ชุมชนแห่งน้ำพระราชหฤทัย 'หมู่บ้านคชานุรักษ์' ช่วยทั้งคนช่วยทั้งช้าง


เพิ่มเพื่อน    

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาทรงเปิดป้ายศูนย์ปฏิบัติการคชานุรักษ์ ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา เขาวง จ.ระยอง

​ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชบายว่า “ช้างเป็นสัตว์คู่กับประเทศไทยเป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็นมงคล ต้องดูแลรักษา และปฎิบัติให้ช้างป่าอยู่กับชุมชนอยู่กับคนได้อย่างราบรื่นและปลอดภัยทั้งคนและช้าง” ด้วยพระบรมราโชบายนี้ได้นำมาสู่แนวทางการพัฒนาเพื่อให้คนและช้างอยู่กันอย่างสมดุลผ่าน “โครงการพัชรสุธาคนุชานุรักษ์” อันเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ทรงเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นประธานคณะกรรมการโครงการฯ

​ปัญหาระหว่างคนและช้างป่าในบริเวณป่ารอยต่อ5 จังหวัดในภาคตะวันออกได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนจากการที่ช้างลงมาหากินและทำลายพืชผลทางการเกษตร และเมื่อชาวบ้านใช้วิธีขับไล่ช้างผิดวิธียิ่งทำให้ช้างเกิดความดุร้ายมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องหันมาใส่ใจชุมชนให้ความรู้ที่ถูกต้องในการขับไล่ช้าง รวมทั้งศึกษานิสัยพฤติกรรมของช้าง 

​พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทรงเปี่ยมไปด้วยพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะทรงแก้ปัญหาต่างๆ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในฐานะองค์ประธานกรรมการในการแก้ไขปัญหาระหว่างคนและช้างป่าให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล จึงได้น้อมนำแนวพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่า โดยเสด็จฯแทนพระองค์ไปยังอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยองในการพระราชทานกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าอัตโนมัติ (Real Time Camera Trap) จำนวน 12 ชุด ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันออก และมีการขยายผลติดตั้งกล้องเพิ่มอีก 36 จุดในพื้นที่ 4 จังหวัด

กล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าอัตโนมัติพระราชทาน

โดยการทำงานของกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าอัตโนมัติ (Real Time Camera Trap) เป็นระบบที่ประยุกต์ขึ้นมาเพื่อนำมาใช้แจ้งเตือนการเคลื่อนที่ของช้างป่า  เมื่อช้างป่ามีความเคลื่อนไหวผ่านหน้ากล้อง ระบบตรวจจับภายในอุปกรณ์จะทำงานและกล้องจะทำการถ่ายภาพ โดยกลางวันเป็นระบบปกติ ส่วนกลางคืนเป็นระบบ Infrared ซึ่งช่วยไม่ให้ช้างป่าตื่นตกใจ และภาพจะถูกส่งผ่านSIM โทรศัพท์ที่ติดตั้งไว้ภายในตัวกล้อง เข้ามายังแม่ข่าย มีสัญญาณเตือนให้เจ้าหน้าที่ทราบว่ามีภาพใหม่เข้ามาในระบบ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการคัดเลือกภาพช้างป่าและประเมินสถานการณ์แล้วส่งภาพต่อไปยังไลน์กลุ่มซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้แทนชุดอาสาสมัครหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อทราบและดำเนินการตามแต่กรณีที่ปรากฏในภาพ และมีการเก็บข้อมูลเชิงสถิติของพฤติกรรมของช้างรวมถึงเวลาการออกมาหากินของช้างว่าออกมาในช่วงเวลาใดมากที่สุดเพื่อแจ้งเตือนให้ชาวบ้านหลีกเหลี่ยงการออกมาประกอบอาชีพในห้วงเวลานั้นอันเป็นการลดการสูญเสียและความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง

​อีกหนึ่งหัวใจสำคัญของโครงการ “พัชรสุธาคชานุรักษ์” คือการช่วยทั้งคนช่วยทั้งช้าง มีการสนับสนุนสร้างองค์ความรู้การอยู่รวมกันอย่างสมดุลระหว่างคนและช้าง  โดยเฉพาะการทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีอาชีพที่เหมาะสม มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างยั่งยืน จึงได้มีการจัดตั้ง  “หมู่บ้านคชานุรักษ์” เพื่อให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเดินออกนอกเส้นทางของช้างป่ามาทำลายพืชผลทางการเกษตร ได้เสริมสร้างความเข้าใจในพฤติกรรมของช้างให้แก่ราษฎรในหมู่บ้าน รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การประกอบอาชีพ และจัดตั้ง “กองทุนคชานุรักษ์” เพื่อให้ชุมชนมีกองทุนสำรอง และแต่ละชุมชนสามารถวางแผน เพื่อบริหารจัดการกองทุนได้ด้วยตนเอง รวมทั้งสามารถทำกิจกรรมเพื่อหารายได้เข้ากองทุน อันเป็นการบริหารจัดการชุมชนเพื่อให้คนกับช้างอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและปลอดภัย ตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาระหว่างคนและช้างอย่างยั่งยืน โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดาในฐานะองค์ประธานกรรมการโครงการฯ  เสด็จแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานป้ายชื่อ “หมู่บ้านคชานุรักษ์” และพระราชทานเงินจัดตั้ง “กองทุนคชานุรักษ์” ให้แก่ตัวแทนชุมชน ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2562 ณ อุทยานแห่งชาติ เขาชะเมา-เขาวง อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง 

