ก.พลังงานเตรียมรับมือเชฟรอนฯยื่นอนุญาโตตุลาการ


เพิ่มเพื่อน    

 

5 ต.ค.2563 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงกรณีที่ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการเนื่องจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) ให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรื้อถอนแท่นผลิตปิโตรเลียมหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแหล่งเอราวัณ ภายในเดือนเม.ย. 2565 ว่าขณะนี้กระทรวงพลังงานได้เตรียมขั้นตอนต่าง ๆ ไว้เพื่อสู้คดีแล้วซึ่งรายละเอียดไม่สามารถเปิดเผยได้เพราะเป็นเรื่องประเด็นทางกฏหมาย โดยมั่นใจว่าจะมีแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ในที่สุด ซึ่งเรื่องของความมั่นคงด้านพลังงานนั้นหากเกิดผลกระทบกับการผลิตที่ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ก็มั่นใจว่าจะไม่กระทบกับความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงเพราะบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ได้เตรียมพร้อมสถานีรับ-ส่งก๊าซธรรมชาติเหลว เพื่อนำเข้าไว้อยู่แล้ว

"เรื่องนี้ได้เข้าสู่ขั้นตอนอนุญาโตตุลาการ การให้ข้อมูลจึงต้องระมัดระวัง กระทรวงพลังงานก็ได้เตรียมแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้หมดแล้ว โดยมอบหมายให้นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานในฐานะประธานคณะกรรมการปิโตรเลียม ไปเร่งดำเนินการ"นายสุพัฒนพงษ์กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าขณะนี้ปลัดกระทรวงพลังงานได้ตั้งคณะทำงาน ทีมกฏหมายทั้งในและต่างประเทศ และทีมอนุญาโตตุลาการฝ่ายไทยไว้สู้คดีดังกล่าวพร้อมแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้ซึ่งยังคาดหวังว่าจะสามารถเจรจากันได้

ขณะที่เรื่องดังกล่าวเริ่มจากการที่สัญญาสัมปทานของแหล่งก๊าซเอราวัณที่เชฟรอนฯได้รับสัปทานจะสิ้นสุดเม.ย. 2565 รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานจึงได้เปิดการประมูลขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณ(แปลง G1/61)สัญญาแบ่งปันผลผลิต(PSC ) ซึ่งเชฟรอนพ่ายแพ้การประมูลให้กับกลุ่มบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.สผ.)ส่งผลให้ตามกฏหมายการเปลี่ยนผ่านต้องมีการรื้อถอนแท่นปิโตรเลียมโดยที่ผ่านมากรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและเชฟรอนฯได้หารือเพื่อตกลงการส่งมอบแท่นเพื่อให้กลุ่มปตท.สผ.เข้ามาใช้ในการผลิตต่อจำนวน 142 แท่น ส่วนอีก 49 แท่นทางเชฟรอนรับภาระรื้อถอนเองทั้งหมดโดย 7 แท่นในจำนวนนี้ได้รื้อถอนไปทำปะการังเทียมแล้ว  

อย่างไรก็ตามปัญหาที่เชฟรอนฯยื่นร้องต่ออนุญาโตตุลาการเป็นประเด็นใน 142 แท่นเพราะไม่สามารถตกลงกับกระทรวงพลังงานได้ว่าจะต้องวางเงินค่ารื้อถอนในสัดส่วนเท่าใดเพราะเชฟรอนมองว่า แม้ใช้ประโยชน์มานาน 40 ปีแต่ปตท.สผ.เข้ามาใช้ประโยชน์ต่ออีก 10-20 ปีดังนั้นสัดส่วนการจ่ายก็ควรจะน้อยลง แต่รัฐกลับให้จ่ายก่อนและจ่ายเต็ม โดยคิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายสูงถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว  48,000 ล้านบาท  

นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)หรือปตท.สผ.  กล่าวว่าการยื่นอนุญาโตตุลาการเป็นการตั้งคณะขึ้นมาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่าง 2 ฝ่าย ไม่ใช่เป็นการฟ้องร้อง   โดยมั่นใจว่าจะสามารถผลิตก๊าซฯในแหล่งเอราวัณหลังรับโอนจากเชฟรอนฯได้ตามที่รัฐกำหนดไว้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตั้งแต่เดือนเม.ย. 2565 เป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้ปตท.สผ.ได้เข้าพื้นที่เพื่อทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)แล้ว และเตรียมเจรจากับเชฟรอนฯเพื่อขออนุญาตนำแท่นผลิตปิโตรเลียมในเฟสแรกจำนวน 8 แท่น มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐไปติดตั้งในพื้นที่ก่อนภายในกลางปี 2564 เพื่อให้สามารถผลิตก๊าซฯได้ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหลังรับโอนแหล่งเอราวัณที่จะสิ้นสุดสัญญาในปี2565

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ปตท.สผ.ยังไม่ได้ลงนามสัญญาข้อตกลงการเข้าพื้นที่ ระยะที่ 2 กับทางเชฟรอนฯ เพราะอยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งมีสัญญาณที่ดีและมีการพูดคุยบ่อยขึ้น และใกล้ชิดกันมากขึ้น คาดว่าจะน่าจะลงนามสัญญากันได้ในเร็วๆนี้  โดยข้อตกลงการเข้าพื้นที่ ระยะที่2  ประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ 2ส่วน คือ 1.กิจกรรมที่ทำในทะเลเปิด ได้แก่ การติดตั้งแท่นหลุมผลิตใหม่ การวางท่อ การเจาะหลุมผลิตบนแท่นที่ติดตั้งใหม่ การวางท่อในพื้นที่เปิด และ2.กิจกรรมที่กระทบกับการผลิตปัจจุบัน ได้แก่ การวางท่อข้ามท่อปัจจุบัน การเชื่อมต่อท่อเข้ากับแท่นหลุมผลิตปัจจุบัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"