ผ่านโยบาย ‘ปฐมวัย’ ระดมหาทางออก แก้ปัญหารื้อระบบดูแลเด็กสู่ศตวรรษ 21


เพิ่มเพื่อน    

 

สสส. จัดเสวนา “ผ่าตัดนโยบายให้เด็กปฐมวัยมีพื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์และปลอดภัย” ในรูปแบบ Online Policy Crowd sourcing เนื่องในวันครูโลก 5 ต.ค. ที่ห้องประชุม 201 สสส.สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมภาคประชาชน เพื่อสนองแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก ขับเคลื่อนสู่กลไกระดับชาติภายใต้ พ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2502 ดำเนินรายการโดย ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชนและครอบครัว (สำนัก 4) สสส. โดยวิทยากรทั้งหมด 13 ท่าน เพื่อนำข้อสรุปทั้งหมดเสนอต่อณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.กระทรวงศึกษาธิการและคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาในการป้องกันการทำร้ายเด็กวัยอนุบาล

 

อภิสิริ จรัลชวนะเพท (ครูอุ้ย) ผู้ก่อตั้ง รร.อนุบาลบ้านรักและ Nursery บ้านเรียนแห่งความสุข ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาวอดอร์ฟ กล่าวว่า ในฐานะครูอนุบาลและคนเลี้ยงเด็ก เห็นบรรยากาศนี้มาตั้งแต่รุ่นคุณปู่คุณย่า ตัวเองเป็นรุ่นที่ 3 เห็นวิธีการของผู้ใหญ่ทำงานในบ้าน มีคำถามอยู่ในใจ เราเคยมีเด็กก่อนเกณฑ์ 7 ขวบ เข้าเรียนแผนกอนุบาล (kindergarten) แยกจากชั้นประถม เมื่อมีวิชาการการศึกษาอนุบาลเข้ามาในไทย รู้สึกตื่นตาตื่นใจวิชาปฐมวัย เมื่อทำหน้าที่สอนอนุบาลเด็ก บทบาทไม่เปลี่ยน มองธรรมชาติของมนุษย์ตัวน้อยๆ ว่ามีความต้องการอะไร การมีคนปกป้องดูแลให้ความรักเป็นหลัก มีคุณแม่อยู่ตรงนั้น มีคนทำหน้าที่เสมือนแม่ ครูอนุบาลเป็นแม่ครูให้การอนุบาลเด็กด้วย

 

วัยอนุบาลเป็นวัยที่มีค่ามากที่สุดในการเตรียมเด็กให้เต็มที่ 3 ปีก่อนที่เด็กจะเข้าเรียน รร.ประถม ให้เด็กรู้สึกอิ่มในความอบอุ่น การเรียนรู้ในพื้นฐานของชีวิต อ่านได้โดยธรรมชาติจากป้าย ชื่อ เรียนรู้ในสิ่งที่รับผิดชอบในฐานะที่เป็นลูกของแม่ เรียนรู้งานในครัวเรือน เมื่อออกจากบ้านเจอคนทอผ้า งานแกะสลักไม้ งานศิลปะ งานสวนสวยๆ เป็นพลังชีวิตกับผลผลิตที่ได้รับจากสวน สาระการเรียนรู้ด้วยธรรมชาติของมนุษย์ หัว มือ ใจมีการสร้างแรงบันดาลใจ เมื่อเข้าสู่รั้ว รร. ครูเหมือนแม่ครูในระดับ nursery ให้แม่ครูมีบทบาทสำคัญ ทำตัวอย่างให้เลียนแบบ เป็นแรงบันดาลใจของเด็ก แม่ครูจึงเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเด็กในการสอนงานบ้าน งานหัตถกรรมร้อยดอกไม้ ว่ายน้ำ ทำอาหาร ทำสวน วาดภาพสีน้ำ สีเทียน ละครหุ่น ฯลฯ

 

 