ชาวบ้านได้ปรับเปลี่ยนอาชีพจากกาปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาปลูกผักปลอดสารพิษ และปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อนำไปขายและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อวางจำหน่ายในหมู่บ้าน

ปัจจุบันมีหมู่บ้านคชานุรักษ์ ทั้งหมด5หมู่บ้านด้วยกันประกอบด้วย หมู่14บ้านคลองมะหาด ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา  หมู่4 บ้านเขาใหญ่ ตำบลพวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี  หมู่7 บ้านเขาจันทร์ ตำบลห้วยทับมอญ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง   หมู่ 3 บ้านเนินจำปา ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี  และหมู่28 บ้านสระหลวง ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว 

เพราะขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในวิธีการขับไล่ช้าง จึงทำให้ช้างเกิดความตกใจเมื่อถูกขับไล่ระหว่างลงมาหาพืชผลที่ชาวบ้านเพาะปลูกได้รับความเสียหาย ซ้ำร้ายความตกใจนั้นยังทำให้ช้างเกิดความดุร้ายและทำร้ายผู้คนอันนำซึ่งความสูญเสียที่อยากจะหวนกลับมาได้

​ครั้นเมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านคชานุรักษ์ต้นแบบทั้ง5 หมู่บ้านขึ้นมา ภาพปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างลดลงไปจากเมื่อก่อน เพราะคนได้เรียนรู้วิธีการขับไล่อย่างถูกวิธี มีการเฝ้าระวังเตือนภัยจากช้างป่าอย่างถูกต้อง ขณะเดียวกันในภาคครัวเรือนก็มีการส่งเสริมอาชีพให้ชาวบ้านปลูกพืชผักสวนครัวหรือการเกษตรแบบผสมผสานควบคู่ไปกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว นับเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน

ชาวบ้านได้ปรับเปลี่ยนอาชีพจากกาปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาปลูกผักปลอดสารพิษ และปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อนำไปขายและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อวางจำหน่ายในหมู่บ้าน

​สมชาย รถทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 บ้านเนินจำปา ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เล่าให้ฟังถึงสภาพปัญหาระหว่างคนกับช้างป่าว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นปีที่ช้างป่าลงจากป่ามาหากินแถวบริเวณชายป่าทำลายพืชผลของชาวบ้านได้รับความเสียหายอย่างหนัก และด้วยการไม่รู้วิธีการไล่ช้างๆชาวบ้านจึงมีการไล่ช้างแบบผิดๆเลยส่งผลให้ช้างตกใจและทำร้ายประชาชน และปัญหาสำคัญอีกอย่างของชาวบ้านเมื่อถูกช้างทำลายพืชผลอันเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของครอบครัวอย่างต้นยางพารา สับปะรด มะละกอ ไปแล้วชาวบ้านก็จะไม่มีพืชผลทางการเกษตรขาย แต่เมื่อได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านคชานุรักษ์ ขึ้นมาได้มีเจ้าหน้าที่มาแนะนำวิธีการขับไล่ช้างอย่างถูกต้อง รวมทั้งได้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน แทนการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวอย่างที่เคยทำกันมาก็สามารถลดปัญหาระหว่างคนและช้างป่าลงไปได้บ้าง

​“ตอนนี้หมู่บ้านเรามีชุดอาสาสมัครป้องกันเฝ้าระวังช้างป่า ที่ผ่านการเรียนรู้แนวทางการป้องกันภัยและป้องกันภัยจากช้างป่าอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชมาให้ความรู้กับชุดอาสาสมัครป้องกันภัยของหมู่บ้าน และในส่วนของการพัฒนาชุมชน ได้มีเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาชุมชนมาให้ความรู้ในเรื่องของการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ควบคู่ไปกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ชาวบ้านปลูกผักที่มีกลิ่นฉุนที่ช้างป่าไม่ชอบอย่างต้นชะอมไว้เป็นรั้วคอยป้องกันช้าง และในส่วนแปลงสวนด้านในที่เราปลูกขนุน และมะละกอ นั้นก็จะมีการปลูกพืชผักสวนครัวที่ช้างไม่ชอบอย่างข่า ตะไคร้ มะนาว มะกรูด แซมลงไป ซึ่งพืชผักสวนครัวเหล่านี้นอกจากจะเป็นรั้วกันชนช้างไม่ให้เข้ามายุ่งกับพืชผลเศรษฐกิจหลักแล้ว เรายังสามารถนำชะอม ขิ่งข่า ตะไคร้ พืชผักสวนครัวที่เราปลูกไว้ใช้ทำกินในครัวเรือน และเหลือจากการทำกินก็เก็บนำไปพัฒนาเป็นเครื่องทำพริกแกงไปขายในหมู่บ้านสร้างรายได้ให้กับราษฎรอีกทางหนึ่ง” ผู้ใหญ่สมชายขยายความด้วยน้ำเสียงสดใส 

