สป.ยธ.ชง'วิชา'ให้เสนอนายกฯเร่งนำร่างพรบ.ตำรวจฉบับ'มีชัย'และร่างพรบ.แก้ป.วิอาญาเข้าสภาแทนฉบับสตช.


เพิ่มเพื่อน    



24 ก.ย. 63 เมื่อช่วงค่ำวันพุธ สถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม  (สป.ยธ.)นำโดย พันตำรวจเอก วิรุตม์  ศิริสวัสดิบุตร  เลขาธิการสป.ยธ. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.วิชา  มหาคุณ  ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เรื่อง  “    ขอให้นำร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ อาญา ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรเป็นหลักในการเสนอต่อนายกรัฐมนตรี    เพื่อแก้ปัญหาและป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในระบบตำรวจและงานสอบสวน” พร้อมกับแนบ รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง  “การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นสอบสวน”  ของกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ส่งมาด้วย
 
โดยเนื้อหาในหนังสือดังกล่าวมีใจความดังนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ออกคำสั่งแต่งตั้งท่านเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบปัญหาการสอบสวนคดีนายวรยุทธ  อยู่วิทยา ที่รองอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งไม่ฟ้องเพื่อหาทางนำตัวผู้กระทำผิดมารับโทษตามกฎหมาย  พร้อมทั้งให้ศึกษาปัญหาระบบสอบสวนและการสั่งคดีของพนักงานอัยการเสนอแนวทางแก้ไขให้ดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในระบบตำรวจและงานสอบสวนนั้น

สถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) เห็นว่า ปัญหาสำคัญที่สุดเกิดจากงานสอบสวนความผิดอาญาแทบทั้งหมดได้ถูกผูกขาดโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่เพียงองค์กรเดียวทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาคด้วยอำนาจของรัฐบาลเผด็จการที่ออกข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยไว้ในปี พ.ศ.2506   ซ้ำยังขาดการตรวจสอบจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายปกครอง ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ แม้กระทั่งพนักงานอัยการระหว่างสอบสวนตามหลักสากลอย่างสิ้นเชิง เป็นช่องทางให้พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจของไทยซึ่งมีจุดอ่อนที่ระบบการปกครองแบบมีชั้นยศ และวินัยเช่นเดียวกับทหาร  สามารถถูกผู้บังคับบัญชาสั่งการโดยมิชอบ ที่มักกระทำด้วยวาจาให้สอบสวนเพื่อกลั่นแกล้ง แจ้งข้อหาต่อประชาชน เสนอให้อัยการสั่งฟ้อง  หรือจะล้มคดีเสนอให้สั่งไม่ฟ้องเพื่อช่วยผู้กระทำผิดกันอย่างไรก็ได้  ซึ่งตำรวจผู้เป็นพนักงานสอบสวนแทบทุกคนล้วนจำใจต้องกระทำตามคำสั่งที่มิชอบนั้นด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งนี้ เพื่อมิให้ถูกกลั่นแกล้งจากการถูกผู้บังคับบัญชาจับผิดลงโทษทางวินัยให้เสียอนาคต หรือแต่งตั้งโยกย้ายให้ได้รับความเดือดร้อนได้หลายรูปแบบ
ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน  ตามแนวทางที่สำคัญในระยะแรกดังนี้


1. แยกงานสอบสวนให้เป็นสายงานเฉพาะจากตำรวจฝ่ายป้องกันอาชญากรรมในลักษณะเดียวกับงานนิติวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความรู้ความชำนาญ และหลักประกันความเจริญก้าวหน้าในสายงานโดยการตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนและการเสนอสำนวนต่อพนักงานอัยการ  ให้กระทำโดยพนักงานสอบสวนอาวุโสผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้างานสอบสวนและหัวหน้าพนักงานสอบสวนสถานีและกองบังคับการเท่านั้น


2.การสั่งงานสอบสวนในส่วนที่เกี่ยวกับคดี  ต้องกำหนดให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง เช่นเดียวกับการปฏิบัติงานของพนักงานอัยการ


3. การสอบปากคำบุคคล ไม่ว่าจะในฐานะผู้กล่าวหา  ผู้ต้องหาหรือพยาน ต้องกำหนดให้บันทึกภาพและเสียงเป็นหลักฐานให้พนักงานอัยการและศาลเรียกตรวจสอบได้ทุกคดี


4. คดีฆาตกรรมหรือสงสัยว่าน่าจะเกิดจากการฆาตกรรม  พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้นายอำเภอ พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน และแพทย์ ร่วมตรวจสถานที่เกิดเหตุและรวบรวมพยานหลักฐาน ลงลายมือชื่อรับรองไว้พร้อมกัน


5.คดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีขึ้นไป หรือคดีที่มีผู้ร้องเรียนต่อพนักงานอัยการว่าการสอบสวนมิได้เป็นไปตามกฎหมาย หรือพนักงานสอบสวนไม่รับคำร้องทุกข์  ให้อัยการมีอำนาจเข้าตรวจสอบและสั่งการสอบสวนคดีนั้นได้


6.การออกหมายเรียกบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือเสนอศาลออกหมายจับ  ต้องได้รับความเห็นชอบจากพนักงานอัยการในการตรวจสอบพยานหลักฐาน    โดยอัยการจะเห็นชอบได้  ก็ต่อเมื่อมั่นใจว่า คดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ความผิดให้ศาลลงโทษจำเลยได้สอดคล้องกับหลักสากลเท่านั้น


7.กระจายอำนาจสอบสวนโดยกำหนดว่า  “กระทรวง กรมที่มีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายใด  ให้มีอำนาจสอบสวนความผิดนั้นด้วย  โดยไม่ตัดอำนาจของพนักงานสอบสวนที่ดำเนินการสอบสวนไปตามอำนาจหน้าที่ของตน”  เพื่อเป็นการกระจายอำนาจสอบสวนความผิดเฉพาะทางให้แต่ละหน่วยสามารถดำเนินคดีได้เอง


ประเด็นการแยกงานสอบสวนตามข้อ 1  สามารถกระทำได้โดยเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำร่าง พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติฉบับที่นายมีชัย  ฤชุพันธุ์ เป็นประธานและได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรีไว้  นำเข้าสู่สภาเพื่อตราเป็นกฎหมายบังคับใช้
ประเด็นตามข้อ 2-7สามารถกระทำได้ด้วยการเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิอาญา ของคณะกรรมาธิการกฎหมายฯ  ที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน  2563   และประธานรัฐสภาได้เสนอไว้  นำเข้าสู่การพิจารณาของสภาเพื่อแปรญัตติเพิ่มเติมในข้อ  2 ,3 ,4, 6 และ 7 เพื่อตราเป็นกฎหมายต่อไป

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"