เปิด 10 เส้นทางท่องเที่ยวนำร่องเพื่อคนทั้งมวล


เพิ่มเพื่อน    

 

สสส.จับมือมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล กฤษนะ ละไล และทีมมนุษย์ล้อ ทูตอารยสถาปัตย์พร้อม ททท. อพท. เปิด 10 เส้นทางท่องเที่ยวใน 10 จังหวัดนำร่อง กทม. กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก อยุธยา พังงา ราชบุรี จัดทำคู่มืออารยสถาปัตย์ ปรับปรุงสภาพแวดล้อม-จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวก ปลอดภัย กระตุ้นเศรษฐกิจไทยคึกคัก เที่ยวบินเดี่ยว หรือไปกันทั้งครอบครัว เจาะใจคนพิการเหมือนคนทั่วไป มีความสุขที่ได้เที่ยวคนเดียว หรือเที่ยวทั้งครอบครัว

 

 

“เมืองไทยเมืองอารยสถาปัตย์ เมืองท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล” กฤษนะ ละไล ทูตอารยสถาปัตย์ชูหนังสือคู่มืออารยสถาปัตย์ การออกแบบที่เป็นมิตรกับคนทั้งมวล พร้อมด้วยทีมมนุษย์ล้อกล่าววลีเด็ดใช้เสียงการเป่าแตรเทพสร้างบรรยากาศสีสันแห่งการท่องเที่ยว 10 จังหวัดนำร่อง รถเมล์ชานต่ำตัวรถรองรับผู้โดยสารที่พิการและสูงอายุ ทางลาดทางเชื่อมระหว่างฟุตปาธไร้รอยต่อมีความปลอดภัย ขณะนี้ บ.กรุงเทพธนาคมให้บริการรถตู้ผู้พิการที่ใช้ Wheel Chair ออกแบบให้เป็น Friendly design จากสถานีรถไฟฟ้า BTS รับส่งตามสถานที่ต่างๆ สวนนงนุช พัทยา ของกัมพล ตันสัจจา และยังมีตำแหน่งเป็นประธาน กก.ท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อคนทั้งมวล ออกแบบให้เป็นอารยสถาปัตย์ 100% ปักหมุดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับ World Class เมืองพัทยา ธรรมชาติดีที่สุด มีการออกแบบ Universal Design ทั้งนี้ สนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ทำหน้าที่นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานทำงาน ขณะนี้มีการออกแบบท่าเทียบเรือเกาะล้านให้เป็นชุมชนต้นแบบบ้านซากแจ้ว ตะเคียนเตี้ย

 

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล จัดประชุมเสวนาการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ใน 10 จังหวัดนำร่อง และพื้นที่เชื่อมโยง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ โดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเปิดงานเสวนา “ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลใน 10 จังหวัดนำร่องและพื้นที่ในฐานะตัวแทนเจ้าของบ้านและพันธมิตรที่ดำเนินงานมาแล้ว 8 ปี กล่าวต้อนรับในการทำงานสร้างสุขภาวะของผู้คนอย่างเป็นระบบต่อเนื่องมายาวนาน โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเฉพาะ มีลักษณะความเปราะบาง ต้องสร้างเสริมสุขภาวะที่พิเศษ ขณะนี้มีผู้พิการสูงอายุ 2 ล้านคน ผู้สูงอายุ 12 ล้านคน และเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที

 

คนพิการ และผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่จำกัด ไม่สามารถเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะ หรือการใช้บริการของรัฐได้อย่างสะดวก ปลอดภัย เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านสุขภาพ ร่างกาย และสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่เอื้อต่อการดำเนินชีวิต การสนับสนุนโครงการรณรงค์และสำรวจเพื่อให้เกิดเส้นทางท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล จะเป็นการเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้สามารถใช้ชีวิตในโลกภายนอกได้อย่างอิสระ ลดความเหลื่อมล้ำ และมีความสุขยิ่งขึ้น ที่ผ่านมานั้น กฤษนะ ละไล ผลักดันยุทธศาสตร์ ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อคนทั้งมวล ออกแบบเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงและปฏิบัติ  ได้จริง จัดทำคู่มืออารยสถาปัตย์การออกแบบที่เป็นมิตรกับคนทั้งมวล Friendly Design Guide Book เป็นงานที่ได้รับความร่วมมือจาก 5 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง อบรมหลักสูตรบ้านมั่นคง ด้วยงานวิชาการนโยบายประสานกับการขับเคลื่อน

 