ระบบการส่งน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรของชาวบ้าน

​เช่นเดียวกับชุมชนบ้านคลองมะหาดหมู่14 ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ หนึ่งในหมู่บ้านคชานุรักษ์ นางสาวสมจิต สาธุชาติ กำนัน ต.ท่าตะเกียบ อ.ท่าตะเกียบ จ.ฉะเชิงเทรา เล่าปัญหาความเดือดร้อนจากช้างป่าให้ฟังว่า มักประสบปัญหาความเดือดร้อนจากช้างป่าในช่วงเดือน ตุลาคม-ธันวาคม และทวีความรุนแรงมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นช่วงที่ข้าวเริ่มสุก และส่งกลิ่นหอมยั่วยวนให้ช้างป่าลงมาหาอาหารกินสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรอย่างหนัก ในช่วงหลังช้างไม่เพียงแต่ทำลายพืชผลทางการเกษตรหากแต่ยังหันมาทำลายทรัพย์สินภายในบ้านให้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่เมื่อมี “หมู่บ้านคชานุรักษ์” ตลอดระยะเวลา1ปีที่ผ่านมาชาวบ้านได้เรียนรู้ปรับเปลี่ยนอาชีพให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวอย่างงดงาม 

“ก่อนหน้านี้เราได้พยายามที่จะปรับเปลี่ยนอาชีพภายในชุมชนมาก่อนบ้างแล้ว แต่ยังไม่เป็นผลเพราะเราไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง กระทั่งมีมีการจัดตั้งหมู่บ้านคชานุรักษ์ ขึ้นมา เกษตรกรได้เรียนรู้วีวิธีการปรับเปลี่ยนอาชีพ มีการส่งเสริมทำปศุสัตว์ อาทิ การเลี้ยงกระบือ โค สุกร และไก่พื้นเมืองมีการพัฒนาพื้นที่ปลูกม่อน100 ไร่ ส่งขายให้หมู่บ้านข้างเคียงที่เลี้ยงไหมทอผ้า เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงวัวท่าตะเกียบ” 

​นอกจากนี้ชุมชนคลองมะหาดยังได้เรียนรู้พฤติกรรมของช้างพร้อมสร้างความเข้าใจถ่ายทอดพฤติกรรมของช้างแก่คนในชุมชนและเยาวชน ทั้งยังมีการตั้งชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังช้างป่า รวม 200 คน ซึ่งเรียนรู้แนวทางป้องกันภัยและการแจ้งเตือนภัยช้างป่าจากเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯเพื่อเตือนภัยและป้องกันภัยช้างป่าอย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงการพัฒนาชุมชนแบบพึ่งตนเอง ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการขุดลอกร่องน้ำข้างถนนเส้นล่างบนเนินน้อย และปรับปรุงระบบสูบน้ำด้วยแสงอาทิตย์ปรับปรุงโครงสร้างแหล่งน้ำเดิมและเสริมแหล่งน้ำเดิมและเสริมโครงสร้างการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ และพัฒนาแปลงปลูกป่าถาวร เพื่อปรับให้เป็นพื้นที่กันชนช้างได้มาพักอาศัยจะได้ ไม่รบกวยชุมชน เป็นการกำหนดให้ช้างป่าเดินทางกลับเข้าเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนในอนาคต 

ผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำผึ้ง จากหมู่บ้านคชานุรักษ์ จ.ฉะเชิงเทรา

​ขณะเดียวกันชุมชนคลองมะหาด ยังมีเกษตรกรต้นแบบในการใช้รั้วรังผึ้งป้องกันช้างป่า โดยการสนับสนุนองค์ความรู้จากสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืช เพื่อสร้างอาชีพทางเลือกให้แก่เกษตรกร โดยได้เริ่มต้นจากการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาของชาวแซมบุรู ประเทศเคนยา ที่พบว่าช้างป่ามักจะเดินหนีรังผึงหรือพื้นที่ที่มีผึ้งอาศัยอยู่ และผลพลอยได้ของราษฎรจากการทำรั้วรังผึ้งคือสามารถนำน้ำผึ้งไปจำหน่าย ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้ทั้งจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและการจำหน่ายน้ำผึ้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำผึ้งได้อีกด้วย

ผ่านมาแล้ว 1 ปีวันนี้ผลิตผลแห่งน้ำพระราชหฤทัยของได้ผลิดอกออกผลอย่างภาคภูมิใจ คนและช้างป่าใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล บนความพอเพียงอย่างยั่งยืน อันเป็นหัวใจหลักของโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ ที่มีความพยายามจะแก้ปัญหาที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากช้างป่า ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนแบบบูรณาการ เพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกับช้างป่าได้อย่างสมดุล มีอาชีพที่พึ่งตนเองได้และปลอดภัยมากขึ้น ส่วนช้างป่าก็สามารรถกลับคืนสู่ป่าตามธรรมชาติได้ และมีแหล่งน้ำและอาหารที่เพียงพอ.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"