กรองทอง บุญประคอง (ครูก้า) ผู้ก่อตั้ง ผู้บริหารรับใบอนุญาต รร.จิตต์เมตต์ (ปฐมวัย) กล่าวว่า การสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็กปฐมวัย การทำงานในด้านการศึกษาเป็นธุรกิจที่มีจรรยาบรรณ งานปฐมวัยเป็นงานละเอียดอ่อนส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก สร้างโอกาสให้เด็ก การที่ผู้ใหญ่หวังดีเร่งเด็กเรียนเขียนอ่านเพื่อพ่อแม่ จะได้สบายใจว่าลูกอ่านออกเขียนได้ เท่ากับว่าไม่มีพื้นที่สร้างสรรค์ปลอดภัยให้กับเด็ก สิ่งที่ขาดหายไปก็คือสิ่งที่เด็กควรรู้ สมอง EF ควรจะพัฒนาให้เจริญเติบโต ได้รับการขัดเกลา การสร้างวินัยเชิงบวกเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องรู้จักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก เด็กเติบโตอย่างมีความสุข ไม่ทำร้ายทำลายคนอื่น มีความรับผิดชอบในเรื่องสิทธิเด็ก เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ขณะเดียวกัน รร.ก็ควรได้รับการประเมินผลด้วย

 

นพ.บวร แมลงภู่ทอง กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว อดีต ผอ.รพ.แม่และเด็กอุบลฯ กล่าวว่า ต้นไม้เติบใหญ่ได้นั้นถ้ารากไม่ดีย่อมไปไม่รอด งานวิจัยเมื่อครั้งเป็นนักเรียนแพทย์ด้านจิตแพทย์ กุมารแพทย์เขียนอย่างเจาะลึก เวลาที่เด็กอยู่กับพ่อแม่เป็นทุนชีวิต 40 ข้อ ขณะนี้ครอบครัวกว่าครึ่งแยกทางกัน เด็กจบแต่เริ่มแรก งานรวมใจไทยสร้างชาติ งานส่งเสริมดูแลคุณธรรมเด็กดีเป็นงานตามรอยพระบาท Moral Crisis in the Children ขณะนี้ ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ดูแล สิ่งที่จะต้องดำเนินการยุทธศาสตร์สร้างคนและการศึกษาเพื่อสร้างชาติ โมเดลบ้าน 3 หลัง บ้านหลังที่ 1 ครอบครัว บ้านหลังที่ 2 สถานศึกษา บ้านหลังที่ 3 สังคม

 

สัญญาประชาคมใหม่ด้านรัฐกิจ ธุรกิจ ประชากิจ ขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวคำขวัญคณะ กมธ.วิสามัญศึกษาแนวทางการสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2563 ให้ช่วยกันหาแนวทางทำให้คนในสังคมคิดถึงผู้อื่นก่อนตนเอง เคารพและไม่รบกวนซึ่งกันและกันบนเสรีภาพที่มีอยู่ การสร้างคนดี คนเก่ง คนกล้าสู่สังคม ขอให้เป็นผู้ที่เคารพกฎหมาย เข้าใจความเป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้อง เมื่อนั้นก็จะมีคนดี คนเก่งเข้าสู่ระบบการเมือง ร่วมกันพัฒนาประเทศต่อไป

 

นโยบายเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 จะต้องลงทุนตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงจะเกิดความคุ้มค่ามากกว่าการมาให้ความสำคัญเมื่ออยู่ในชั้นประถมศึกษา หากนโยบายเด็กปฐมวัยทำได้จะช่วยทำให้เด็กไทยมี 3 ทักษะใหญ่ ได้แก่ 1.ทักษะพื้นฐานสำหรับชีวิตประจำวัน คือ อ่านออก เขียนได้ เรียนรู้ได้อย่างมีความสร้างสรรค์ 2.ทักษะการ มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณ คือ รู้จักจัดการอารมณ์และสื่อสารเหตุการณ์ที่ซับซ้อน สามารถทำงานเป็นทีมได้ 3.ทักษะบุคลิกภาพ คือ การปรับตัวในชีวิตประจำวัน รู้จักคิดริเริ่ม มีภาวะผู้นำ กล้าลงมือทำ และใจสู้

