ชาวบ้านลิบงชี้2สาเหตุใหญ่หญ้าทะเลตาย ห่วงแหล่งพะยูนฝูงสุดท้ายเผชิญวิกฤต


เพิ่มเพื่อน    

18 ต.ค.63-  ที่มูลนิธิอันดามัน อ.เมืองตรัง  ได้จัดเวทีล้อมวงคุยหารือแนวทางการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเลจังหวัดตรัง หลังจากพบว่าหญ้าทะเลได้มีการตายเป็นจำนวนมากและเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งทางชาวบ้านเกาะลิบงมองว่าสาเหตุการตายของหญ้ามาจากการขุดลอกคลองของกรมเจ้าท่า โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น เขตห้ามล่าสัตว์หมู่เกาะเกาะลิบง สนง.พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 3 ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรฯจังหวัดตรัง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง กรมเจ้าท่า บริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เข้าร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาครั้งนี้

ทั้งนี้บรรยากาศในการปรึกษาหารือ พบว่าชาวเกาะลิบงไม่ต้องการให้นำดิน หิน โคลน เลนไปทิ้งในทะเล ต้องการให้นำขึ้นไปทิ้งบนบกทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหาการเกิดผลกระทบระยะยาวและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น  แต่ถ้าจำเป็นต้องทิ้งขอให้เปลี่ยนจุดการทิ้งให้ห่างออกไปจากจุดเดิม 7.5 กิโลเมตร  หรือหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อปะการัง ชีวิตสัตว์ทะเล และอาชีพของชาวประมง   ถึงแม้ว่าการสำรวจและวิจัยพบว่านำตะกอนดินไปทิ้งในทะเลที่จุดเดิมรัศมี 3.5 กิโลเมตร ก็จะไม่เห็นตะกอนดินเพราะจะทิ้งกระจายและห่างจากปะการังก็ไม่เชื่อมั่นว่าจะไม่ส่งผลกระทบในอนาคต

ซึ่งทางเขตห้ามล่าได้เสนอว่ามีพื้นที่ของทางเขตห้ามล่าฯหลายแห่งที่สามารถนำไปทิ้งได้ แต่ทั้งนี้ต้องไปศึกษาดูพื้นที่ที่เหมาะสม  มีการนำเสนอพื้นที่ท่าเรือนาเกลือ  เกาะเนรมิต และพื้นที่ของเอกชนที่ยินดีให้แต่ต้องไปศึกษาเรื่องกฎหมาย ส่วนที่หลายฝ่ายนำเสนอให้เอาหินไปช่วยกั้นน้ำกัดเซาะในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ หรือ นำทรายไปเพิ่มพื้นที่ชายหาดนั้นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปศึกษาให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ทั้งนี้หลังจากนี้จากการสรุปการหารือผู้นำชุมชนต้องนำไปพูดคุยชี้แจงกับชาวบ้าน และจัดตั้งอนุกรรมการพร้อมกับผู้นำชุมชนเปิดเวทีชี้แจงพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้าน

 นายไมตรี  แสงอริยนันท์ ผอ. สนง.ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  กล่าวว่า ตนเองมาประชุมในส่วนของที่สื่อออนไลน์ที่เกี่ยวกับชาวบ้านเกาะลิบงบอกว่าหญ้าทะเลตายมาจากการขุดลอกคลองของกรมเจ้าท่า ซึ่งทางศูนย์วิจัยของกรมชายฝั่งและอาจารย์จากวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัยตรังกำลังดำเนินการทดสอบดูว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดมาจากอะไร  วันนี้เรามาประชุมในส่วนของการขุดลอกคลองว่าว่าเป็นไปได้การขุดลอกคลองจะมีหิน ดิน ทราย และโคลน มี 3 ส่วน ในวันนี้สรุปร่วมกับหลายภาคส่วน สรุปว่าในส่วนที่เป็นหินนำขึ้นไปไว้บนบก ทรายก็ไปเติมหาดทรายซึ่งจะได้วิเคราะห์ชนิดของทราย ในส่วนที่เป็นโคลนมติของที่ประชุมให้ไปทิ้งบริเวณหลังเกาะตะเกียงประมาณ 5 กิโลเมตร ซึ่งจะอยู่ห่างจากแหล่งทรัพยากร อย่างปะการัง หญ้าทะเล  ซึ่งคงจะไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรเหล่านี้ ซึ่งในส่วนตรงนี้ทางเจ้าท่ามารับไปดำเนินการว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร  การดำเนินการในปีงบประมาณนี้คงไม่มีการเริ่มต้น จะเริ่มต้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์แต่เรามีการประชุมกันเสียก่อนหาแนวทางให้กับกรมเจ้าท่าเพื่อไปพิจารณาดำเนินการ ส่วนดินโคลนที่ฟังจากกรมเจ้าท่า ทรายมีประมาณ 1 ล้านคิว  โคลนประมาณ 6 แสนคิว  หินประมาณ 6 แสนคิว รวมกันแล้วประมาณ 2 ล้านกว่าคิว

