มหกรรม ‘ฮักแพง...แบ่งปัน’ อีสานสร้างสุข มั่นคง ยั่งยืน


เพิ่มเพื่อน    

 

งานมหกรรม “ฮักแพงแบ่งปัน อีสานสร้างสุขครั้งที่ 4” จัดยิ่งใหญ่ มีผู้เข้าร่วมงาน 700 คน ที่โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส.ประกาศชัยชนะชุมชนเข้มแข็ง เปิดงานพร้อมมอบประกาศนียบัตรชุมชนต้นแบบที่ร่วมจัดนิทรรศการ 21 พื้นที่ การแสดงรำฉลองชัยประยุกต์ของคนอีสานผนวกกับการออกกำลังกายสร้างวิถีใหม่ บ้านหนองแสง เวทีเสวนาหัวข้อ “ชุมชนน่าอยู่ อีสานมั่นคง อย่างยั่งยืน” อีสานก้าวเดินสู่ความมั่นคงและยั่งยืน อิ่มความรู้ ลงมือทำในสิ่งที่รู้ด้วยความรัก

 

งานมหกรรม “ฮักแพงแบ่งปัน อีสานสร้างสุขครั้งที่ 4” โรงแรมเจริญธานี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เมืองดอกคูนเสียงแคน ต้อนรับด้วยรำฉลองชัย บ้านหนองแสง เป็นการแสดงรำฉลองชัยประยุกต์การแสดงของคนอีสานผนวกกับการออกกำลังกายสร้างวิถีใหม่วิถีท้องถิ่น ประกาศชัยชนะชุมชนเข้มแข็ง เกิดกระบวนการขับเคลื่อนออกดอกออกผลสะท้อนวิถีการมีความสุขของชาวอีสาน พร้อมรับชมวีดิทัศน์การดำเนินงานชุมชนน่าอยู่อีสานในรอบ 3 ปี ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงานพร้อมมอบประกาศนียบัตรชุมชนต้นแบบที่ร่วมจัดนิทรรศการ 21 พื้นที่ มีผู้เข้าร่วมงาน 700 คน ทั้งนี้ ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วย ผจก.สสส. เข็มเพชร เลนะพันธ์ ผอ.สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สสส.วีระพงษ์ เกรียงสินยศ กก.บริหารแผนคณะที่ 6 โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ ผู้ทรงคุณวุฒิสำนัก 6 ฯลฯ เป็นคีย์แมนสำคัญ

 

จุฑาทิพย์ ต่อยอด สรชา งามทรัพย์ ทำหน้าที่พิธีกร ผจก.สสส.ทำหน้าที่เป็นประธานในงานมหกรรม “ฮักแพงแบ่งปัน อีสานสร้างสุขครั้งที่ 4” ม่วนซื่นกันตลอดทั้งวัน ช้างเหยียบนา พระยาเหยียบเมืองเป็นมงคลมาเยือน ผู้ใหญ่มาหานำมงคลมาสู่ เรามีแม่ทัพใหญ่ เสนาบดี ขุนพลบนเวทีให้ชุมชนเข้มแข็งมั่นคงและยั่งยืน”

 

 

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ กล่าวเปิดงาน มาขอนแก่นเหมือนได้กลับบ้าน เว้าภาษาอีสานก็พอได้ จากไปหลายปีแล้ว เรารู้มานาน คนเรา มีสุข มีสุขภาวะโดยเฉพาะบุคคล ครอบครัวเอาอยู่ต้องพึ่งชุมชนข้างๆ สังคมที่กว้างขวางในชุมชนเข้มแข็งของการรวมตัวกัน ร่วมมือร่วมใจเป็นเครื่องมือสำคัญสร้างสุข เราพูดคำง่ายๆ แต่เมื่อถึงเวลาทำจริงแล้วไม่ง่าย ปัญหาชุมชนมีปัญหามากมาย การหารูปแบบโมเดล ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็งมีพลัง ชุมชนน่าอยู่ ส่งผลต่อครอบครัว                  มีหลายรูปแบบเป็นระดับอำเภอ ระดับตำบล ชุมชนหมู่บ้าน เราถอดบทเรียนมาจากผู้ใหญ่โชคชัยที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้นกำเนิดทดลอง ถอดบทเรียนขยายผล ชุมชนน่าอยู่มีอีกกลไกหนึ่งพัฒนาขายความคิดเป็นรูปแบบถ่ายทอดชุมชน มีชุมชนพี่เลี้ยงนำการเปลี่ยนแปลง พัฒนา 3,000 กว่าชุมชนทั่วประเทศ”

