ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ก.ค.ศ. ยกเครื่อง กระบวนการขอและเลื่อนวิทยฐานะแนวใหม่ทั้งระบบ


เพิ่มเพื่อน    


27ต.ค.63- นายประวิตร เอราวรรณ รักษาราชการเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (รักษาราชการเลขาฯ ก.ค.ศ.) กล่าวว่า ตามที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) มีนโยบายเรื่องการปรับปรุงกระบวนการการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะแนวใหม่ทั้งระบบนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมคณะทำงานปรับปรุงการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะแนวใหม่ใน 4 สายงาน ได้แก่ ครู ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา  โดยการปรับปรุงครั้งนี้จะทำเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาครูและยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนอย่างแท้จริง โดยการประเมินวิทยฐานะรูปแบบนี้ จะไม่เหมือนการประเมินแบบเดิมอีกต่อไป เพราะเราจะลดความยุ่งยากของการประเมินและการประเมินด้วยเอกสารทั้งหมด ซึ่งได้วางกรอบแนวทางประเมินวิทยฐานะใหม่ไว้ 4 ข้อ ได้แก่ 1.ลดความซ้ำซ้อนของการประเมิน เช่น การประเมินวิทยฐานะของครูจะทำไปพร้อมกับเงินเดือน ซึ่งจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement) หรือ PA 2.การประเมินเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะจะถูกประเมินผ่านรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด ไม่มีการยื่นเอกสารการประเมินอีกต่อไป โดยขั้นตอนการยื่นประเมินผ่านออนไลน์นั้นสถานศึกษาจะทำหน้าที่เป็นหน่วยวิเคราะห์โดยผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งจะมีวงรอบการประเมินตามการปรับวงรอบเงินเดือนระหว่างเมษายนและตุลาคม

นายประวิตร กล่าวต่อว่า 3.การประเมินจะต้องเห็นผลการปฏิบัติงานของครูในห้องเรียน มุ่งผลสัมฤทธิ์ของเด็ก และ 4.การประเมินจะเชื่อมโยงไปที่ตัวผู้เรียนว่าครูสามารถยกระดับทักษะเด็กได้ตรงตามการเรียนรู้ในโลกศตวรรษที่ 21 หรือไม่ สำหรับการคงประเมินวิทยฐานะของครูจะคงไว้ที่ 5 ปี และหากครูต้องการทำผลงานเพื่อขยับเลื่อนวิทยฐานะจากชำนาญการเป็นชำนาญการพิเศษนั้นจะมีการพิจารณาจาก 3 องค์ประกอบ คือ คลิปการสอนของครูในห้องเรียน แผนประกอบการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ดังนั้นการประเมินเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะแนวใหม่จะเน้นการประเมินความก้าวหน้าจากการสอนของครูและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยจะยกเลิกการนำผลงานต่างๆ ของครูแล้วมาสะสมเย็บเล่มเป็นรายงานส่งเพื่อประเมิน  ทั้งนี้การประเมินวิทยฐานะรูปแบบใหม่เมื่อยื่นผ่านระบบออนไลน์แล้วภายใน 2-3 เดือนก็จะทราบผลว่าผ่านหรือไม่ผ่านการประเมิน  อย่างไรก็ตามกรอบแนวคิดการประเมินวิทยฐานะรูปแบบจะนำไปรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน จากนั้นนำมาสรุปประมวลผล ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้การประเมินวิทยฐานะใหม่อย่างเป็นทางการได้ในปีการศึกษา 2564 อย่างแน่นอน 

“การปรับวิทยฐานะใหม่เรามีทีมวิจัยจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีการอิงผลการประเมินและพัฒนาครูจากต่างประเทศ เพราะระบบวิทยฐานะครูที่ควรจะเป็นคือต้องประเมินตามสภาพความเป็นจริงที่สะท้อนพัฒนาการผลลัพธ์การเรียนของผู้เรียน”รักษาราชการเลขาฯ ก.ค.ศ.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"