เผยชื่อ40โรงเรียนร่วมพัฒนาล็อตแรก 


เพิ่มเพื่อน    

เผย ชื่อ 40 โรงเรียนร่วมพัฒนา “มีชัย” เชื่อ ต่อไป โรงเรียนจะไม่บริหารเอง ชุมชนจะต้องเข้ามาร่วมดูแลด้วย และพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของทุกคนในชุมชน  อีกทั้งจะต้องทำให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนหายจากความยากจน แย้ม นายกฯ อยากขยายให้ครอบคลุมทุกจังหวัด

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้โครงการนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) ได้เปิดเผยรายชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้ จำนวน 40 โรง ได้แก่ รร.วัดปลักไม้ลาย จ.นครปฐม   รร.ชุมชนบ้านสี่แยก จ.นครศรีธรรมราช รร.บ้านหนองเงือก จ.ลำพูน รร.อนุบาลเต่างอย จ.สกลนคร รร.อนุบาลดงมหาวัน จ.เชียงราย รร.วัดนาคู (จันทศึกษาคาร) จ.พระนครศรีอยุธยา รร.ธงชัยเหนือวิทยา (โคกศิลา) จ.นครราชสีมา รร.นกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม จ.ราชบุรี รร.บ้านหนองไผ่ดุสิตประชาสรรค์ จ.ขอนแก่น วิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น วิทยาเขตหนองเรือ จ.ขอนแก่น รร.บ้านภูดิน (มิตรผลอุปถัมภ์) จ.ชัยภูมิ รร.สมสะอาดพิทยาสรรพ์ จ.กาฬสินธุ์ รร.วัดบางกอบัว จ.สมุทรปราการ รร.วัดถนนกระเพรา จ.ระยอง รร.บ้านประดู่เฒ่า จ.สุโขทัย รร.ผดุงวิทยา จ.พิษณุโลก รร.บ้านบึงทับแรด จ.กำแพงเพชร วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง จ.กาฬสินธุ์ รร.อนุบาลแคนดง จ.บุรีรัมย์ รร.บ้านโคกขามโนนสมบูรณ์ จ.บุรีรัมย์ รร.อนุบาลลืออำนาจ (ชุมชนเปือยหัวดง) จ.อำนาจเจริญ รร.เชียงกลาง (ประชาพัฒนา) จ.น่าน รร.วัดกระทุ่ม (โสมประชาสรรค์) จ.ฉะเชิงเทรา รร.แก้วเสด็จพิทยาคม จ.กาฬสินธุ์ รร.บ้านท่าตูม จ.ปราจีนบุรี รร.ท่าฉางวิทยาคาร จ.สุราษฎร์ธานี รร.อนุบาบเกาะคา จ.ลำปาง รร.วัดจุฬามณี (ชุณหะจันทนประชาสรรค์) จ.พระนครศรีอยุธยา รร.อนุบาลปัตตานี จ.ปัตตานี รร.เบญจมราชูทิศ จ.ปัตตานี รร.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ รร.บ้านห้วยไร่สามัคคี จ.เชียงราย รร.บ้านแม่วะหลวง จ.ตาก รร.บ้านสันป่าไร่ จ.ตาก รร.บ่อเกลือ จ.น่าน รร.ชุมชนโพนงานโพนสวาง จ.มหาสารคาม รร.ร่องคำหงส์ทองวิทยา จ.ร้อยเอ็ด และ รร.โนนสะอาดพิทยา จ.ขอนแก่น  ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมกับโรงเรียนมากขึ้น โดยจะมีตัวแทนจากภาคเอกชนเข้าไปนั่งเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน ซึ่งจะมีบทบาทในเรื่องของการปรับปรุงหลักสูตร การจัดทำงบประมาณ การจัดทำแผนปฏิบัติการ เป็นต้น ทั้งนี้จะเริ่มดำเนินการทันทีในภาคเรียนที่ 1/2561

ด้านนายมีชัย วีระไวทยะ กรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา กล่าวว่า  สิ่งสำคัญของการเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนา หรือ Partnership School นั้น ผู้อำนวยการโรงเรียนจะต้องเป็นผู้นำและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงว่าการดำเนินโครงการนี้มีดีอย่างไร จากนั้นให้แจ้งรายละเอียดความต้องการที่จะเข้าโครงการฯมาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หรือแจ้งกับภาคเอกชนที่จะเข้ามาสนับสนุน  ซึ่งเราได้สร้างแบบสำรวจข้อมูลการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบดังกล่าว  เช่น ความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน การมีส่วนร่วมของครู ความพร้อมด้านบุคลากร ชุมชนให้ความสำคัญกับการศึกษา เป็นต้น  ซึ่งเท่ากับว่าต้องเกิดจากความพร้อมของชุมชน ผู้บริหารโรงเรียน  เพราะต่อไปนี้โรงเรียนจะไม่บริหารเองเพียงอย่างเดียวแต่ชุมชนจะต้องเข้ามาร่วมดูแลด้วย ซึ่งการเป็นโรงเรียนร่วมพัฒนานั้นโรงเรียนแห่งนี้จะต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของทุกคนในชุมชนไม่ใช่โรงเรียนที่บริหารงานแบบเดิมๆอีกต่อไป  อีกทั้งจะต้องทำให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนหายจากความยากจนรวมถึงจะต้องเป็นแหล่งกู้ชาติสำหรับอนาคต ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีอยากขยายให้โครงการนี้ครอบคลุมทุกจังหวัดอีกด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"