 

ภูวฤทธิ์ ภูวภิรมย์ขวัญ หรือครูเกมแห่งโรงเรียนอนุบาลช้างเผือก กล่าวว่า การเล่นของเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ผู้ใหญ่กลับมองข้าม ถ้าเราหลับตานึกถึงตัวเองในวัยเด็ก อะไรทำให้เรามีความสุข เด็กที่อยู่ในความดูแลของเรา เรากลับยัดเยียดความต้องการของเราเอง แต่กลับมองข้ามความสุขที่เราโหยหาในวัยเด็ก การเล่นก็คืองานของเด็ก พ่อแม่ครูช่วยกันคิด การเล่นแฝงด้วยการเรียนรู้มากมาย เราอยู่กับปัญหาแต่เราแกล้งมองข้าม แกล้งหลงลืม เราวัดความเก่งผิดที่หรือไม่ ถ้าทุกคนมองปัญหาเด็กเรียนไม่เก่งต้องนั่งอยู่หลังห้อง เรามุ่งเน้นการติว เร่งเรียนทางวิชาการเพื่อให้เด็กได้  เกรดสูงๆ ท่องจำ อดวิ่งเล่นในที่ที่ควรจะเล่น ไม่ได้อ่านนิทาน เด็กไม่ได้ทำในสิ่งที่ครูต้องการ

 

ถ้านโยบายของรัฐมีความชัดเจน เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้ผ่านการเล่น เราไม่จัดการศึกษาทำร้ายพัฒนาการของเด็ก หลายคนจัดการศึกษามองคุณค่าคนละแบบ มองการศึกษาเป็นธุรกิจ มองข้ามความเป็นมนุษย์ของเด็ก ทำอย่างไรที่จะตอบโจทย์ทางด้านการตลาดได้ เร่งผลิตเด็กเรียนคัดเขียนลายมือให้สวย มีงานกลับมาทำที่บ้าน เขียนทั้งไทยและอังกฤษ

 

การที่เรามี พ.ร.บ.การศึกษาเด็กปฐมวัยเป็นเรื่องที่ดี นักการศึกษามีเจตนาที่ดีต่อเด็ก เราต้องไม่หลงลืมพัฒนาการทางธรรมชาติของเด็ก เด็กเรียนรู้ด้วยการเล่นด้วยตัวเองหรือการสร้างแรงบันดาลใจ ความรู้เกิดจากความสนใจของเด็กจนเกิดเป็น inner drive รู้ว่าตัวเองมีความพิเศษในเรื่องอะไรเพื่อต่อยอดความชำนาญของตัวเอง ในสังคมมีเด็กเก่งหลายแบบ ช่วยกันแก้ไขปัญหาได้หลายด้าน เราต้องการเด็กเก่งที่มีความหลากหลายออกไปในสังคมแก้ไขปัญหาของประเทศชาติได้จริง

 

ผู้ปกครองสนใจในเรื่องการศึกษาจริงหรือไม่ แห่พาลูกไปสอบเข้าโรงเรียนดัง เด็ก Hurt ตลอดชีวิตตั้งแต่เด็กอายุเพียง 3-4 ขวบ ทำพ่อแม่ผิดหวัง สอบเข้าโรงเรียนดังไม่ได้ เด็กวัย 5 ขวบทำให้พ่อแม่ fail พ่อแม่มองข้ามพัฒนาการของเด็ก เพราะไปหลงเอาความคาดหวังของตัวเอง พ่อแม่ต้องไม่กดดันเด็ก โรงเรียนก็ไม่ต้องกดดันเด็ก แทนที่พ่อแม่จะถามว่ามีการบ้านไหม ควรจะถามว่าวันนี้โรงเรียนสอนอะไรบ้าง พ่อแม่ต้องจับมือกันทั้งประเทศทำให้เด็กเรียนอย่างมีความสุข มีบูรณาการทั้งประเทศ ทำอย่างไรที่เด็กไม่ต้องสอบเข้าเรียน ป.1 เพราะ รร.ที่มีชื่อเสียงรับเด็กได้น้อย จึงต้องมีกระบวนการเลือกเด็กเข้าเรียน รร.ควรมีกระบวนการรับเด็กที่ไม่ทำร้ายให้เด็กช้ำใจ เด็กจะได้มีความสุขในวัยที่เขาควรจะได้เรียนรู้ เราต้องช่วยกันคุ้มครองเด็ก ดูแลทั้งระบบของประเทศด้วย เด็กนักเรียนอนุบาลเรียนรู้แบบไหนต้องช่วยกันอย่างจริงใจ มองข้ามธุรกิจ ให้เด็กเติบโตอย่างงอกงามตามแบบฉบับที่ดี

