พาณิชย์ผนึกอบต.ปั้นสินค้าชุมชน


เพิ่มเพื่อน    

 

9 พ.ย. 2563 นายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมฯ มีแผนที่จะร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดต่างๆ เพื่อร่วมมือกันสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าในชุมชน เพราะ อบต. จะรู้ดีว่าในแต่ละชุมชน มีสินค้าดี เด่น ดังอะไรบ้าง เมื่อหาเจอแล้ว ก็จะเข้าไปช่วยเหลือด้วยการเอาปัญญาเข้าไปใส่ ซึ่งอาจจะผลักดันให้มีการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) หากเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่น เป็นของเฉพาะถิ่น หรืออาจจะผลักดันให้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือความลับทางการค้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าต่อไป

“สินค้าชุมชน มีหลากหลาย จะผลักดันให้ขึ้นทะเบียน GI เพียงอย่างเดียว ต้องใช้เวลา บางที 2-3 ปี กว่าจะได้มาซักสินค้าหนึ่ง แต่ถ้าเราเอาปัญญาเข้าไปใส่ ก็สามารถที่จะสร้างทรัพย์สินขึ้นมาได้ทันที หรือที่เรียกว่าทรัพย์สินทางปัญญา แบบนี้ ทำได้เร็ว สินค้าชุมชนอะไรที่เป็น GI ไม่ได้ เราก็มีทางเลือก ไปช่วยให้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เมื่อเขามีตรา มียี่ห้อ ก็จะทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม และขายได้ราคาดีขึ้น เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากอีกรูปแบบหนึ่ง”

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว ขอเรียกว่า “อบต.โมเดล” เพราะเป็นการร่วมมือกับ อบต. ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยจะนำร่องที่จ.อ่างทอง และนครสวรรค์ก่อน จากนั้นจะขยายความร่วมมือไปยังจังหวัดต่างๆ เพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกัน ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ต้องการแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนของประเทศ โดยการเพิ่มรายได้ต่อหัวต่อคนต่อปีของคนไทยให้เพิ่มจากเฉลี่ย 7,000 เหรียญสหรัฐ เป็น 15,000 เหรียญสหรัฐ เพราะหากสามารถผลักดันให้ชุมชนที่มีสินค้าและบริการ แล้วมีการนำปัญญาเข้าไปใส่ และช่วยทำตลาด ช่วยคุ้มครอง ก็จะทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ความยากจนก็จะหมดไป

นายประโยชน์กล่าวว่า ทางด้านการเพิ่มพูนความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา จะพัฒนาหลักสูตร e-Learning ของกรมฯ ใหม่ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบัน เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจจะเรียนรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และเมื่อผ่านการเรียนรู้แล้ว ก็จะมอบประกาศนียบัตร และแต่งตั้งให้เป็นไอพี แอมบาสเดอร์ หรือผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญา และให้คนเหล่านี้เข้ามาช่วยเป็นวิทยากร หรืออบรมความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาให้กับผู้อื่นต่อไป ซึ่งอาจจะช่วยให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้ จะหารือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อผลักดันให้วิชาทรัพย์สินทางปัญญา เป็นหลักสูตรกลาง และเป็นวิชาเลือกในการเรียนการสอน เพื่อผลักดันให้นักศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น และสามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการต่อยอดการทำงานหรือทำธุรกิจในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้การขับเคลื่อนประเทศด้วยทรัพย์สินทางปัญญามีการเติบโตได้เพิ่มขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"