ขยายผลใช้ 4DNA พัฒนาออกแบบสินค้าวัฒนธรรม 3 จังหวัดนำร่อง โชว์อัตลักษณ์ท้องถิ่น


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

 

     วันนี้ - ดร.วิมลลักษณ์ ชูชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กล่าวว่า สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ดำเนินโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม  โดยนำความรู้ทางด้านศิลปะร่วมสมัยมาออกแบบสร้างสรรค์ให้กลายเป็นสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากทุนวัฒนธรรมดั้งเดิม ผ่านการใช้ศาสตร์ 4 DNA  ที่ช่วยถอดจุดเด่นของจังหวัดตั้งแต่คำขวัญ แหล่งท่องเที่ยว เศรษฐกิจสังคม อาณาเขต ประเพณีวัฒนธรรม และจุดเด่นอื่นๆ มาใช้ออกแบบเป็นสัญลักษณ์ โลโก้ หรือลวดลายสินค้าพิเศษเพื่อไปใช้กับสินค้าผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ ซึ่งผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2561-2563  ได้รับการตอบรับและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี  มีชุมชนเข้าร่วมโครงการ  12 จังหวัด  รวม  137 อำเภอ  โดยแต่ละชุมชนมีความเข้าใจในการนำทุนทางวัฒนธรรมไปปรับใช้อย่างสร้างสรรค์ ได้ผลงานที่ออกแบบมาอย่างสวยงาม แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ในท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น  พร้อมกันนี้ ได้มีการประสานงาน กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน  ระดมความคิดเห็นและนำมาภูมิปัญญาพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการจากต้นทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในท้องถิ่น  สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศหลาย 100 ล้านบาท 

     ดร.วิมลลักษณ์ กล่าวอีกว่า  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สศร.จะขยายผลการดำเนินงานและพัฒนารูปแบบสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม ตั้งเป้าหมายสร้างวิสาหกิจชุมชน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน  ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยได้คัดเลือก 3 จังหวัด นำร่อง รวม 28 อำเภอ เพื่อดำเนินการ ประกอบด้วย  จ.สุพรรณบุรี  10 อำเภอ  จันทบุรี 20 อำเภอ  และกระบี่  8 อำเภอ  ซึ่งแต่ละแหล่งมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น  มีศักยภาพในการพัฒนา และมีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอ ตามนโยบายหลักของรัฐบาล เพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติไปสู่การปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม  ทั้งนี้ กำหนดแผนการดำเนินงานด้วยการสรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบที่มีประสบการณ์ มาถ่ายทอดความรู้ด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์จังหวัด นำไปสู่การผลิตผลงานสร้างสรรค์การออกแบบที่เกิดจากการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม มุ่งเน้น ผลผลิตให้มีรูปแบบสวยงาม ทันสมัย มีแนวโน้มในด้านการตลาด และสามารถแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดอย่างชัดเจน จากนั้นจะมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นใน 3 จังหวัด และจัดพิมพ์หนังสือรวบรวมผลงานการออกแบบที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นในโครงการฯ 

     “ ในปี พ.ศ. 2560 รายได้จากการซื้อสินค้าและของที่ระลึกมีมูลค่าสูงถึง 672.95 พันล้านบาท จากมูลค่ารายได้ภาคการท่องเที่ยว 2.76 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของรายได้ภาคการท่องเที่ยวทั้งหมด ขณะที่ปี  2561-2563 ก็มียอดจำหน่ายสูงหลักร้อยล้านบาท ดังนั้น สศร. จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงมหาดไทยในการผลักดันสินค้าชุมชนที่ได้พัฒนาแล้วไปเปิดตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะการทำการตลาดออนไลน์  สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ” ดร.วิมลลักษณ์  กล่าว   


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"