 

เมื่อสังคมกว้างออกไป ในกลไกย่อมมี No How กลเม็ดเด็ดพรายหลายรูปแบบหลายอย่าง หัวโจกมีผู้นำร่วมอย่างเป็นทางการ มีระบบแต่งตั้ง การสร้างผู้นำอย่างไม่เป็นทางการ สภาเป็นเครื่องมือสำคัญ กระบวนการสร้างรวมตัวกันได้ มีกลเม็ด มี No How จัดการปัญหาที่ยุ่งยากและซับซ้อน เผชิญกับความร่วมมือ มีการจัดนิทรรศการ วิดีโอทุกชุมชนระบุปัญหาได้อย่างชัดเจน บอกได้ถึงขนาดของปัญหา มีสาเหตุหลักจากอะไรนำมาสู่กระบวนการลงมือแก้ไขให้ประสบความสำเร็จ กระบวนการย้อนกลับมาทบทวน

 

แต่เดิมมีปัญหาติดขัดในการประชุมรวมหมู่ เครื่องมือต่างๆ ถูกนำมาใช้กับรูปแบบที่มีความชัดเจน มีพี่เลี้ยงที่มาจากหลากหลาย คุณหมออวยพร คุณหมออนามัย เล่าว่า เมื่อเกิดโควิดเห็นการเอาอยู่ ปัญหาระบาดกันทั่วโลก เรามี อสม.เป็นจำนวนมากมาย เรามีหมออนามัยนับแสนคนให้พลังเป็นอย่างดีด้วยโมเดลบอกได้อย่างชัดเจนว่ามีหมออนามัยอยู่อย่างใกล้ชิดราษฎรระดับรากหญ้า เป็น Change Agent ที่สำคัญ ขณะนี้ทั้ง 3,000 ชุมชน ถูกพัฒนาถ่ายทอดอย่างเข้มแข็ง เราขยายได้กระบวนการแตกตัวรวมเพื่อนหมู่ชุมชนเห็นการพัฒนา ชวนมาสังเกตการณ์ว่า 100 กว่าหมู่บ้านทำงานอย่างไร สนใจจะนำไปพัฒนาหรือไม่

 

ขณะนี้ นพ.โกเมนทร์ ทิวทอง ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนระบบปฐมภูมิและคลินิกหมอครอบครัว กระทรวงสาธารณสุข ดูแลการแพทย์ปฐมภูมิ เรามี 3 หมอ มี 2 หมออยู่ในพื้นที่ให้บริการที่ดี 2 หมอรากหญ้าให้บริการคำแนะนำระดับพื้นฐาน เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงขยายผลได้เร็วกว่าเฟสที่ผ่านมาด้วย ช่วยกันต่อยอด จะเห็นการเติบโตอย่างกว้างขวาง โมเดลย่อยๆ มีรูปแบบหลากหลายในชุมชนเข้มแข็ง พัฒนาพื้นที่มีบริบทจริตต่างกัน อีสาน 11 โมเดล ช่วยกันถอดบทเรียนมีหลากหลายตำรับให้ประยุกต์ใช้ ที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสร้างเครือข่ายนักวิชาการท้องถิ่น ประชาคม เครือข่ายราชภัฏ ชุมชนน่าอยู่ร่วมกันขยายโมเดล เรายังมีอีกหลายโมเดล ตอบรับความหลากหลายสร้างสุขภาพดีทั่วหน้าด้วยการนำความรู้แบ่งปันขยายผล ต่างคนต่างมีส่วนในการขยายงานในวงกว้างให้มารวมตัวกันด้วย

 

