'โคก-หนอง -นา' ยกระดับสู่นโยบายรัฐ 


เพิ่มเพื่อน    

                       

แนวคิด"โคก หนอง นา"ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการในพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่  9 ซึ่งทรงห่วงใยต่อสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะในปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ได้ถูกนำมาปรับใช้ในการบริหารจัดการน้ำ  เพื่อการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพของประชาชนทั่วไป ได้รับการผลักดันจาก สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ  ภายใต้โครงการ"พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยของแผ่นดิน" ซึ่งได้รับการการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด  

และในการก้าวสู่ปีที่ 6 ของการเผยแพร่แนวคิด โคก หนอง นา ดำเนินการภายใต้กิจกรรม"แตกตัวทั่วไป เอามื้อสามัคคี"  อันเป็นวิธีการทำการเกษตรเก่าแก่ดั้งเดิมของสังคมไทยมาดำเนินการต่อเนื่อง ด้วยการส่งต่อแรงบันดาลใจผ่านการถ่ายทอดเรื่องราวความสำเร็จของผู้นำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมตามสภาพภูมิสังคม พร้อมขยายผลสำเร็จของโครงการฯ จากลุ่มน้ำป่าสักสู่ลุ่มน้ำอื่นๆ ครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศไทย สู่การแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งอย่างยั่งยืน  มี 4 กิจกรรมที่ตั้งเป้าไว้   โดยมีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)  มาช่วยขับเคลื่อนและเป็นกำลังหลักอีกแรง 

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า  โครงการฯ นี้ ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน จนเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมของคนที่นำแนวทางศาสตร์พระราชาไปลงมือปฏิบัติ ส่งผลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ นั่นนับเป็นผลสำเร็จของโครงการฯ  ส่วนแนวทางการขับเคลื่อน   คือการสร้างและพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีองค์ความรู้เป็น      ‘คนมีใจ’ ที่เมื่อรวมตัวกันก็จะเป็น ‘เครือข่ายที่เข้มแข็ง’ นำไปสู่การสร้าง ‘ศูนย์เรียนรู้’ เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาสู่การลงมือปฏิบัติ สร้างคนมีใจต่อไปไม่สิ้นสุด จนบรรลุผล หยุดท่วม-หยุดแล้งอย่างยั่งยืนตามเป้าหมาย ซึ่งโครงการฯ ในปัจจุบันได้ขยายผลออกไปถึง 24 ลุ่มน้ำแล้ว

"ปีนี้มาถึงปีสุดท้ายเฟส 2ของโครงการ เชื่อมั่นว่าแนวทางพระราชดำริ หลักการทรงงานของพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9 จะแก้ปัญหาโลกได้ และเราสามารถเผยแพร่แนวคิดตามแนวทางศาสตร์พระราชาได้ 6,000 หลุม ใน 24ลุ่มน้ำ และตั้งใจที่จะขยายต่อไปและจะเริ่มเฟส 3 ต่อไปอีกแน่นอน "อาจารย์ยักษ์กล่าว

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แกนนำภาคเอกชน กล่าวว่าเชฟรอนให้การสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 แล้ว เนื่องจากตรงกับแนวคิดการทำโครงการเพื่อสังคมของเรา ที่มุ่งเน้นการสร้างคน องค์ความรู้ และจิตสำนึก ส่วนใหญ่จึงทำกันในระยะยาว โครงการนี้ตอบโจทย์ทั้งเรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน  หรือ Sustainable Development  และสอดคล้องกับนโยบายเพื่อสังคมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการศึกษา ด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาสู่การลงมือปฏิบัติ ด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ที่ช่วยสร้างชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นั่นคือการฟื้นฟู ดิน น้ำ ป่า และด้านการส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ซึ่งพนักงานเราได้เข้าร่วมกิจกรรมในทุกๆ ปีเป็นจำนวนหลายร้อยคน เหนือสิ่งอื่นใดคือความมุ่งมั่นในการสืบสานพระราชปณิธานต่อไป  นับเป็นการสร้างความยั่งยืน ทั้งชาวบ้านและคนเมือง

ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ เชฟรอนฯ กล่าวอีกว่า  โดยตามแนวคิดของปีนี้ โครงการฯ จึงจะกระจายตัวจัดกิจกรรมใน 4 พื้นที่ คือ กรุงเทพฯ จันทบุรี สระบุรี และน่าน โดยนำเสนอผ่าน ‘คนต้นแบบ’ ที่ใช้ศาสตร์พระราชาแก้ปัญหาในพื้นที่ของตนเองจนประสบความสำเร็จ เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจแก่คนรุ่นต่อๆ ไป

"ถ้าถามถึงความมุ่งหวังชองโครงการคืออะไร ผมว่าอยากให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างว่าเ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ทางเลือกรอง แต่เป็นหนึ่งในทางเลือกหลัก อยากให้คนทำแบบนี้กันเยอะๆ อยากให้แนวคิดนี้มีที่ยืนในสังคม อยากให้เรื่องเเศรษฐกิจพอเพียงกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคม  ที่ใครๆก็ทำกัน และหมายถึงเกษตรกร พึ่งพาตัวเองได้ มองว่า 5-6ปีมานี้ของโครงการ เราทำได้ขนาดนี้ ก็น่าจะเป็นความภาคภูมิใจ   เพราะมีคนสนใจอยากทำตามเยอะมาก แต่เราไปให้คำแนะนำ หรือคำปรึกษาไม่ทันกับความต้องการ" ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ เชฟรอนฯกล่าว

อ.ไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เครือข่ายภาควิชาการกล่าวว่า ปีนี้เป็นปีสุดท้ายของระยะที่ 2 คือ การขยายผลในระดับทวีคูณ หรือ แตกตัว เพื่อสร้างคน สร้างครู สร้างเครื่องมือยกระดับศูนย์เรียนรู้สู่การศึกษาตลอดชีวิต (บ้าน วัด โรงเรียน) โครงการฯ จึงยังคงดำเนินงานต่อเนื่องด้วยแนวคิด ‘แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี’ เพื่อชี้ให้เห็นตัวอย่างการ ‘แตกตัว’ ขยายผลจากลุ่มน้ำป่าสักไปยังลุ่มน้ำอื่นๆ โดยนำกลยุทธ์การ ‘เอามื้อสามัคคี’ หรือ การลงแขกตามประเพณีดั้งเดิมของคนไทยมาเป็นกลวิธีในการขับเคลื่อน เพื่อประสานความสามัคคีเชื่อมโยงและขยายเครือข่ายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน โดยในปีหน้าที่จะผลักดันให้ไปสู่การขับเคลื่อนในระดับนโยบาย สู่เป้าหมายการขยายผลจากลุ่มน้ำป่าสักครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำทั่วในประเทศไทย

"หลังจากเราเปิดตัวโครงการ เอามื้อสามัคคี ด้วยแนวคิดโคก หนอง นา ปรากฎว่ามีผู้สนใจความต้องการที่จะนำโมเดลนี้ไปใช้เยอะมาก จนเราจัดทำให้ไม่ทัน ดังนั้น ในปีนี้ เราจึงตั้งใจที่จะยกระดับโครงการไปสู่นโยบายระดับประเทศ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันทั้งระบบลุ่มน้ำทั้งหมด  และให้เป็นที่พึ่งของประชาชน"อ.ไตรภพกล่าว

