าย “ปฏิปักษ์ประชาธิปไตย” ด้วยความรู้เท่าทัน อดทน และ ยึดถือแนวทางสันติวิธีและหลักของเหตุผล ขณะเดียวกัน ท่านต้องไม่หลงอยู่ในห้วงวังวนของมหาสมุทรแห่งความหลอกลวงและความหวาดกลัว จงมีความหวัง เอาความจริงและความกล้าหาญทางจริยธรรมเข้าสู้ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสันติธรรมไม่ใช่การต่อสู้วันเดียว อาทิตย์เดียว เดือนเดียว หรือ ปีเดียวจบ มันเป็นสงครามยืดเยื้อที่เราต้องต่อสู้กับพวกเผด็จการและพวกกระหายความรุนแรงและการกดขี่ การต่อสู้อาจต้องใช้เวลาชั่วชีวิต อาจต้องสืบทอดให้ลูกหลาน อย่าหวาดกลัวในการแสดงจุดยืนและความเห็นที่ถูกต้องเพื่อพิทักษ์สันติธรรมและเสรีภาพ และ เราต้องยอมเข้าสู่ความยากลำบากที่จำเป็น แต่เป็นความยากลำบากที่พิสูจน์การกระทำอันยิ่งใหญ่ เป็นอมตะ เช่นเดียวกับวีรชนทั้งหลายที่ได้สละชีวิต เลือดเนื้อ ความสุขสบาย เกียรติยศชื่อเสียงและทรัพย์สมบัติ เพื่อให้ประเทศนี้เป็นประเทศของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ กล่าวอีกว่า ขอดวงวิญญาณแห่งบรรพชนประชาธิปไตย ตั้งแต่ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ร.ศ. 103 นำโดยพระองค์เจ้าปฤษฎางค์  สมัย รัชกาลที่ห้า ขบวนการทหารหนุ่มประชาธิปไตย ร.ศ. 130 นำโดย ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) สมาชิกคณะราษฎร 2475 นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ขบวนการประชาธิปไตย พ.ศ. 2492 นำโดยกลุ่มทหารเรือ วีรชนเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2519 วีรชนพฤษภา 35 และ พฤษภา 53 เป็นต้น ขอพลังแห่งความปรารถนาดีต่อประเทศชาติและความมุ่งมั่นเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของประชาชนช่วยปกป้องคุ้มครองให้ “ลูกหลาน” ของเรา เยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"