ดร.สุปรีดากล่าวว่า โครงการชุมชนน่าอยู่ภาคอีสาน ดำเนินงานตั้งแต่ปี 2560 ขยายเครือข่ายในพื้นที่ 147 หมู่บ้าน ครอบคลุมทุกจังหวัดในภาคอีสาน เกิดผลลัพธ์เชิงประเด็นที่ประสบผลสำเร็จ อาทิ ชุมชนน่าอยู่ด้วยการจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ทั้งการจัดการขยะ การแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ งานบุญประเพณีปลอดเหล้า ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และการจัดการน้ำเสีย ชุมชนน่าอยู่ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในระยะเวลา 3 ปี มีผู้เลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกิน 6 เดือน 770 คน ผู้ลด ละการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 8,639 คน จาก 12,410 คน ทำให้ลดค่าใช้จ่าย 26.5 ล้านบาท มีผู้เลิกสูบบุหรี่เกิน 6 เดือน 95 คน ผู้ลด ละ การสูบ 202 คน จาก 569 คน ลดค่าบุหรี่ลง 2.5 แสนบาท มีผู้รับประทานผักมากกว่า 400 กรัมต่อวัน 32,672 คน ปลูกผักในครัวเรือนทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักกว่า 11 ล้านบาท มีผู้ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ 14,559 คน

 

“ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลไกสภาผู้นำชุมชนถือเป็นตัวอย่างที่น่าชื่นชมในการให้ความร่วมมือจัดการปัญหาด้านสุขภาพของพื้นที่ มีการจัดการได้อย่างเป็นระบบด้วยชุมชน ตั้งแต่การให้ความรู้คนในชุมชน จัดการข้อมูลเพื่อวางแผนอย่างรอบด้าน ทั้งในเรื่องการป้องกัน รับมือ และแผนความมั่นคงทางอาหาร ความสะอาด รวมถึงมีการสื่อสารในชุมชนเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น การรายงานผลรายวัน รายงานผลการติดตามเฝ้าระวัง ปัญหาอุปสรรคที่พบ เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงาน” ดร.สุปรีดากล่าว

 

 

เข็มเพชร เลนะพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สสส. กล่าวว่า หัวใจสำคัญของชุมชนน่าอยู่คือ มีการบริหารจัดการที่ดีของชุมชน โดยกลไกสภาผู้นำชุมชน ซึ่งเป็นการจัดโครงสร้างองค์กรเดิมของชุมชนในรูปแบบใหม่ ที่ประกอบด้วยผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ อย่างผู้ใหญ่บ้านและกรรมการหมู่บ้าน และผู้นำชุมชนที่ไม่เป็นทางการ เช่น ผู้นำทางศาสนา ปราชญ์ชุมชน จิตอาสา ตัวแทนคุ้มบ้าน เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบ และจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน พร้อมกับมีทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษา และเสริมพลังความรู้ให้กับชุมชน

 

สุพรรณ ผาลินันท์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโพด จ.มหาสารคาม กล่าวว่า กลไกสภาผู้นำชุมชนเข้มแข็งของบ้านหนองโพด ได้ริเริ่มโครงการ “บ้านหนองโพดร่วมลดขยะในชุมชน” ครอบคลุม 148 ครัวเรือน จนเกิดความสำเร็จในการจัดการขยะและน้ำเสีย ที่เรียกว่า “ธนาคารน้ำเสีย” นวัตกรรมที่ประยุกต์วิธีการทำมาจากธนาคารน้ำใต้ดินที่เป็นทุนเดิมของหมู่บ้าน เพราะชาวบ้านเห็นปัญหาน้ำเสียจากครัวเรือนที่ไหลลงไปรวมกันในที่นาของชาวบ้าน จนทำให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งความสำเร็จของโครงการที่สำคัญคือ การมีกลไกสภาผู้นำชุมชนที่ สสส.เข้ามาจัดกระบวนการทำให้เกิดสภาผู้นำชุมชน เกิดการมีส่วนร่วมของจิตอาสาในหมู่บ้าน จนทำให้บ้านหนองโพดเป็นชุมชนที่น่าอยู่อย่างมาก

 

ตัวแทนชุมชนเข้ารับมอบประกาศนียบัตรชุมชนต้นแบบ

 

 