ด้านผศ.พิเชษ โสวิทยสกุล คณะทำงาน รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ปัญหาประเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)กล่าวว่า การขยับขยายโครงการ แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคีในปีนี้ นอกจากจะมี 4พื้นที่ ต้นแบบ ในการเรียนรู้โคก หนองนา โมเดล  ศาสตร์พระราชา เรายังร่วมมือกับกรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน  ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงหมาดไทย  ในการเผยแพร่แบบมาตรฐาน"โคก หนอง นา โมเดล" ออกไปสู่ประชาชนโดยตรง เบื้องต้นได้มอบแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา โมเดล จำนวนประมาณ 40แบบให้กับกรมพัฒนาที่ดินไว้แจกจ่ายประชาชน ทั้ง  40แบบ จะเป็นโมเดลต้นแบบสำหรับที่ดินขนาดแบบ  3ไร่ 5 ไร่ หรือ 10-15ไร่  ที่เป็นโมเดลพื้นที่ขนาดเล็กก็เพราะ แนวคิดเรื่อง งโคก หนอง นา นั้นที่จริงก็คือ เป็นการแปลงมาจากเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการทำเกษตรในพื้นที่ขนาดจำกัด หรือขนาดเล็ก   จะได้ไปขอจากกรมพัฒนาที่ดินได้ แล้วนำไปใช้กับที่ดินของตนเองได้เลย 

" แบบมันเสร็จหมดแล้ว ส่งให้กรมพัฒนาที่ดินแล้ว  ใครที่สนใจอย่าเพิ่งไปทำทั้งขนาด 100ไร่ เริ่มจาก 3ไร่ หรือ5ไร่ก่อน หยิบไปใช้ได้เลยจากแบบมาตรฐาน ที่เป็นต้นแบบ ที่เราทำไว้ให้ แล้วกรมพัฒนาที่ดินเขาจะทำเรื่องให้มันเป็นการสนับสนุนจากภาครัฐเลย เราเริ่มที่กรมพัฒนาที่ดินก่อน แต่ที่คุยไว้มี 3กรม กรมพัฒนาที่ดินกรมอุทยานฯ และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  แต่ของกรมพัฒนาที่ดิน  ออกแบบเสร็จแล้วมีทั้งหมด 40แปลง"ผศ.พิเชษกล่าว

พร้อมกับอธิบายอีกว่า การที่แบบมาตรฐานมีเยอะมากถึง 40แบบก็เพราะที่ดินมันมี 3-4ขนาดคือ 3ไร่ 5 ไร่ 10 หรือ 15ไร่  แต่ละแบบมาตรฐานจะมีรูปทรงที่ดินหลากหลายมาก  เช่น บางคนมีที่ดินทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส บางคนสี่เหลื่อมผืนผ้า หรือมีสัดส่วน 1ต่อ 2 หรือบางที่ยาวสัดส่วน 1ต่อ3 หรือบางคนมีทรงแบบอ้วน ๆ 2 ต่อ3 การออกแบบจึงต้องมี 4ขนาดและ 4รูปแบบแปลน  ทั้งที่จริงๆแล้วาตั้งใจจะให้มากกว่านี้   แต่เป้าหมายจริงๆคือจะทำแบบให้ได้ 96แบบ  ซึ่งจะมีพื้นที่แบบแปลงที่ลาดไหล่เขา หรือแปลงที่อยู่ในหุบเขาด้วย   แต่เราเริ่มที่ราบก่อนเพราะปัญหาที่ราบเยอะกว่าที่ภูเขา  ซึ่งแบบที่ราบ ที่มอบให้กับกรมพัฒนาที่ดินทำสำเร็จหมดแล้ว และกำลังออกแบบให้กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. ซึ่งจะเป็นในส่วนของพื้นที่ขนาดเล็ก 4ตารางเมตร หรือ 8ตารางเมตร  หมายรวมถึงพื้นที่คอนโด ทาวน์เฮ้าส์  เป็นการออกแบบเชิงรั้วกินได้  หรือในพื้นที่ขนาด 100 ตารางวา หรือ 200 ตารางวา   ก็จะมีแบบมาตรฐานให้ด้วย

"กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น มีงบฯที่จะหนุนดำเนินการ ท่านอธิบดีฯก็เร่งให้ทำเรื่องนี้ ส่วนกรมสุดท้ายที่กำลังคุยอยู่คือกรมอุทยาน ฯซึ่งจะทำในพื้นที่เชิงเขา พื้นที่ป่าที่ต้องฟื้นฟู แต่ของกรมอุทยานมีข้อแม้ว่า เราจะเริ่มในพื้นที่ 10 หรือ 15ไร่ เพราะพอเป็นพื้นที่ภูเขา พื้นที่ขนาดเล็กมันไม่พอทำเกษตรผลิตได้ จึงต้องเริ่ม 10 ไร่ 15ไร่ หรือ 20ไร่ "

ผศ.พิเชษกล่าวอีกว่า การทำแบบมาตรฐาน โคก หนอง นา โมเดล จะมีการดำเนินการเป็นกทางการและขณะนี้อยู่ระหว่างการทำรายละเอียดเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบ เพื่อให้รัฐมีส่วนสนับสนุน โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของ การขุดบ่อจิ๋ว ของกรมพัฒนาที่ดิน  จึงต้องมีการทำให้ถูกต้องตามระเบียบ  เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาการตรวจรับ 

"ปัจจุบันการที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถทำเรื่องโคก หนอง นา ได้เต็มที่เพราะมันยังไม่มีข้อมูลมาตรฐาน มีแต่ข้อมูลว่าต้องขุดสระน้ำเท่านั้นเท่านี้ กว้างคูณยาวเท่าไหร่ แค่นั้น  เราก็เลยออกแบบให้เป็นมาตรฐาน แต่ในทางอื่นที่ไม่ต้องรอกรมพัฒนาที่ดิน ผมก็แจกแบบไปแล้ว ทางเฟสบุ๊คของผม  แต่มัเงื่อนไขว่าคนที่ได้แบบไปแล้ว แต่ยังไม่ผ่านการอบรม  เราจะให้ทำไม่เกิน 3ไร่ แต่คนที่ผ่านการอบรมเรื่องศาสตร์พระราชาแล้ว เราจะให้ได้ถึง 15ไร่ เพราะเราไม่ต้องการให้คนที่ไม่ผ่านการอบรมแล้วไปทำ 15ไร่  โดยที่ไม่มีความรู้ มันจะสำเร็จยาก ตอนนี้ก็ส่งไม่หวาดไม่ไหว  เป็น 40แบบที่แจกออกไป"

ผศ.พิเชษ บอกอีกว่า โคก หนอง นา โมเดล ได้รับความสนใจมาก เฉพาะเฟสบุ๊คของตนเองมีคนแชร์เรื่องแบบนี้ไป 600 กว่า คนอ่านประมาณ 3หมื่นกว่า แต่ติดปัญหาตรงที่  ทีมงานส่งอีเมล์แบบมาตรฐานให้ไม่ทัน  เนื่องจาก การแจกโมเดลจะไม่ได้แจกมั่วๆ ต้องมีการตรวจสอบมีการเช็ค คนที่จะได้แบบ ต้องติดต่อเข้ามาแจ้งให้รู้ว่าจะทำที่ไหน  อะไร ยังไง ถ้าผ่านการอบรมแล้ว   อบรมรุ่นไหน ศูนย์ไหน มีความรู้ยังไงบ้าง แต่ถ้าไม่ผ่านการอบรมอย่างน้อยต้องแจ้งเบอร์ติดต่อ และสถานที่ที่จะทำ เพื่อที่เราจะได้ติดตามและวางแผนช่วยเขาได้ต่อ สมมุติบางคนทำที่สุรินทร์ เราก็มาดูว่า ดินของเขาอยู่ที่ไหน และพิกัดใกล้    ๆของเขามีเพื่้อนที่ทำด้วยหรือไม่ อย่างน้อยเขาก็จะได้ไปหาเพื่อน  เพราะเขาทำคนเดียวไม่ไหว  ส่วนแบบที่แจก เพราะไม่ต้องรอให้กรมพัฒนาที่ดินประกาศ  ใช้งบฯส่วนตัวลงมือทำขุดบ่อไปก่อน ก็ทำได้ หรือถ้าชาวบ้านคนไหนไม่มีเงิน อาจจะต้องรอกรมพัฒนาที่ดินเพื่อใช้งบฯขุดบ่อจิ๋ว . ซึ่งกรมพัฒนาที่ดิน มีงบฯ ฯขุดบ่อจิ๋วปีหนึ่งประมาณ 4-5พันล้าน เราแค่ปรับงบฯขุดบ่อจิ๋วมาช่วยทำโคก หนองนา แทน  เรียกว่าเป็นการเปิดให้กว้างการใใช้งบฯ ไม่ใช่การขุดบ่อจิ๋วอย่างเดียว การทำโคกหนองนา ก็เหมือนการใช้งบฯ เพื่อทำที่เก็บน้ำเหมือนกัน ซึ่งรัฐจะอุดหนุนให้เลยไม่เกิน 3ไร่ แต่กรมพัฒนาที่ดินจะเป็นคนลงมือมาขุดให้  ไม่ได้ให้เงินโดยตรง