ส่วนทางด้านนายอิสมาแอน เบ็ญสะอาด กรรมการชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กล่าวว่า ปัญหาหญ้าทะเลตายมีหลายปัจจัย แต่หลัก ๆตอนนี้ชาวบ้านตั้งประเด็นไปที่การขุดลอกร่องน้ำแม่น้ำตรัง ซึ่งการขุดลอกร่องน้ำจะมีหลายปัจจัย การรื้อดินเลนขึ้นมาที่มีพวกสารแขวนลอยจากการศึกษาของ มจร. คุณภาพน้ำส่วนหนึ่งอาจจะมีสารจับใบหรืออาจจะมีสารที่ทำลายหญ้าทะเลโดยตรัง ซึ่งแหล่งที่ปะทะแหล่งแรกคือหาดตูบซึ่งมีหญ้าทะเลหลายร้อยไร่ โดนปะทะก่อนและตายก่อน  ประเด็นต่อมาคือการเอาดินเลน ดินทราย ตะกอนทรายตะกอนเลนก็เข้ามาเพิ่มในบริเวณแหล่งหญ้าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หญ้าตาย รวมๆกันตนมองว่าก็หลายปัจจัย  ซึ่งทาง มจร.และหลายหน่วยงานศึกษาอยู่ว่ามันจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร ถ้าเป็นคุณภาพน้ำต้องดูที่ต้นน้ำว่าทางจังหวัดต้องตั้งเรื่องของการมีบ่อบำบัดน้ำเสียของเทศบาล ของเมือง  ก่อนที่จะปล่อยลงทะเล  ประเด็นต่อมาคือการเอาทรายไปทิ้งในทะเล

นายอิสมาแอน กล่าวว่า ตอนนี้ได้รับข้อยุติแล้วว่า ทรายกับหินจะไม่ทิ้งในทะเล  อาจจะมีจุดทิ้งข้างบน  แต่ในส่วนของกรณีเลนกำลังหาที่ทิ้งเลน เพราะเลนมันมีความเป็นตะกอนเข้มข้นมีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำให้คุณภาพน้ำเสียก็ต้องมีแหล่งทิ้งในระยะยาว แต่ข้อยุติในวันนี้ดินทรายกับหินมาทิ้งข้างบนแต่ในส่วนของเลนต้องหาที่ทิ้งที่เหมาะสม  ส่วนปัญหาหญ้าทะเลตายนั้นเป็นปัญหามานานแล้ว มันเป็นปัญหาเรื้อรัง ชาวประมงพื้นบ้านบอกว่า 5 ปี ที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านก็นำเสนอในเรื่องนี้ซึ่งตอนนั้นหญ้าทะเลเพิ่งตายทางหน่วยงานไม่ให้ความสนใจสักเท่าไหร่แต่วันนี้เมื่อมันมีการตาย ส่งผลกระทบที่ทำมาหากินของชาวประมงเป็นหมื่นไร่และชาวประมงนอกพื้นที่ที่ทำมากิน รวมถึงที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งมองว่าถ้าชาวบ้านไม่เดือดร้อนเขาคงไม่ออกมาเรียกร้องขนาดนี้ ส่วนแนวทางแก้ไขต้องฟังกันหลายๆ ฝ่าย หน่วยงานที่มีภารกิจหลักต้องมีแผนปฏิบัติการว่าจะแก้ไขอย่างไร จะเยียวยาอย่างไรจะฟื้นอาชีพของพี่น้องชาวประมงอย่างไรและขาดไม่ได้คือแหล่งพะยูนฝูงสุดท้ายจะดูและตั้งรับอย่างไรกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในอดีตและอนาคต.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"