 

ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การใช้พื้นที่ออนไลน์ในการสร้างเสริมพัฒนาการและเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทุกวันนี้เด็กเข้าถึง Social Media มากขึ้นและเป็นส่วนตัวมากขึ้น เนื่องจากเด็กมีโทรศัพท์มือถือใช้ถึง 94% เป็นเครื่องส่วนตัว 69% เป็นการดู social media ผ่านมือถือ 94.3% ดูจากจอคอมพิวเตอร์ 27.7% ดูผ่านแท็บเล็ต 14.7%

 

ความสมดุลระหว่างประโยชน์และโทษของ Social Media ที่ต้องมีกลไกคอยควบคุมประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ข้อมูลข่าวสาร ความบันเทิงและสังคม พัฒนาการทางสมาธิและอารมณ์ การล่อลวงและการล่วงละเมิด การข่มเหงรังแก

 

ความเสี่ยง 3 มิติ นับตั้งแต่การควบคุมการใช้ภายในบ้าน เนื้อหา ระยะเวลา อยู่ในระดับเสี่ยง facebook 44% youtube 76% Gamer 62% กลุ่มที่อยู่ในระดับเสี่ยงมาก facebook 12% youtube 9% gamer 7% เป็นที่น่าสังเกตว่า พ่อแม่เกินกว่าครึ่งมีแนวโน้มที่จะใช้ Social Media ค่อนข้างมากกว่ากลุ่มอื่นๆ และไม่เป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้แก่เด็ก สถิติพ่อแม่อยู่กับ Social Media มากกว่า 7 ชั่วโมง 5-6 ชั่วโมง/วัน 3-4 ชั่วโมง/วัน 1-2 ชั่วโมง/วัน น้อยกว่า 1 ชั่วโมง/วัน และไม่ใช้เลย

 

มาตรการเพื่อการใช้พื้นที่ออนไลน์ในการสร้างเสริมพัฒนาการและเรียนรู้ของเด็กนั้นจำเป็นต้องมี Guideline ในการใช้ Social Media ในบ้าน ไม่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบใช้สื่อจอใส ระบุระยะเวลาการใช้ต่อเนื่องที่ชัดเจน การใช้ Social media โดยอยู่กับลูกด้วย ไม่ปล่อยให้ลูกใช้ Social Media ตามลำพัง

 

การส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีทักษะในการติดตามและควบคุมการใช้งาน Social Media ของเด็ก การสร้างระเบียบวินัย การหาพื้นที่สร้างสรรค์เป็นตัวอย่างที่ดี การมีระบบหรือช่องทางที่จะให้ไกด์ไลน์นี้ไปถึงผู้ปกครองผ่านสมุดสีชมพู ไกด์ไลน์สำหรับการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลและการใช้ Social media ในพื้นที่โรงเรียน ไม่อนุญาตให้มี Chatroom กับนักเรียนหากจำเป็นต้องมีผู้ปกครองอยู่ด้วย ขณะเดียวกันมีระเบียบข้อบังคับในการลงทะเบียนผู้ใช้งานที่ต้องระบุอายุผู้ใช้ การจัดประเภทเกมออนไลน์ตามอายุที่เหมาะสมสำหรับเด็ก การกำหนดเวลาการเล่นต่อเนื่องในแต่ละวัน “ภัยที่อยู่ในมือและใกล้เด็กที่สุด หากขาดมาตรการที่มีประสิทธิภาพ” โครงการวิจัยยุวชนนิเวศเจเนอเรชั่น

