'วิษณุ' โยน กกต.ตัดสินเลือกตั้งท้องถิ่นควบลงประชามติแก้ รธน. เพื่อประหยัดงบ


เพิ่มเพื่อน    

8 ต.ค.63 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการ รัฐสภาระบุว่าหากมีการแก้รัฐธรรมนูญ และต้องทำประชามติ ซึ่งมีความสำคัญกว่าอาจทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นเลื่อนออกไปนั้นว่า อย่างแรกต้องตัดสินใจก่อนว่า หากแก้แล้วรัฐธรรมนูญจะต้องทำประชามติกี่ครั้ง หากจะทำประชามติเพื่อถามกรอบของการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนที่จะลงมือแก้ไขส่วนนี้อาจจะไม่ยุ่งยากเท่าไหร่ แต่ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ตามมาตรา 256 ระบุว่าเมื่อรัฐสภาได้แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จ ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องนำไปให้ประชาชนลงประชามติส่วนนี้เป็นภาคบังคับ ซึ่งคงจะไปทำซ้ำซ้อนกับอย่างอื่นไม่ได้

ทั้งนี้จะต้องไปดูกันเองว่าจะทำให้เกิดความสับสนหรือไม่ โดยการทำประชามติจะต้องออกเสียงเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยประชามติ ซึ่งขนาดนี้ยังไม่เข้าสู่สภาฯ

ผู้สื่อข่าวถามว่า สามารถทำประชามติพร้อมกับเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อให้ประหยัดงบประมาณได้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่ามีความเป็นไปได้แต่ต้องถามคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตนมองเห็นปัญหาเหมือนกันแต่ก็ต้องให้กกต.เป็นคนยกขึ้นมา

นายวิษณุ กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา เลขาธิการกกต. ได้เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งนายกฯ ก็ไม่มีข้อสั่งการอะไรพิเศษ โดยองค์ประกอบของการเลือกตั้งท้องถิ่น มี 5 อย่างคือ 1.บุคลากรในการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งกกต.ยืนยันว่ามีความพร้อม 2.งบประมาณ ซึ่งทางสำนักงบประมาณต่างๆก็ยืนยันว่ามีความพร้อม 3.ระเบียบความพร้อม กตต.แจ้งว่าพร้อมแล้ว อยู่ระหว่างการทยอยประกาศระเบียบใช้ 4.การแบ่งเขต ขณะนี้พร้อมเป็นส่วนใหญ่ เหลือเพียงเทศบาลอีกไม่กี่แห่ง และ 5.ผู้สมัครลงเลือกตั้งท้องถิ่น ในส่วนนี้อยากเรียนว่าเมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะมีการเลือกสมาชิกสภาอบจ. และผู้บริหารอบจ. ซึ่งก็ยังไม่ระบุว่าเป็นวันไหน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาการ ที่มีนายกอบจ.รักษาการอยู่ 76 แห่ง เมื่อกกต.จะประกาศมีการเลือกตั้งเมื่อใด ในวันที่กกต.ประกาศให้ทราบนั้น นายกอบจ.ที่ทำหน้าที่รักษาการแทนอยู่ก็จะพ้นจากตำแหน่งทันที

จากนั้นจะมีปลัดอบจ.ทำหน้าที่แทน ส่วนเมื่อพ้นจากตำแหน่งแล้ว จะลงสมัครเลือกตั้งอีกหรือไม่ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล นอกจากนี้ในการเลือกตั้งอบจ.ที่จะถึงนี้ การที่ประชาชนไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง จะมีผลเป็นการเสียสิทธิบางอย่างเราอาจจะเคยทราบเมื่อการเลือกตั้ง แต่ต้องเข้าใจว่าการเลือกตั้งในระดับอบจ.ก็มีการเสียสิทธิ์ด้วย เช่นจะลงสมัครรับเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน

"ดังนั้นเมื่อมีการเรียกร้องให้จัดเลือกตั้งก็ต้องออกไปใช้สิทธิ์ ทั้งนี้ขอย้ำ การเลือกตั้งท้องถิ่น กกต.จะออกเป็นประกาศ ไม่ใช่การออกพระราชกฤษฎีกา"รองนายกฯระบุ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"