‘บิ๊กตู่’ ตีกลับข้อเสนอผุด31หน่วยงานใหม่รองรับปฏิรูป


เพิ่มเพื่อน    

01 พ.ค.2561 -  ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติในเรื่องที่ 5 ว่าด้วยการขอจัดตั้งหน่วยงานตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ว่า ครม.เห็นชอบในส่วนราชการดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2561 ในการรองรับการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ  โดยต้องพิจารณาการปรับปรุงบทบาท ภารกิจ  และโครงสร้างของหน่วยงานที่มีอยู่เดิมเป็นลำดับแรกก่อน  

สำหรับข้อเสนอการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ไม่ควรมีผลผูกพันกับส่วนราชการในทันที  และหากยังมีความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ควรจัดตั้งเฉพาะที่มีเหตุผลความจำเป็นและคำนึงถึงค่าใช้จ่าย  ทั้งนี้  มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ศึกษาเรื่องดังกล่าวในรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุผลตามความจำเป็นและความคุ้มค่าในการจัดตั้งให้ชัดเจนควบคู่ไปด้วย 

สาระสำคัญของเรื่อง สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า แผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน มีข้อเสนอการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการเพื่อรองรับการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศ ดังนี้ 1.การขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ จำนวน 31 หน่วยงาน โดยจำแนกตามประเภทที่ขอจัดตั้งได้ คือ การขอจัดตั้งหน่วยงานระดับกรม จำนวน 9 หน่วยงาน, การขอจัดตั้งหน่วยงานภายใต้กรม 13 หน่วยงาน, อื่น ๆ เช่น องค์การมหาชน หรือองค์กรอิสระ เป็นต้น  9 หน่วยงาน, การขอปรับบทบาทภารกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 24 หน่วยงาน และการขอจัดตั้งหน่วยงานที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร. 21 หน่วยงาน ซึ่งการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ตามร่างแผนการปฏิรูปประเทศดังกล่าวไม่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ  ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มีเป้าหมายให้ภาครัฐมีขนาดที่เล็กลง

ทั้งนี้ ก.พ.ร.ในการประชุมครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2561 ที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาเรื่องการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มี.ค.ในประเด็นการรองรับการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศ โดยที่ประชุมมีมติให้ส่วนราชการที่ต้องจัดตั้งหน่วยงานตามแผนการปฏิรูปประเทศพิจารณาการปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงานที่มีอยู่เดิมเป็นลำดับแรกก่อน  สำหรับข้อเสนอการจัดตั้งหน่วยงานใหม่  ไม่ควรมีผลผูกพันกับส่วนราชการในทันที และหากยังมีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพิ่มควรจัดตั้งเฉพาะที่มีเหตุผลความจำเป็นและคำนึงถึงค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ สำนักงาน ก.พ.ร. ศึกษาเรื่องดังกล่าวในรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุผลความจำเป็นและความคุ้มค่าในการจัดตั้งให้ชัดเจนควบคู่ไปด้วย 

สำหรับการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเมือง, ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน, ด้านกฎหมาย, ด้านกระบวนการยุติธรรม, ด้านเศรษฐกิจ, ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ด้านสาธารณสุข, ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ, ด้านสังคม, ด้านพลังงาน, และด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"