ดร.สุปรีดากล่าวต่อว่า โครงการนี้จะทำให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลต้นแบบ จำนวน 10 เส้นทางในจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตาก พระนครศรีอยุธยา พังงา ราชบุรี นอกจากนี้ยังเกิดฐานข้อมูลเส้นทางบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล โดยมีเครือข่ายทูตอารยสถาปัตย์ส่งเสริม กระตุ้น และติดตามผลการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกในทั้ง 10 พื้นที่และพื้นที่เชื่อมโยง นอกจากนี้หวังให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อผลักดันให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลในพื้นที่อย่างยั่งยืน รวมถึงเกิดการขยายผลเพิ่มเส้นทางท่องเที่ยวให้ทั่วประเทศไทย

 

งานเสวนา “ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลใน 10 จังหวัดนำร่องพื้นที่” โดยภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จารุเชฏฐ์ เรืองสุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กฤษณ์ ภูมิสุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ อพท.3 กิตติ สืบสันติพงษ์ เลขานุการเครือข่ายทูตอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล ดำเนินรายการโดย กฤษณะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวลในฐานะทูตอารยสถาปัตย์

 

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 8) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า กลุ่มคนพิการมีสิทธิและมีความจำเป็นต้องเดินทางไปไหนมาไหนด้วยตัวเอง สสส.มีภารกิจสร้างเสริมสุขภาพให้ทุกคนมีความสุข ลดอุปสรรคในการเดินทาง บางคนพูดว่า สสส.ทำเรื่องที่ห่างไกลสุขภาพ เราต้องการตีความอุปสรรคเป็นภาพกว้าง บ.ทำงานดีไซน์หลายกลุ่มมีข้อจำกัด เราไม่ได้มองทางกายภาพ แต่รวมถึงการบริการต่างๆ นับตั้งแต่มุมมองวิธีคิดที่จะต้องเปิดกว้าง สสส.สนับสนุนโครงการอารยสถาปัตย์ที่กฤษนะ ละไล ผลักดัน เราทำงานด้านวิชาการ ความรู้จำเป็นต้องส่งผ่านขยายงานเกี่ยวข้องให้เป็นที่รับทราบมากที่สุด

 

สสส.ปรับปรุงหลักสูตร กำหนดเงื่อนไขสถาปนิกให้มี Universal design การสร้างแรงจูงใจอาคารใหม่ที่สร้างขึ้นให้มีการออกแบบ อารยสถาปัตย์ การสร้างความเข้าใจในหลายหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพให้บริการกับประชาชนให้ทุกคนใช้บริการได้ ที่วัดโพธิ์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของคนไทยและต่างชาติ ขณะนี้พระภิกษุสงฆ์บางรูปไม่สามารถขึ้นอุโบสถได้ จึงต้องสร้างต้นแบบขยายวิธีคิด ทำงานร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยภูมิภาคให้ความรู้กับภาคประชาชน การขนส่งที่ไร้รอยต่อ ทำให้คนพิการสามารถเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองได้คนเดียว ใช้เครื่องบินต่อรถ ต่อเรือ ต่อ BTS MRT มีโครงข่ายเป็นใยแมงมุม

 

มหาวิทยาลัยทั้ง 5 สถาบัน มีสถาปนิกมืออาชีพที่จะให้คำปรึกษาในการปรับปรุงบ้านในต่างจังหวัด บางครั้งทำทางลาดชัน แต่ใช้จริงไม่ได้ คนพิการแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน วัสดุพื้นผิวก็ต้องเหมาะสม การสอนช่างชุมชนก็เป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะต้องดำเนินการใน 5 จว. ความรู้ในการออกแบบ ขณะนี้มี 4A ภาคีเครือข่ายขนส่งมวลชนพึ่งได้คอยเฝ้าระวังให้ข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทาง การเฝ้าระวังในการเลือกใช้รถไฟฟ้า ท่าเรือที่ออกแบบใหม่เพื่อคนพิการใช้ได้ มีมนุษย์ล้อเป็นหูเป็นตาสนับสนุน

 

เท่าที่สำรวจความต้องการท่องเที่ยวของกลุ่มคนพิการนั้น กลุ่มนี้ต้องการท่องเที่ยวแบบ Adventure คนพิการก็ต้องการท่องเที่ยวเหมือนกับคนปกติอย่างเราๆ “ความสุขของเขาก็เหมือนกับความสุขของเรา แต่มีข้อจำกัด หลายคนไม่อยากออกจากบ้านเพราะเจออุปสรรค ด้วยคำกล่าวว่าไม่อยากออกไปไหน ถ้าทุกที่ไปได้ก็มีความสุข เขาต่างจากเราก็เพียงร่างกายเท่านั้น แต่ความสุขของเขาก็เหมือนกับคนทั่วไป”

