27 กันยายน 'วันถวัลย์ ดัชนี' จัดยิ่งใหญ่ที่มหาวิหาร พิพิธภัณฑ์บ้านดำ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

     วันที่ 26 ก.ย. - สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย  กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ จังหวัดเชียงราย สมาคมขัวศิลปะ และพิพิธภัณฑ์บ้านดำ ขอเชิญร่วมงาน “วันถวัลย์ ดัชนี”  

ในวันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน 2563 ณ มหาวิหาร พิพิธภัณฑ์บ้านดำ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย  จะมีการแสดงนาฏกรรมล้านนาร่วมสมัย โดยนักแสดง

บ้านดำ ศิลปินกลุ่มเดอะไทยส์ จำนวน 2 ชุดการแสดง ได้แก่ “นาฎะสิระมาลีสักกา / Five Aggregates dance” และ “ฟ้อนมหิงสา”  การแสดงทั้ง 2 ชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจมากจากผลงานศิลปะของอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ ผู้ล่วงลับ   ผสานกับพิธีกรรมและความเชื่อเก่าแก่ของล้านนา 

      กิจกรรมในช่วงบ่ายจะเป็นการมอบรางวัล Thawan Art And Culture Prize ครั้งที่ 9 และยังมีการจัดแสดงกิจกรรมทางศิลปะและจำหน่ายสินค้าต่างๆ จากผู้ออกร้านจิตอาสา ตลอดจนการจัดงานกาดหมั้วคัวศิลป์ ตลาดนัดศิลปะที่เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจในงานศิลปะเข้าชมได้ตลอดทั้งวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป สำหรับพิพิธภัณฑ์บ้านดำ จ.เชียงราย ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มีชื่อเสียง แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และได้รับการประกาศเป็นบ้านศิลปินแห่งชาติ  

 

วันถวัลย์ ดัชนี จัดกิจกรรมมอบรางวัล Thawan Art And Culture Prize ครั้งที่ 9

 

     ย้อนประวัติ ถวัลย์ ดัชนี  เกิดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2482  เป็นจิตรกร ช่างเขียนรูป แห่งดอยสูงเชียงราย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2544  ด้วยชีวิตและผลงานศิลปะร่วมสมัยเป็นที่ประจักษ์ในระดับโลก ช่างเขียนรูปผู้ยิ่งใหญ่ทุ่มเทเวลาส่วนมากฟูมฟักศิลปสถาน ที่ชาวบ้านเรียกว่าบ้านดำ นางแล ที่จังหวัดเชียงรายบ้านเกิด ให้กลายเป็นสถานที่ทางการศึกษาศิลปวัฒนธรรมของชาติด้วยการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านในเนื้อที่กว่าร้อยไร่ ประกอบด้วยอาคารแบบสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคเหนือกว่า 40  หลัง และอาคารสถาปัตยกรรมท้องถิ่นประยุกต์หลายหลังสำหรับจัดแสดงศิลปะพื้นบ้าน (Folk Art) ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของช่างท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่นเหล่านี้ถวัลย์ ดัชนีใช้เวลารวบรวมด้วยความตั้งใจมาเป็นเวลานานกว่า 40  ปี ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์บ้านดำ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวัน (จันทร์-อาทิตย์) ไม่มีวันหยุด 

      ถวัลย์ ดัชนี อยู่เบื้องหลังการรวมตัวของช่างผู้รังสรรค์ศิลปะ ทั้งช่างในท้องถิ่นและภาคอื่นๆ ของประเทศไทย เพื่อเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมทางศิลปะอย่างเป็นรูปธรรม มีผลงานศิลปะหลากหลายออกสู่สายตาสาธารณชนซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก และยังได้บริจาคเงินจัดตั้งมูลนิธิถวัลย์ ดัชนี ตั้งแต่ พ.ศ.2539 ด้วยการใช้ดอกผลจากกองทุนนี้สนับสนุนการศึกษาของสถาบันที่ถวัลย์เคยเกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม โรงเรียนสามัคคีวิทยา จังหวัดเชียงราย วิทยาเขตเพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์สถาบันละ 10 ทุน ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทุนสนับสนุนสอนศิลปะไทย โดย ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ ทุนวิจัยแก่มูลนิธิ ม.ล.มานิจ ชุมสาย ณ อยุธยา ทุนมูลนิธิบ้านอาจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มูลนิธิพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฎเชียงราย บูรณปฏิสังขรณ์ วังพญาไทกรุงเทพฯ

 

 

        นอกจากนี้ ถวัลย์ ดัชนี ยังเป็นกรรมการตัดสินงานศิลปกรรมแห่งชาติ รางวัลจิตรกรรมบัวหลวง รางวัลศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย รางวัลพานาโซนิค ศิลปะร่วมสมัย  เป็นมาสเตอร์เอเชีย อบรมยุวศิลปินทั่วเอเชีย  เป็นอาจารย์ในพำนักสอนศิลปะ ปรัชญาทั้งในยุโรป อเมริกา เอเชีย ออสเตรเลีย และหลายมหาวิทยาลัย สถาบันศิลปะหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศให้ทุนวิจัยศิลปินในพำนักที่บ้านดำ นางแล แก่ศิลปินทั่วโลกโดยทุนส่วนตัว ทำนุบำรุงจิตรกร ปฏิมากร คีตกร นาฏกร ทั้งในและต่างประเทศมาตลอดเวลาของชีวิต เขียนบทนำ บทความแนะนำตัวผู้รังสรรค์ศิลปะมาโดยตลอด หลังจากอายุ 60  ปี ร่วมมือกับชาวสล่าเชียงรายทำงานเผยแพร่อนุรักษ์ วิจัยระบบนิเวศวิทยาเชิงศิลปะ และรวบรวมงานศิลปะทางมานุษยวิทยา พัฒนาไปสู่ความร่วมสมัยเป็นประธานและหัวหน้าคณะทำงานจิตวิญญาณตะวันออก ลมหายใจไทย ร่วมมือกับบุญชัย เบญจรงคกุล ดีแทค จัดประกวดงานศิลปะร่วมสมัยขึ้นเป็นปีแรก ใน พ.ศ. 2545  เขียนตำรากายวิภาคคน สัตว์ แมลง สัตว์เลื้อยคลาน และนก จัดพิมพ์โดยสหประชาชาติ ร่วมมือกับ มร.โคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ให้ทุนวิจัยดนตรี กวีและการละเล่นพื้นเมือง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ทุนแก่ยุวจิตรกรเชียงรายที่เขียนภาพผนังหลายวัดในจังหวัดเชียงราย ร่วมมือกับไร่แม่ฟ้าหลวง สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงราย จัดนิทรรศการหมุนเวียนมาตลอด  ให้ทุนสนับสนุนสมาคมศิษย์เก่าเพาะช่าง มหาวิทยาลัยศิลปากรมาโดยตลอด ก่อนวาระสุดท้ายของชีวิตยังคงถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะ และบริจาคผลงานประมูลเพื่อพัฒนาวงการศิลปกรรมไทย ถวัลย์ ดัชนี จากไปอย่างสงบ วันที่ 3 กันยายน 2557 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"