"ตอนนี้ ท่านอาจารย์ยักษ์ .ท่านก็เร่งรองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินอยู่  ส่วนเราเพิ่งส่งแบบให้เมื่อเดือนมี.ค.เอง  ส่วนกรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่นน่าจะเร็ว เพราะอธิบดีฯสนใจมาก และถ้าท้องถิ่นเห็นด้วย จะเร็วกว่า กรมพัฒนาที่ดิน เพราะใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่า ดูทั่วประเทศ และเขาไม่ได้สนับสนุนพื้นที่ใหญ่ แค่มุมเล็กๆ  ถ้าทุกบ้านมีมุมเล็กๆทำแบบนี้ เชือว่าหมู่บ้านนั้นจะยั่งยืนแน่ เพียงแต่ต้องให้ความรู้และมีอะไรอื่นๆให้เขา  "

ด้าน4กิจกรรมแตกตัวทั่วไทย -เอามื้อสามัคคี    เป้าหมายชองโครงการ แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี ในปีนี้ ที่จะกระจายตัวจัดกิจกรรมใน 4 พื้นที่ คือ กรุงเทพฯ จันทบุรี สระบุรี และน่าน   

สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ   โครงการฯ เริ่มกิจกรรมแรกที่ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9 กรุงเทพฯ เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชากลางเมืองหลวง  นายพิเชษฐ  โตนิติวงศ์ ผู้จัดการธรรมธุรกิจ เล่าถึงที่มาของโครงการว่า   หลังจากธุรกิจโรงสีล้มละลาย ก็ได้เข้าร่วมอบรมที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง และได้พูดคุยกับ อ.ยักษ์ -ดร.วิวัฒน์    ศัลยกำธร และพี่โจน -โจน จันใด  จนเข้าใจในศาสตร์พระราชาที่ไม่เพียงช่วยแก้ปัญหาด้านการเกษตร แต่เป็นแนวทางการใช้ชีวิต จึงจัดตั้งโครงการ ‘ฐานธรรมธุรกิจ’ เพื่อเป็นตลาดกลางกระจายสินค้าของเครือข่ายทั่วประเทศ ในราคาเป็นธรรมต่อผู้ซื้อและผู้ผลิต เดิมเราหมุนเวียนจัดทำตลาดนัดธรรมชาติไปในที่ต่างๆ จนได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จากเจ้าของโรงเรียนชาญวิทย์เก่าจึงได้ปักหลักที่เดียว 

