ชุมชนหมอชิตค้านย้ายสถานีขนส่ง-สร้างทางยกระดับ


เพิ่มเพื่อน    

 

10 พ.ย. 2563 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มอบหมายให้ นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้รับหนังสือจาก นางสาววินินท์อร ปรีชาพินิจกุล ผู้แทนชุมชนหลังสถานีขนส่งหมอชิตเก่า โดยตัวแทนประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนหลังสถานีขนส่งหมอชิตเก่าได้ยื่นหนังสือคัดค้านการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินเวนคืนในท้องที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2563 โดยคัดค้านการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 กลับมาใช้พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิตเก่าซึ่งเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ 

นางสาววินินท์อร กล่าวว่าการย้ายหมอชิต 2 กลับมาใช้พื้นที่หมอชิตเก่า (ที่ดินของกรมธนารักษ์) ที่ให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนพัฒนาเป็นโครงการคอมเพล็กซ์ศูนย์การค้า โรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์นั้น มองว่าปัจจุบันยังไม่มีความจำเป็น ไม่มีความเหมาะสมและยังมีเหตุผลไม่เพียงพอ เนื่องจากการย้ายหมอชิต 2 ทำให้แออัดอยู่บริเวณหมอชิตเก่า และยืนยันว่าที่ตั้งหมอชิต 2 ปัจจุบันมีความเหมาะสมเชื่อมต่อการเดินทางแล้ว และอนาคตจะเชื่อมต่อสถานีกลางบางซื่อที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมแห่งใหม่รวมระบบขนส่งมวลชนทางรางทั้งรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง ไว้ที่เดียวกัน และจะเปิดให้บริการปี 64  ทำให้การเดินทางระหว่างรถโดยสารและระบบรางสมบูรณ์แบบที่สุด   

ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวบ้านหลังหมอชิตเก่าได้ยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อคัดค้านการเวนคืนที่ดินชาวบ้าน บริเวณหลังหมอชิตเก่ายาวออกไปถึงริมถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อสร้างทางยกระดับหรือถนนลอยฟ้าออกจากโครงการคอมเพล็กซ์ของเอกชน ที่สถานี บขส.จะย้ายเข้ามาอยู่ในโครงการดังกล่าวด้วย เนื่องจากก่อสร้างถนนลอยฟ้าเพื่อเป็นทางเข้า-ออกในโครงการ จะใช้งบประมาณของรัฐบาล วงเงินไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายค่าเวนคืนที่ดินและก่อสร้างถนนลอยฟ้า แต่อ้างว่าเพื่อใช้เป็นทางเข้า-ออกให้กับ รถ บขส. เพราะถือเป็นบริการสาธารณะ 

นายวิรัช กล่าวว่า การย้ายหมอชิต 2 กลับมาใช้พื้นที่หมอชิตเก่าอยู่ระหว่างการหาข้อสรุปดำเนินการที่ชัดเจน ปัจจุบัน บขส. ได้เจรจากับการรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) เพื่อขอเช่าพื้นที่ รฟท. ต่อแล้ว และยืนยันว่าไม่ได้ย้ายหมอชิต 2 เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะนำรถโดยสารขนาดใหญ่เข้ามาในพื้นที่ใจกลางเมือง ปัจจุบันมีปัญหาจราจรจำนวนมาก และเดิมทีมีแผนมีการย้ายรถโดยสารขนาดใหญ่ออกจากพื้นใจกลางเมืองอยู่แล้ว ส่วนการสร้างทางเชื่อมทางยกระดับเป็นไปได้ยาก เพราะถ้านำรถโดยสารขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำมันดีเซลสร้างมลพิษให้กับชุมชนหลังหมอชิตเก่าได้ ดังนั้นจึงจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กทม. กรมธนารักษ์ และชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนครั้งนี้ เพื่อหารือทางออกเรื่องดังกล่าวต่อไปในเร็วๆ นี้ ส่วนกรณีที่กระทรวงคมนาคมขอใช้พื้นที่หมอชิตเก่ากับกรมธนารักษ์นั้น กระทรวงคมนาคมต้องขอสงวนไว้เหมือนเดิมในการใช้พื้นที่ 1,000 กว่าตารางเมตร เพื่อไว้รองรับรถตู้โดยสารที่ปัจจุบันมีสถานีจอดรถตู้โดยสารฝั่งตรงข้ามหมอชิต 2 มาให้บริการในอนาคต แต่ทั้งนี้การต้องขึ้นอยู่กับชุมชนด้วย 

ด้านนายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า สนข. และ รฟท. ร่วมกันเพื่อจัดทำแผนพัฒนาสถานีกลางบางซื่อและพื้นที่โดยรอบ โดยมีองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency-JICA) มาช่วยวางแผนศึกษา ซึ่งแผนนี้จะแบ่งพื้นที่ในการพัฒนา แต่ในไม่ได้ระบุชัดว่าต้องย้ายหรือไม่ย้ายหมอชิต 2 ซึ่งเรื่องนี้ บขส. ต้องหารือกับ รฟท. เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในการขอเช่าพื้นที่ โดย สนข. จะคอยประสานงานให้ 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"