 

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ ผู้สมัครเข้าร่วมเวทีระดมข้อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย กล่าวว่า ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กอาจเกิดจากค่านิยม “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการเลี้ยงดูเด็กด้วยความรุนแรงจะทำให้เด็กเกิดความกลัว ฝังใจกับสิ่งที่ถูกกระทำ และยังมีผลต่อพัฒนาการทั้งทางกายและใจ ซึ่งการจะลบค่านิยมเหล่านี้จะต้องปรับที่ผู้ใหญ่ทุกคน โดยปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก และปลูกฝังแนวทางการเลี้ยงดูเด็กด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์และปลอดภัย

 

ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร (ครูหม่อม) อาจารย์สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยและนักการศึกษา กล่าวว่า ได้นั่งอยู่ท่ามกลางกัลยาณมิตรในศูนย์บริหารสถานการณ์วิกฤติเด็กปฐมวัย เราต้องเอาคำว่าวิกฤติออกไป คุณสมิทธิ์ (อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์) เป็นลูกศิษย์ครูหม่อมรุ่นแรก เด็กไทย  มีพัฒนาการที่ล่าช้า 30 ปี วิกฤติมีมากมายจนเราเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งๆ ที่ต้องทำให้วิกฤติหมดไป การ Bully เด็กด้วยกันเป็น 10 ปีก็ยังไม่หมดไป เมื่อเกิดเรื่องกับโรงเรียนดัง สถานการณ์ฉุกเฉินนี้มีการวิ่งเข้ามาขอความช่วยเหลือ มี EF Center เข้ามาซ้อมสติ สมองมนุษย์

 

หากเราเกิดวิกฤติอย่างที่เรานึกถึงปวีณา หงสกุล ปัญหาคนถูกข่มขืนต้องมีการกำกับดูแลติดตามผลนำมาบูรณาการเหมือนกับการทำงานศูนย์โควิด เมื่อมีวิกฤตินโยบายครูหม่อม ครูหวาน ครูธิดาพิทักษ์ให้ถึงที่สุด ผลงานเหล่านี้ได้รับความร่วมมือจาก สสส. นักวิชาการนำเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการ นโยบายแผนปฏิบัติการเด็กปฐมวัย 5 สิ่งที่มีอยู่จริง ครู เด็ก ครอบครัว เรื่องครูปฐมวัยมุ่งเน้นร่างกาย สติ ปัญญา ความรู้ด้านจิตวิทยา การที่เด็กอายุ 4 ขวบ แสดงอาการโกรธดิ้นพราดๆ กับพื้น เด็กคนนี้ผิดปกติหรือไม่ เด็กคนนี้ขาดทักษะเมื่อโกรธ ปาข้าวของ เราควรจะปรี๊ดด้วยหรือไม่ ครูปฐมวัยต้องเพิ่มทักษะ เห็นทักษะ 4 ด้านที่ทำลายพัฒนาการตัวตนของเด็ก พวกเราเสีย self หรือไม่

 

ในห้องเรียนการที่ครูถามนักเรียนว่า ไหน ใครมีคำถามบ้างไหม ครูแก้ไขปัญหาด้วยการเดินเข้าไปถามเด็กเอง เด็กก้มหน้า แสดงออกว่าหนูไม่มีตัวตน เป็นจุดเริ่มต้นเด็กไม่มี EF ทักษะการคิดเป็นเรื่องของตัวตนคือความรู้สึกนึกคิด เด็กไม่มีตัวตน ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ครูต้องมีอยู่จริง เด็กรู้สึกว่ามีอยู่จริงมากกว่าการเรียนรู้แสดงความคิดเห็นด้วยการดูหลักสูตรปฐมวัย ในการหาโอกาสและความสำเร็จที่มีอยู่จริง ครูจัดกิจกรรมอะไรก็ได้ เด็กเรียนรู้ที่จะประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เรียนรู้ที่จะพ่ายแพ้