นอกจากนั้น เรายังจัดเวิร์คช้อปต่างๆ ให้คนได้เรียนรู้จากการลงมือทำ   ซึ่งต่อไปวางแผนว่าจะทำร้านอาหารเพื่อแปรรูปผลผลิตจากเครือข่ายที่เหลือจากการขาย ตอบโจทย์คนเมืองที่ไม่ค่อยทำกับข้าวกินเอง เน้นเรื่องอาหารและสุขภาพเป็นหลัก กิจกรรมในวันนี้  จึงเกี่ยวกับการย่ำก้อนดิน เพื่อสร้างบ้านดินสำหรับร้านอาหารแปรรูป สอนเพาะเมล็ดพันธุ์กล้าไม้และทำแปลงผักในภาชนะต่างๆ แบบคนเมือง และเรียนรู้การปรุงดิน ทำปุ๋ย และสร้างโมเดล โคก หนอง นา ขนาดเล็กในพื้นที่ให้เป็นตัวอย่างสำหรับคนที่มีพื้นที่จำกัด ในอนาคต ก็การวางแผนจะขยายงานไปที่เชียงใหม่ และบ้านศรีฐาน ยโสธรด้วย 

"การทำฐานที่กรุงเทพฯ เพราะผมคิดไปถึงคนเมือง คิดไปถึงคนที่อยู่คอนโด พื้นที่แคบ ถ้าเขาอยากปลูกพืชผักจะทำยังไง ในขนาดพื้นที่  1x2 เมตร หรือพื้นที่ในร่ม จะทำได้ยังไงปลูกแบบไหน   ส่วนตลาดนัดที่จะมีเสาร์ อาทิตย์ เป็นการทำให้คนในเมืองเขาได้รู้ว่าผักที่เขากินมาจากไหน   เพราะปัจจุบันเขาไม่รู้ว่าอาหารที่ซื้อจากตลาดมาจากไหน ซึ่งถือว่าเป็นการไม่ดูแลสุขภาพ นับว่าคนเมืองขาดโอกาสเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค จึงอยากสร้างโอกาสนี้ "พิเชษฐ์กล่าว 

สำหรับ พื้นที่  จ.สระบุรี ซึ่งอยู่ใน ลุ่มน้ำป่าสัก อันเป็นลุ่มที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใย เพราะมีความลาดชันสูงทำให้จัดการได้ยากที่สุด และเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ มีโครงการ"สวนสุขสมบูรณ์ " ขนาด32ไร่  อยู่ที่อ.หนองแซง จ.สระบุรี เป็นการรวมตัวของคนเมือง  13 คนที่มีอาชีพหลากหลาย   ซึ่งในกลุ่มนี้ ยังมี บอย พิษณุ นิ่มสกุล นักแสดงหนุ่มเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มด้วย โดยบอยมีประสบการณ์เคยทำเกษตรอินทรีย์ ตามหลักโคก หนอง นา โมเดลที่จ.สุรินทร์มาแล้ว โดยหุ้นกับแพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ นางเอกสาว และกลายเป็นสวนต้นแบบที่กระตุ้นความสนใจคนในพื้นที่ได้อย่างดี

ถัดมาที่ อ.ท่าใหม่ จ. จันทบุรี   ด้วยแรงบันดาลใจจากพระราชกรณียกิจของสมเด็จ            พระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ที่ทรงห่วงใยประชาชนในจันทบุรีจากภัยแล้งและขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค โดยมีแววศิริ ฤทธิโยธี เจ้าของพื้นที่บ้านสวนอิสรี สวนเกษตรอินทรีย์และฟาร์มมาเมืองจันทน์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นโครงการต้นแบบ ของการเอามื้อสามัคคี 