ปราชญ์ชาวบ้านผนึกผู้นำขับเคลื่อนชุมชนด้วยฝีมือ

พีรวัศ คิดกล้า กล่าวในฐานะผู้สร้างโลกตัวเองในโลกใบใหญ่ให้ขยับขยาย พุทธศาสนาคนหนึ่งคนเท่ากับโลก 1 ใบ สสส. มีวิสัยทัศน์พัฒนาขีดความสามารถคนไทยให้คนไทยตื่นรู้ มีศักยภาพ จัดการชีวิตตัวเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ชุมชนน่าอยู่เป็นโครงการหนึ่งที่ สสส. มุ่งหวังที่จะพัฒนาขีดความสามารถของคน เริ่มดำเนินการในปี 2555 เรียนรู้ด้วยการลองผิดลองถูกจนได้แนวคิดของผู้ใหญ่โชคชัย ลิ้มประดิษฐ์ ผู้ใหญ่บ้านหนองกลางดง ต้นแบบชุมชนน่าอยู่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถอดรหัสนำมาใช้ในภาคอีสาน เป็นชุมชนรุ่นแรกปลายปี 2555 เรียนรู้ร่วมกันเป็นพี่เลี้ยงชุมชน

 

ปี 2559 ตกผลึกขับเคลื่อนงานพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะปัญหาในชุมชนมีเยอะ บางปัญหาชุมชนรู้บางปัญหาก็ไม่รู้ บางปัญหาฝังรากลึกเป็นสิบๆปี บทเรียน 3 ปีออกแบบวิธีการจัดการใหม่ (ปี 2559-2563) ชวนชุมชนเรียนรู้ พัฒนาขีดความสามารถทำงานในพื้นที่ พี่เลี้ยงช่วยกันสร้างการเรียนรู้ด้วยการให้ลงมือทำเอง ฝึกฝนเคี่ยวเข็ญชวนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชน กลายเป็นชุมชนน่าอยู่ เริ่มจากการเปลี่ยนคน 3 คนแกนนำชุมชน เปลี่ยนวิธีคิดของผู้ใหญ่บ้าน พัฒนาแกนนำชุมชนรวมตัว คนดี คนเก่ง ทุกฝ่ายในหมู่บ้าน ผู้นำกลุ่ม ผู้นำคุ้มในชุมชน ผู้นำตามธรรมชาติ บางชุมชนมีความเข้มแข็งมาเรียนรู้ร่วมกัน อยากเรียนรู้จัดสรรผู้นำเพื่อให้คนในชุมชนตื่นรู้ เห็นปัญหาชุมชนของตัวเองได้ชัดเจน เติมทักษะในเรื่องวิธีคิด วิธีออกแบบให้คนสู่การมีส่วนร่วมลงมือ กองทุน งบประมาณสนับสนุนฟอร์มทีมช่วยกันทำ

 

 

รจนา สีวันทา ชาวนาดีเด่นแห่งชาติ 2563

มีผู้ว่าราชการจังหวัดให้แนวคิดการใช้พืชตระกูลถั่วกับพืชอินทรีย์ก็คิดว่ามีแต่คนบ้าเท่านั้นที่จะลงมือทำ ผ่านการอบรมมาแล้ว 3-4 ท่านยังไม่ได้เรื่องเสมือนหนึ่งคนติดยาและหยุดยากะทันหันทำให้ช็อกได้ ผลผลิตที่เคยได้เยอะแยะจากการใช้สารเคมีก็ไม่ได้ผลผลิตเลย ขณะนั้นมี 141 ครัวเรือนทำการเกษตรพันกว่าไร่ การขับเคลื่อนเป็นปัญหาโดยตลอด ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สุขภาพ จึงได้มีการหารือแนวทางปฏิบัติกับผู้นำชุมชน มีการคิดค้นจัดหาปุ๋ยมาใส่ข้าว ในปี 2544 มีการมอบใบประกาศนียบัตรผลิตข้าวอินทรีย์ได้มาตรฐานให้ผู้ผลิต จ.สุรินทร์

 

การเปลี่ยนความคิดของคนที่หันมาทำการเกษตรอินทรีย์แทนการใช้สารเคมี เป็นเรื่องหลักการดี การลงทุนใกล้เคียงกันแต่ไม่รู้ว่าจะไปให้ถึงได้ผลผลิตนั้นได้อย่างไร ปี 2557 หนุนเสริมเติมเต็มจนพี่น้องชุมชนใช้คำพูดคุณแม่รังแกฉัน พี่น้องเกษตรกรไม่รู้จักตัวเองในการขับเคลื่อนงาน หมอรักษาคนไข้หาย ครูสอนความรู้ให้อ่านออกเขียนได้ พี่น้องเกษตรกรรู้หน้าที่ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ปี 2558 ได้รับโอกาสจากสสส.หัวหน้าจรูญ ผอ.ดวงพร เกิดเป็นขบวนการขับเคลื่อน สาเหตุที่ยังไปไม่ถึงเพราะความเชื่อของเกษตรกรในการใช้สารเคมีฆ่าหญ้าได้ ใช้ปุ๋ยอินทรีเพื่อให้ได้ผลผลิต เราค้นหาต้นไม้ที่มีปัญหา ทำให้เราต้องหันมาขบคิดหาสาเหตุว่าทำไมต้นไม้ถึงไม่มีลูก ต้นไม้ไม่แผ่กิ่งก้านสาขาเพราะอะไร