 

โดยทั่วไปแล้วคนพิการก็อยากจะเที่ยวกันเองในครอบครัว แต่ถ้ามีจิตอาสามาช่วยกลุ่มคนพิการในการเดินทางก็เป็นเรื่องที่ สสส.ขอรับไว้พิจารณา เรามีธนาคารเวลาระมัดระวังความพร้อมในการฝึกฝน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย คนพิการบางคนต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะมีปัญหาแผลกดทับ ดังนั้นจิตอาสาก็ต้องมีความรู้และมีจิตใจในการให้บริการด้วย

 

ภรณีกล่าวว่า สสส.ขับเคลื่อนธุรกิจการท่องเที่ยวให้มีโอกาสเชิงธุรกิจในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ เพราะเห็นโอกาสในการเติมเต็มเน้น 4 เรื่องหลัก สนับสนุนความรู้ นโยบาย การสื่อสารสังคม พื้นที่นำร่องตัวเชื่อมที่ดีสู่การท่องเที่ยว โอกาสทางธุรกิจใช้เงินรัฐ เพราะไม่สามารถทำธุรกิจต่อได้ ทำงานเพื่อสังคมเป็นหลัก ความรู้ที่จะต้องมีการ update สื่อสารไปใช้ในทางปฏิบัติ

 

 

กฤษนะ ละไล ประธานมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล กล่าวว่า ได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์กรการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์กรมหาชน) และผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้ง 10 จังหวัดนำร่อง โดยลงพื้นที่จริงสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลไปแล้วหลายเส้นทาง ซึ่งสถานที่ต่างๆ มีความสามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อคนทุกคนได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นบ้านพัก ที่มีการปรับปรุงให้มีการออกแบบที่เป็นมิตร การสร้างทางลาดมาตรฐานที่ไม่ชันสำหรับวีลแชร์ และมีห้องน้ำอารยสถาปัตย์ที่มีประตูกว้างอย่างน้อย 80 เซนติเมตร มีราวจับ มีพื้นที่กว้าง เพื่อให้มนุษย์ล้อสามารถใช้งานได้ด้วยตนเอง โดยสะดวก สบาย และปลอดภัย

 

ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันรณรงค์และโปรโมตเส้นทางอารยสถาปัตย์ การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลของประเทศไทยรองรับสังคมผู้สูงวัย ส่งเสริมสิทธิความเสมอภาคเท่าเทียม ต่อยอดและขยายตลาดการท่องเที่ยวไทยสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health&Welness Tourism) และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All)

 

การสร้างชุมชนต้นแบบอารยสถาปัตย์นี้ทำงานตั้งแต่ในสมัยวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมว.การท่องเที่ยวฯ ทำให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้ ตลาดน้ำที่ราชบุรีกลับฟื้นคืนชีวิตมาได้ จากเดิมที่ ททท.จ้างพ่อค้าแม่ค้าออกมาพายเรือขายสินค้า ตอนนี้เขาอยู่ได้แบบพึ่งพาตัวเอง ชุมชนเกิดขึ้นหลังโควิดสร้างธุรกิจทำเงินได้อย่างมหาศาล เมืองพัทยาเป็นเมืองชั้นนำระดับโลกไม่ได้มีสีสันอย่างเดียว หากแต่มีอารยสถาปัตย์เพื่อการท่องเที่ยว

 

“ผมไปประเทศญี่ปุ่นมีทางลาด สวนอุอิโนะใช้รถเข็นขึ้นเนินไปชมดอกซากุระ บริเวณปลายเนินเป็นหอศิลป์ชมงานศิลปะระดับโลก ผลงานของศิลปินปิกัสโซ โมเนต์ จัดแสดงหมุนเวียน ทุกครั้งที่ไปจะได้แรงบันดาลใจในการเข็นรถขึ้นเนินเพื่อเข้าชมผลงานดีๆ และยังเป็นการออกกำลังกายด้วย ซาบะนักปั่นมาราธอนก็ใช้ทางถนนมายังดอยด้วย ในเมืองไทยเรามีสวนหลวง ร.9 ที่นี่มีการปลูกต้นไม้เปลี่ยนตลอดอยู่ในความดูแลของมูลนิธิ สุขภาพดีก็ต้องมีอารยสถาปัตย์ที่ดีด้วย”