แววศิริกล่าวว่า 4ปีที่แล้วก็ทำเกษตรเคมี เหมือนคนอื่นๆ แต่มีปัญหาตลาด พอดีแม่ไม่สบายไปซื้อมะละกอมาให้แม่กิน แม่ไม่ยอมกิน บอกว่าอย่าซื้อมาฝากอีกเพราะเชาฉีดยาเยอะมาก  จึงคิดลดใช้สารเคมีหรือใช้น้อยที่สุด เพื่อจะได้ปลูกของดีๆให้แม่กิน  แต่พอลดใช้สารเคมีทำไปๆ สภาพดินกลับดีขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ต้นไม้ก็ดีขึ้น ต่อมาจึงเลิกใช้สารเคมีทั้งหมด และทำเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบ จึงเปิดเป็นสวนเกษตรอินทรีย์ เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชม

"พี่ขุดสระเก็บน้ำเอง ตอนแรก็รู้สึกเสียดายพื้นที่ แต่พบว่าดีกว่าไม่มีน้ำใช้ เพราะถ้าเราไปสูบมาจากที่อื่น ก็จะเป็นน้ำที่มีสารเคมี มียาฆ่าแมลง ที่มาจากสวนใกล้เคียง  เราใช้น้ำของเราเองทุเรียน ลองกอง มังคุดผลผลิตดีมาก รสชาติดี และที่ได้มาคิดอีกอย่างคือ ถ้าเราใช้สารเคมีเยอะๆ น้ำพวกนี้ก็จะไหลลงทะเล มีผลต่อสัตว์น้ำอาหารทะเลที่เรากิน "แววศิริกล่าว

และกิจกรรมสุดท้ายที่ จ. น่าน ในลุ่มน้ำน่าน       ด้วยแรงบันดาลใจจากโครงการในพระราชดำริหลายโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องด้วยทรงเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ให้คืนสู่สมดุลโดยเร็วที่สุด เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน 

บัณฑิต  ฉิมชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน กล่าวว่า น่านมีปัญหาเขาหัวโล้นมานาน เพราะชาวบ้านรุกป่า เพื่อทำไร่ข้าวโพด แต่ปัญหาที่พบคือ นอกจากเสียพื้นที่ป่าแล้ว ชาวบ้านที่รุกป่า ปลูกข้าวโพดไป แต่กลับไมีข้าวกิน  เพราะเมื่อเขาปลูกข้าวโพด 3เดือน แต่ต้องอยู่ให้ได้ 9เดือน  สุดท้ายจึงไปคุยกับชาวบ้าน ชี้ให้เห็นว่าปลูกแล้วข้าวไม่มีกิน ปลูกทำไม  เอาศาสตร์พระราชาไปให้เขา ในที่สุดเขาก็กลับใจ เลิกปลูกข้าวโพด และทำตามศาสตร์พระราชา 

ด้านสุดาพร  พรหมรักษา ชาวบ้านอ.ศรีน่าน ที่เคยรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่านมาแล้ว เพื่อปลูกข้าวโพด ทำไร่เลื่อนลอย แต่พบว่าปลูกแล้วไม่ได้อะไร ต่อมาถูกเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ก็มายึดไร่ แต่ก็ไม่มีการให้ความรู้อื่นๆ แต่อย่างใด เล่าว่า หลังโดนยึดไร่ หัวหน้าบัณฑิต ฉิมชาติ ก็มาเป็นหัวหน้าอุทยาน  ได้เข้ามาพูดคุย ทำความเข้าใจ จึงเกิดความศรัทธา คิดเปลี่ยนแปลงตัวเอง  ตอนนี้เหลือพื้นที่ 14ไร่ จากเดิมมี 50ไร่ แต่พื้นที่แค่นี้ ก็สามารถอยู่ได้ ถ้าทำตามศาสตร์พระราชา ปัจจุบันมีรายได้พออยู่ พอกิน  ไม่มีหนี้

"คนกลุ่มนี้ จะเป็นต้นแบบการเลิกตัดไม้ทำลายป่า คนอยู่กับป่าได้ โดยไม่ทำลายป่า และเขาสามารถอยู่รอดได้ โดยทำตามศาสตร์พระราชา" หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน กล่าวเสริม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"