 

ปัญหาทั้งหลายนี้เกิดจากคน ด้วยความเชื่อที่ว่าเขามีเงินจึงสามารถทำผลผลิตได้เยอะ ขายผลผลิตได้เยอะ ยิ่งมีการใช้ปุ๋ยเคมียิ่งได้ผลผลิตเยอะ เราจะลบล้างความเชื่อเหล่านี้ได้อย่างไร พี่เลี้ยงให้คำชี้แนะ เรารู้สาเหตุและได้มีการนำเสนอปัญหา หลายเสียงพูดว่าอย่าไปทำเลย เสียเวลาทำมาหากิน แต่การขับเคลื่อนคนเป็นงานที่ท้าทาย การมีเงินทุน ทุนมนุษย์ ทุนเงิน ทุนทางสังคม การขับเคลื่อนต้องมีการพูดคุยกัน การขับเคลื่อนสภาผู้นำชุมชนต้องเจาะลึกในการสร้างผู้นำชุมชนให้เรียนรู้ปัญหาแท้จริง เป็นเป้าหมายแท้จริงของ สสส. ถ้าไม่รู้ปัญหาแท้จริงก็ไม่สามารถขับเคลื่อนได้

 

พื้นที่ 2,000 ไร่ใช้ปุ๋ยเคมี 27 ล้านกว่าบาท ทำอย่างไรที่จะเปลี่ยน ทำไมถึงจะต้องจ่ายให้กับคนอื่นที่ร่ำรวยอยู่แล้ว มีการสร้างกฎกติกาในการสร้างผู้นำ เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ การสร้างผู้นำ 47 คน ให้ตื่นรู้ข้อมูลทำเป็นประจำทุกปี แลกเปลี่ยนความรู้ทุกปี การสร้างผู้นำรู้จักคำว่า “ทำไม” เพื่อสุขภาพที่ดี เพื่อคืนธรรมชาติสู่ผืนดิน เป็นการเพิ่มผลผลิตในแปลงนาของตนเอง

 

คุณพ่อคำเดื่อง ภาษี ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์

แรกๆ ก็ปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต กว่าจะตื่นรู้ได้ก็มีหนี้สินเพิ่มพูนขึ้น วิธีคิดในการทำเศรษฐกิจแบบธรรมชาติจนถึงวันนี้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน สอนจนมีลูกศิษย์มากมาย ก็คิดว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว งานเริ่มต้นแล้วก็ไม่รู้สึกท้อแท้ เราเจอหน้าเจอตาคนที่ทำอาชีพเกษตรหลายๆคน วันนี้อยากจะตั้งคำถามให้พวกเราได้คิดกันมากกว่า”

 

“...เมื่อ 6-7 ปี สมัยอดีตนายกรัฐมนตรี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีคำขวัญที่ว่า “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” ผมเป็นเกษตรกรเป็นอาชีพ คนมีอาชีพของคน เกษตรกรอยู่กับป่า เผาป่า ในงานก็คือเงิน ป่าหมด กบเขียดหายไปเรื่อยๆ เราก็เป็นเกษตรกรต่อไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2528 ไม่มีอะไรดีขึ้น กบ เขียด อึ่งอ่าง หอย ปู ปลา ความมั่นคงทางอาหารหายากมากขึ้น เพิ่มหนี้ เป็นเกษตรกรไม่ดีกลับมาเป็นคนใหม่ ทำหน้าที่ของคนในปี 2528 เกษตรกรทำลายล้างทุกอย่าง เราไม่เข้าใจจึงทำการเกษตรได้ไม่ดี ถามว่าเมื่อหลายหน่วยงานส่งเสริมชาวบ้านให้ทำการเกษตร แต่เมื่อถามเกษตรตำบลไม่อยากให้ลูกของตัวเองทำการเกษตร ถามเกษตรอำเภอก็ไม่อยากให้ลูกตัวเองทำการเกษตร เกษตรจังหวัดก็ไม่อยากให้ลูกทำการเกษตร แม้แต่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรก็ไม่อยากให้ลูกเป็นเกษตรกร ก็เลยกลับมาเป็นคนมาทำหน้าที่ เกษตรกรทำลายล้างโลก อยากฟื้นฟูให้โลกกลับคืนมาเหมือนเดิม มีต้นไม้ ฮักแพง แบ่งปัน มีบ้านกลับมาเหมือนเดิม “ฮักแพง” ฮักชาติ ส่วนเรื่องชังชาติเป็นคนละเรื่อง แบ่งปันทุกวันนี้เราแย่งชิงกัน ไม่ใช่แบ่งปันกันแต่อย่างใด