 

น่านเติบโตก้าวหน้ามาก อุตรดิตถ์ แพร่ “คุณปั้น บัณฑูร ล่ำซำ พาไปขึ้นเครื่องบิน เจออากาศหมุนต้องสวดมนต์ ผมเหล่ไปทางคุณปั้นนั่งนิ่งมาก ผมท่องบทสวดมนต์หลวงปู่ทวด นายกเทศมนตรีที่เมืองน่านก็ดีมาก จัดทำอารยสถาปัตย์ แต่ยังไม่ได้ทำที่วัดภูมินทร์ ปู่ม่านย่าม่านกระซิบรักบันลือโลก จำได้ว่าเคยทำทางลาดที่วัดภูมินทร์ในช่วงปี 2558-2559 แต่ตอนหลังกลับมาเอาทางลาดออกไปแล้ว”

 

ททท.-อพท.ลุยการท่องเที่ยวเพื่อคนพิการ-สูงอายุ

จารุเชฏฐ์ เรืองสุวรรณ รองผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวว่ากิจกรรมดังกล่าวนี้ ททท.ได้ประโยชน์ เสียง Voice เหล่านี้ถึงลูกค้า ยิ่งโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยวมีระบบบริหารจัดการที่ดี ขณะนี้มีการประดิษฐ์สินค้าราวจับส่วนตัวที่เป็น friendly design มีสนนราคาแพงอยู่ 9,000 บาท - 1 หมื่นบาท เราต้องกระตุ้นให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวให้มากขึ้นกว่าเดิม รายได้จากการท่องเที่ยวมาจากคนไทย 30% ต่างประเทศ 70% ขณะนี้เราต้องเอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง คนไทยเองก็ระมัดระวังในการใช้จ่ายในช่วงโควิด ทำอย่างไรให้คนพิการในเมืองไทยมีสัดส่วนที่เดินทางท่องเที่ยว ปรับระบบให้สะดวกสบายในการเดินทาง ที่กิน ที่พัก ที่ช็อปปิ้งเป็นแม่เหล็กที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว

 

“ก่อนหน้านี้ผมเดินทางไปกับเบิร์ด ผู้พิการทางสายตาที่มีกิจกรรมล่องเรือไปเที่ยวอยุธยา เมื่อเรือเทียบท่าเรือโคลงเคลงมาก เกรงว่าเบิร์ดจะตกน้ำ “ผมต้องคว้ามือเบิร์ดไว้ เราต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกในเรือ ท่าเรือและภายในเรือก็ต้องมีราวกันตก หรือการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า คนที่ถือกระเป๋าเดินทางค่อนข้างหนัก ถ้าไม่มีลิฟต์จะอำนวยความสะดวกมากขึ้น ดังนั้นก็ต้องเลือกลงสถานีรถไฟฟ้าที่มีลิฟต์บริการ

 

สมัยก่อนนั้นคนพิการอยู่บ้าน แต่ปัจจุบันนี้คนพิการเดินทางตามความต้องการได้ ปี 2550 หลายฝ่ายเกิดไอเดียให้ผู้พิการมีความเคลื่อนไหวท่องเที่ยว การเดินทางใช้พาหนะแบบปิด คือมีรถส่วนตัวเดินทาง และใช้ขนส่งสาธารณะไปในสถานที่ต่างๆ ได้ บางสถานที่มีสื่อความหมายตัวอักษรเป็นอักษรเบรลล์ ในต่างประเทศคนญี่ปุ่น คนยุโรปที่พิการจะถูกฝึกฝนให้พึ่งพาตัวเองในการเดินทางทั้งในประเทศและท่องเที่ยวต่างประเทศ นั่งเครื่องบินมาลงสนามบินสุวรรณภูมิและต่อเครื่องบินไปถึงภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น เมืองไทยติดอันดับท่องเที่ยวระดับ World Class ดังนั้นเราต้องจัดทำระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมโยงกันจาก บ.ขนส่ง สถานีรถไฟ ท่าเรือ เรือที่ล่องตามลำคลอง แม่น้ำ

 

ขณะที่ กฤษณ์ ภูมิสุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ อพท. 3 กล่าวว่า พื้นที่พิเศษหน่วยงาน อพท.มีแหล่งท่องเที่ยวอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวที่ใช้วีลแชร์เมื่อเข้าไปทำกิจกรรมในสวนมีรถพ่วงพาไปทำกิจกรรมในพื้นที่ต้นแบบ โรงแรมรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โบราณสถานเก่าแก่ 600-700 ปี โบราณสถานวัดศรีชุม มีสถานที่จอดรถสำหรับคนพิการ มีเส้นทางลาด มีห้องสุขาเฉพาะ มีอ่างล้างมือที่ติดราวจับไว้