 

ถ้าโรงเรียนไม่มีความปลอดภัย พ่อแม่มีสิทธิเลือกโรงเรียนให้ลูกได้ การที่มีครูดีๆ อยู่นิ่งเฉยในวงจรอุบาทว์ มีพ่อแม่เด็กหนีตายออกไป ต้องช่วยเขาเยียวยาพ่อแม่  พ่อแม่รู้สึกผิดที่ส่งลูกไปเรียน รร.นี้ เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่จะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับลูก สิ่งที่เกิดขึ้นมีบทลงโทษเพียงพอไหม อีก 2 ปีกลับมาอีก เรื่องของวิชาชีพ จะต้องจัดการความเครียดให้เป็น

 

ดร.ปิยะวดี ธนเศรษฐกร (ครูใหม่) Thailand EF Partnership ครูประถมวัย เรียนจบด้านการศึกษาปฐมวัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจากสหรัฐ ภาพจิ๊กซอว์เป็นทฤษฎี ครูปฐมวัยเรียนและนำไปใช้ด้วยในการฝึกอบรม ทำงานวิจัยวินัยเชิงบวก สร้างพื้นที่เรียนรู้ที่สร้างสรรค์และปลอดภัย กรอบแนวคิดเชิงบวก คุณธรรม สามัญสำนึก สุขภาพจิต ทักษะศตวรรษที่ 21 คำว่าฝึกวินัยแปลว่าสอนฝึกฝนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะแนวทางให้เด็กเป็นผู้เลือกและตัดสินใจว่าอะไรควรหรือไม่ควร เพื่อแสดงพฤติกรรมผ่านการเรียนรู้ ไม่ใช่การบังคับ เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือเด็กมีวินัยในตนเอง เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อเด็กรู้สึกอยู่รอด ปลอดภัยในขณะเรียนรู้

 

การสร้างวินัยเชิงบวกคือการสร้างวินัยที่มุ่งเป้ามุมบวกของพฤติกรรมที่เหมาะสมที่เราต้องการให้เด็กทำแทนการมุ่งเน้นไปในสิ่งที่เราไม่ต้องการบนพื้นฐานความคิดว่า “เด็กดื้อหรือเด็กท้าทายนั้นไม่มี” มีแต่ “พฤติกรรมต่อต้าน อยากรู้ อยากลอง” ดังนั้นเราสามารถสอนและกระตุ้นส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมในขณะเดียวกันทำให้การดื้อ การซน ท้าทายหายไป โดยลด ละ เลิก การทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ การผ่าตัดนโยบายให้ความรู้มาตรการสู่ภาคปฏิบัติจำเป็นต้องมีหน่วยงานกลาง แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นักการศึกษาพิเศษ ล้อมวง

 

รร.อนุบาลในเมืองไทยมีความแตกต่างจาก รร.อนุบาลในสหรัฐ โดยเฉพาะการสร้างวินัยเชิงบวกและเสริมทักษะสมอง EF ไม่มีในเมืองไทย ดังนั้น ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร น้องสาวนำความรู้นี้มาทำวิจัยประสบความสำเร็จกลับมา ทุกคนรู้จักเรื่องการพัฒนาการ 4 ด้าน เรื่องจิตวิทยาไม่ได้ถูกนำมาใช้ในห้องเรียน เราพี่น้องสองคนอยากเปิด รร.อนุบาล แต่ไม่สามารถ recruit ครูมาได้ ครูที่จบโดยตรงก็ขาดความรู้ เขียนได้ดีแต่เมื่อลงมือปฏิบัติ การใช้คำพูดสื่อสารกับเด็ก  บางครั้งครูอยากมีด้านจิตวิทยาแต่ไม่มีความรู้ ครูใหม่ได้เจอภาคีเรื่อยๆ ในวงการเด็กปฐมวัย ในประวัติศาสตร์เด็กปฐมวัยในเมืองไทยมีกลุ่มที่รู้ปัญหาเล็กมาก เสียงเบาแต่เป็นเสียงที่แข็งแรง ไม่เลิกไม่จบได้ง่ายๆ ทำงานอย่างต่อเนื่อง กลุ่มหนึ่งมีความรู้จริง อยากเห็นการเชื่อมต่อ มีวินัยเชิงบวกและมีทักษะสมอง EF ครูปฐมวัยได้เรียนและได้นำหลักสูตรมาใช้ในการสร้างอาชีพ