 

สมัยก่อนนั้นเราเห็นก้อนเมฆ ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพราะเราช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติ มีความสนุกสนาน เป็นสังคมน่าอยู่ ตอนที่เป็นคน ผมจับแมงดาที่เกาะอยู่ตามต้นไม้ มีแมงดาในท้องนา จับมาได้ 10 ตัวเอามาให้แม่ๆ ก็ด่าว่าจับมาทั้งหมดแมงดาจะสูญพันธุ์ให้ปล่อยไป ให้แม่ตัวเดียวก็เพียงพอแล้ว แบ่งปันให้บ้านอื่นบ้าง อึ่งอ่างหัวดำข้ามจับวางขาย ให้จับตอนที่มันวางไข่แล้ว แบ่งกันกิน ผลปรากฏว่ายิ่งอยู่ยิ่งแย่ลง อาหารมีสารพิษ มีหนี้สิน เราอยากได้โลกใบเก่า ที่มีช้าง ก้อนเมฆ กลับคืนมาเหมือนเดิม เราต้องทำนาด้วยตัวเอง เราอยากได้ต้นยางนา เราก็ต้องปลูกขึ้นใหม่ ยางนาก็จะกลับมา อยากได้บ้านไม้สัก เราก็ต้องปลูกไม้สักเพื่อจะปลูกบ้าน เราต้องถือหลักรักความสันโดษ ไม่มีหนี้สิน ถอยกลับไปอยู่ที่เดิมตามธรรมชาติที่เราโหยหา

 

ชนะกฤษฏิ์ พงษ์เกษมชูวงศ์ โคกหนองนาโมเดล

ไม่มีเรื่องซับซ้อนในการดำรงชีวิต ถ้าเราหายใจด้วยตัวเองเป็นเรื่องง่าย แต่หลายคนพึ่งคนอื่นไม่พึ่งตัวเอง ถ้าเรามั่นใจตัวเองมีความศรัทธาจะพบปลายแสงที่อุโมงค์อยู่แล้ว ในหลวงรับสั่งแล้วแต่เราไม่น้อมนำมาใช้ปฏิบัติจริง เรื่องอย่างนี้เราต้องทำซ้ำ ๆ บ่อยๆ ปลูกมันสำปะหลังก็ปลูกให้น้อยลง ปลูกข้าวก็ลดพื้นที่ลง ให้ปลูกพืชอื่นเป็นการผสมผสาน ที่ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป ทำการเกษตรอย่างที่เรียกว่า SmartFarmer จากเล็กไปสู่ใหญ่

 

หลายคนทำการเกษตรไม่สำเร็จเพราะทำนาแปลงใหญ่จนเกินไป ทำให้เป็นแปลงเดียว บนคันนามีมูลค่ามหาศาล ปลูกผัก มะเขือ พืชผักเพราะปลูกในที่ลุ่มน้ำท่วมก็ตาย แต่พืชผักอยู่บนโคกก็จะรอดได้ เมื่อน้อมนำที่อยู่ที่กินมีความสุข ยุคแห่งการแบ่งปัน แกงไก่ ต้มไก่ มีน้ำพริก การแบ่งปันที่ สสส. ลงมือทำเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานกับ สสส. ยุคน่าอยู่ทำกิน ยุคแข่งขันต่างคนต่างกอบโกยทำในชุมชนหลักๆ เรื่องชุมชนน่าอยู่ต้องเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนด้วยความรัก กล้าคิดทำงานด้วยความสุข


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"