'หมอธีระ'เตือนไทยมีภาวะคุกคามหลายด้าน กังวลแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายพาโควิดเข้าประเทศ


เพิ่มเพื่อน    

1 ต.ค.63-  รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า สถานการณ์ทั่วโลกล่าสุด 1 ตุลาคม 2563...

ทะลุ 34 ล้านไปเรียบร้อยแล้ว...ตายเพิ่มอีกถึง 7,153 คน

เมื่อวานติดเพิ่มไปอีก 344,901 คน รวมแล้วตอนนี้ 34,111,114 คน ยอดตายรวม 1,017,401 คน

อเมริกา ติดเพิ่ม 46,576 คน รวม 7,441,113 คน

อินเดีย ติดเพิ่ม 86,748 คน รวม 6,310,267 คน

บราซิล ติดเพิ่ม 56,666 คน รวม 4,810,076 คน

รัสเซีย ติดเพิ่ม 8,481 คน รวม 1,176,286 คน เป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่องกันถึง 18 วันแล้ว

อันดับ 5-10 ตอนนี้เป็น โคลอมเบีย เปรู สเปน อาร์เจนตินา เม็กซิโก และแอฟริกาใต้ ติดกันหลักพันถึงหมื่นกว่าคนต่อวัน

หลายประเทศในยุโรป ทั้งฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ สวีเดน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลายพันอย่างต่อเนื่อง

ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเมียนมาร์ ติดเพิ่มกันหลักร้อยถึงหลายร้อย ส่วนจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย และออสเตรเลียติดเพิ่มกันหลักสิบ ในขณะที่ฮ่องกง และนิวซีแลนด์ก็ยังมีติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ

...สถานการณ์ในเมียนมาร์ยังรุนแรงต่อเนื่อง ติดเพิ่มไปอีกถึง 948 คน ตายเพิ่มอีก 26 คน ตอนนี้ยอดรวมถึง 13,373 คน ตายไปมากถึง 310 คน อัตราตายตอนนี้ไม่ดีขึ้น ยังคงเดิมคือ 2.3%

...ไทยเราตอนนี้มีภาวะคุกคามหลายด้าน ทั้งการนำเข้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะทยอยเข้ามา พร้อมกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ที่ประกาศไป หากดูภาพรวมก็คงเป็นการเปิดประเทศ...ความท้าทายคือ ระบบคัดกรองและกักตัวจะมีศักยภาพรองรับได้มากเพียงใด หากหลุดก็จะเกิดภาวะยุ่งยากตามมาระยะยาว

นอกจากนี้ยังมีคนต่างด้าวที่ลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย ยังไม่นับเรื่องการเห็นข่าวคราวที่น่ากังวล เช่น ครูต่างชาติเข้ามาทำงานทั้งๆ ที่ไม่มีใบอนุญาต บ่งชี้ว่าขั้นตอนการรับเข้ามาในประเทศผ่านการประกาศรับตั้งแต่ช่วงกรกฎาคมเป็นต้นมานั้น มิได้เอาเรื่องนี้มาใช้พิจารณาใช่หรือไม่? หากเป็นเช่นนั้น ก็คงต้องมีคำถามว่า การประกาศกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ไปนั้น แขวนอยู่บนระบบคัดกรองกักตัวที่มีอยู่เท่านั้น มิได้จำกัดจำนวนตามความจำเป็น จะนำความเสี่ยงต่อการระบาดซ้ำมาในอนาคตหรือเปล่า?

ในขณะที่การระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน จังหวัดของไทยตามชายแดน บุคลากรทำงานกันอย่างหนัก โดยมีข่าวคราวเรื่องความต้องการอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ และมีการระดมกันจากภาคประชาชนเพื่อบริจาคช่วยเหลือ ก็ถือว่าเป็นความท้าทายความสามารถของระบบสาธารณสุขว่า ทรัพยากรที่ประกาศว่ามีเพียงพอนั้น จะเพียงพอจริงหรือไม่ กระจายไปถึงอย่างถูกที่ถูกเวลาหรือไม่ และจะยืนระยะได้นานเพียงใด? เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์...

ปลายปีนี้ ไม่ว่าจะวิเคราะห์มุมใด ก็น่าหนักใจครับ

ส่วนตัวแล้ว คงจะทำสิ่งต่างๆ ดังนี้

หนึ่ง เตรียมของ: อุปกรณ์ป้องกันให้เพียงพอ ทั้งหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ 60-85%

สอง เตรียมงาน: วางแผนจัดการงานต่างๆ เดินทางเท่าที่จำเป็นจริงๆ วันไหนทำงานจากบ้านได้ก็จะดี งานที่ต้องทำเป็นทีมด้วยกันก็แบ่งทีมเผื่อไว้สับเปลี่ยนกัน ธุระสำคัญใดที่จัดการได้ก็รีบจัดการให้เรียบร้อยในช่วงตุลาคมถึงกลางพฤศจิกายน

สาม เตรียมตัว: ตัดผม ทำฟัน หาหมอ ขอยาที่จำเป็นต้องกินต่อเนื่องเก็บไว้เผื่อนานกว่านัดปกติ เช่น 6 เดือน และติดตามความรู้และข่าวสถานการณ์ให้ทันสมัยและบอกเล่าเก้าสิบให้แก่สมาชิกในครอบครัว

สี่ เตรียมใจ: รู้อย่างเท่าทัน ตระหนักแต่ไม่ต้องตื่นกลัว หากเราเตรียมตัวเตรียมของเตรียมงานพร้อม มีปัญญาที่พร้อมด้วยความรู้ในการปฏิบัติตัว และมีใจที่นิ่งพร้อมสู้ศึกสงครามที่อาจเกิดขึ้นได้...เราจะอยู่รอดไปด้วยกัน

สังคมนั้นประกอบด้วยคนจำนวนมาก หลากหลายความคิดความเชื่อ มีทั้งที่ป้องกันตัวและที่ทำอิลุ่ยฉุยแฉกไม่สนใจใคร แต่สุดท้ายแล้วคนป้องกันตัวก็มีโอกาสรอดจาก COVID-19 มากกว่า

โรคนี้ติดง่าย ตายได้ ยังไม่มียารักษามาตรฐาน และไม่มีวัคซีนป้องกัน

ยามนี้...พึ่งใครไม่ได้ นอกจากตัวเราเอง ขอให้รักตัวเอง รักครอบครัว ป้องกันตัวเสมอครับ

ด้วยรักต่อทุกคน.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"