 

เรื่องการละเมิดสิทธิเด็ก อย่าทำลายตัวตน อย่าทำลายสมองของเขาด้วย ปล่อยให้เขาเป็นไปตามธรรมชาติ การผ่าตัดนโยบายต้องให้ความรู้ ปล่อยให้เขาเป็นไปตามธรรมชาติ มีการปฏิบัติด้วย เมื่อมีการผ่าตัดนโยบายก็ต้องผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกไป อยู่ไปมีแต่บั่นทอนกลายเป็นภาระ นำสิ่งที่ดีกว่ามาใส่ให้มีชีวิตเป็นมนุษย์ปกติอีกครั้ง ให้เด็กมีความเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ใช่ขอให้เป็นอัจฉริยะ สุภาษิตที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” ใครอยากเรียนก็ต้องได้เรียน “ครูรู้แต่ครูไม่ทำ ครูที่ไม่รู้แต่อยากจะทำ” การคัดเลือกครูในวงการศึกษาต้องมีการประเมินผลให้เห็นจรรยาบรรณด้วย มีการนำเสนอคนที่ควบคุมดูแล ผู้ปกครองต้องทราบว่าเมื่อลูกมีปัญหาอะไรทางบ้านจะช่วยเหลืออะไร มิฉะนั้นเป็นการโยนภาระกับบทบาทความเป็นครู

 

ผลจากงานวิจัยสมองต้องเรียนรู้ได้ตามพัฒนาการ ในเรื่องสรีระอ่านออกเขียนได้ผ่านการเล่น ผ่านละคร ผ่านดนตรีลงไปถึงวิธีการสร้างวินัยเชิงบวก ถ้าใช้วิธีการบังคับและควบคุมเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก.

 

เสนอ 12 ข้อ สร้างพื้นที่ปลอดพฤติกรรมรุนแรงต่อเด็ก

เครือข่ายภาคีสร้างสุขภาวะเด็ก มอบ 12 ข้อเสนอป้องกันแก้ไขปัญหาละเมิดเด็กต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตัดคำว่า “โรงเรียน” ออกจากอนุบาล มุ่งคุ้มครอง ดูแล เน้นวินัยเชิงบวก ครูเข้าใจจิตวิทยาเด็ก สร้างระบบตรวจสอบ-แจ้งเหตุผ่านระบบดิจิทัล ตัวแทนจากกระทรวงศึกษาธิการ กทม. เครือข่ายภาคีสร้างสุขภาวะเด็ก สสส. เดินทางไปมอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการละเมิดเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัยสำหรับเด็ก ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มี ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดย ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้แทนคณะกรรมการฯ รับมอบ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงเจตนารมณ์สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายฯ สู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้เด็กปฐมวัยอย่างแท้จริง

 

 

ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. กล่าวว่า ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายทั้ง 12 ข้อนี้ล้วนเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น ซึ่งเครือข่ายภาคี  นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน และพ่อแม่ผู้ปกครองได้ร่วมกันวิเคราะห์ว่าหากทำทันทีจะเป็นกำไรของสังคมไทยมาก เพราะเด็กโตเร็ว และโตขึ้นทุกวัน ยิ่งช้า สังคมไทยก็ยิ่งเสียโอกาส