 

กิตติ สืบสันติพงษ์ เลขานุการเครือข่ายทูตอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล กล่าวว่า กลุ่มทูตอารยสถาปัตย์ขับเคลื่อนในการปรับปรุงอารยสถาปัตย์เป็นปีที่ 4 เกิดดอกออกผล ผลงานเขากะโดง บุรีรัมย์ ใช้งบประมาณขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย การเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดใช้งบประมาณขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ เพื่อเปิดเส้นทางทัวร์อารยสถาปัตย์

 

“ในฐานะที่ผมเป็นคณะ กก.ท่องเที่ยว จว.ตาก อุทยานแห่งชาติลานสาง น้ำตกพาเจริญ ก็เป็นสถานที่หนึ่งที่คนพิการเที่ยวได้อย่างไม่มีอุปสรรค ผมเป็นนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่ชอบเที่ยวแบบฉายเดี่ยว เมื่อปี 2547 ผมอยู่นครศรีธรรมราชขับรถคนเดียวจากนครศรีธรรมราชขึ้นไปเชียงราย ปิดมือถือการสื่อสารทุกชนิด เราจะใช้กลยุทธ์ชักจูงให้หน่วยงานจัดทำอารยสถาปัตย์ การขับเคลื่อนระบบขนส่งมวลชน บางครั้งเจ้าอาวาสในฐานะเจ้าของสถานที่แสดงความไม่พอใจ ยืนถมึงทึงคุยเท่าไหร่ไม่รู้เรื่อง ต้องเข้าไปเจรจาเป็นครั้งที่ 3 ค่อยๆ ทำความเข้าใจว่าท่านเจ้าอาวาสแก่ตัวจะทำอย่างไร ขึ้นไปสวดบนศาลาไม่ได้ จากนั้นท่านก็เริ่มทำเองโดยไม่ถามว่าจะเอางบประมาณมาจากไหน หลายเรื่องต้องพึ่ง สสส.ในด้านองค์ความรู้”

 

ขณะนี้กระทรวงทรัพยากรฯ โดย รมต.วราวุธ ศิลปอาชา ส่งเสริมและผลักดันให้มีอารยสถาปัตย์ในสถานที่ท่องเที่ยวในกรมอุทยานแห่งชาติ 155 แห่ง ที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวติดอันดับระดับโลก หมู่เกาะสิมิลัน อ่าวมาหยา ซึ่งสวยงามมาก เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ The Beach (2000) ปรับสถานที่ให้มีทางลาด ห้องสุขาเฉพาะสำหรับมนุษย์ล้อ   กระบี่สวรรค์แห่งทะเลอันดามัน ทำท่าเรือใหม่เพื่อล่องเรือไปดูปะการัง เข้าไปในชุมชน น้ำตกเอราวัณ 7 ชั้น กาญจนบุรี ปรับให้มนุษย์ล้อท่องเที่ยวได้ เขื่อนแก่งกระจาน เพชรบุรี ทำทางลาดเพื่อลงเรือได้ เพราะเส้นทางค่อนข้างชันมาก หมู่เกาะพีพีนำรายได้เข้าไทยมากกว่า 600 ล้านบาท เราต้องออกแบบทางลาด friendly Design ได้มาตรฐาน ยึดหลักว่าที่ไหนมีบันไดต้องมีทางลาดควบคู่กันไปด้วย ทำเส้นทางเป็นมิตรต้อนรับเขา ภายในพิพิธภัณฑ์ของ กทม. ขอให้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. องค์กรหลักในการขับเคลื่อนอารยสถาปัตย์ทำให้เป็นพื้นที่ non step

 

เป็นที่สังเกตว่ารถไฟฟ้า BTS มีเพียง 5 สถานีที่ทำทางลาดให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น คนส่วนใหญ่ไม่ได้ขับรถ แต่จะพึ่งพาระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งอำนวยความสะดวกทุกอย่างให้ ถ้าเมืองไทยจัดระบบขนส่งสาธารณะเป็นอย่างดี จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รร.สวิสโฮเต็ล ขณะนี้สำนักงานท่องเที่ยวจัดทำคู่มือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำทางเดินริมชายหาด บ้านฉางยังไม่มีการพัฒนา จำเป็นต้องมีการปรับปรุงผังเมืองขนส่งสาธารณะด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"