 

ขอให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยประกาศตนเป็นพื้นที่ปลอดพฤติกรรมรุนแรงต่อเด็ก ด้วยกาย วาจา อารมณ์ และแสดงมาตรการในการดำเนินงานให้สอดคล้อง ตลอดจนกำหนดแนวทางติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ และประกาศ  หลักการสำคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัยที่สอดคล้องกับพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก คำนึงถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และยึดหลักการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย คือ การรักษาความเป็นธรรมชาติของเด็กไว้ และเปิดโอกาสให้จิตวิญญาณ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา พัฒนาไปพร้อมกันอย่างสมดุลและเหมาะสมตามวัย ไม่ใช่การสอนเพื่อเร่งเรียนเขียนอ่าน พิจารณาตัดคำว่า “โรงเรียน” ออกจากอนุบาลเพราะสร้างความเข้าใจผิดว่าเด็กต้องอ่านออกเขียนได้ ควรใช้คำว่า “อนุบาล” ซึ่งราชบัณฑิตยสภาให้ความหมายว่า “ตามเลี้ยงดู ตามระวังรักษา” ณัฐยากล่าว

 

สุดใจ พรหมเกิด ผู้อำนวยการมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กล่าวว่า ปัญหาที่เป็นทั้งเรื่องสำคัญและเร่งด่วน ควรได้รับการจัดลำดับแก้ไขและคลี่คลายเป็นลำดับต้นๆ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงเป็นการกระทำความรุนแรงต่อเด็กเท่านั้น ผลกระทบจากมือถือ ความบีบคั้นจากภาวะเศรษฐกิจ การเร่งรัดทางการศึกษา ฯลฯ กำลังเผยผลรูปธรรมจากวิกฤติที่สั่งสมมายาวนาน ซึ่งเราสามารถพยากรณ์สภาพพลเมืองไทยและสังคมไทยในอีก 10-15 ปีข้างหน้าได้ว่าจะเป็นเช่นไร การแก้ไข เยียวยา และการพัฒนา จึงควรทำอย่างเร่งด่วน

 

อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์ ผู้ก่อตั้ง Life Education Thailand หนึ่งในเครือข่ายภาคีสร้างสุขภาวะเด็ก กล่าวว่า ข้อเสนอครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย หัวใจสำคัญอีกประการคือ ต้องส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการพัฒนาเด็กปฐมวัยร่วมกับครูอาจารย์ และกำหนดให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีหน้าที่ให้ความรู้เรื่องพัฒนาการเด็กอย่างถูกต้องแก่ผู้ปกครอง เพื่อทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

 

เชษฐา มั่นคง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวว่า ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้นจะต้องเน้นการดูแล พัฒนา จัดการเรียนรู้ และต้องทำตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา เพื่อให้เด็กมีร่างกายแข็งแรงและสมองพัฒนาเต็มที่ ส่วนที่บ้าน ครอบครัว และสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จะต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเล็กหรือเด็กปฐมวัยเป็นอันดับต้นๆ ขณะเดียวกันผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องดูแลเด็กปฐมวัยจะต้องตระหนักรู้ด้านการพัฒนาเด็กที่มุ่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่วนพ่อแม่ ครู และผู้ดูแลเด็กเป็นเพียงผู้สนับสนุน เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างอิสระ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยอย่างที่เป็นข่าวในปัจจุบัน

 

การพัฒนาเด็กปฐมวัย ไม่ได้มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นผู้ที่ดูแลโดยเฉพาะ จะต้องมีหลายๆ หน่วยงานร่วมกันบูรณาการนำไปสู่การกำหนดทิศทางพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ชัดเจนมากขึ้น สุดท้ายนี้เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัยทำงานขับเคลื่อนได้อย่างเต็มที่และมีคุณภาพ จึงจำเป็นต้องมี “หน่วยงานหรือสำนักงาน” ของตนเอง เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นการเฉพาะ” นายเชษฐากล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"