ชนะโควิดต้องไม่ทิ้งเศรษฐกิจให้อับเฉา


เพิ่มเพื่อน    

 

ปฏิกิริยารัฐบาลในการจัดการเศรษฐกิจ ดูจะเป็นไปในลักษณะแบบ”กระดานหก” ซึ่งสะท้อนถึงความขาดดุลยภาพอย่างชัดเจน และน่าเป็นห่วงเป็นกังวลอย่างยิ่ง

นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตัง้ แต่วันที่ 26 มี.ค.เป็นต้นมา พร้อมกับระดม
บุคลากรทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญงานด้านสาธารณสุขชัน้ นำของประเทศมาช่วยระดมความคิดเห็น ร่วมกับบุคลากรด้านการปกครองและด้านความมั่นคง ออกแบบแนวทางการจำกัดและยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายใต้กลไก”คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรั สโคโรน่า 2019 (โควิด-19) “ หรือ “ศบค.”

การดำเนินงานควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ผลยอดเยี่ยม กระทั่งประเทศไทยได้รับยกย่องจากประชาคมโลก ให้เป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดีที่สุดในลำดับต้นๆของโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่น่า
ชื่นชมอย่างยิ่งในทางกลับกันนายกรัฐมนตรี ได้ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการเศรษฐกิจแถวหน้าของประเทศ มาช่วยระดมชุดความคิดออกแบบแนวทางมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวนมากมาย แต่ผลลัพธ์ที่ปรากฏ กลับมิได้เป็นไปในท่วงทำนองเดียวกับการควบคุมการแพร่ระบาดในโควิด-19 ชุดมาตรการแรกในการเยียวยาประชาชน จากผลกระทบอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่นำเสนอโดยกระทรวงการคลัง และได้รับความเห็นชอบ

จากที่ประชุมคณะรั ฐมนตรีคือ”มาตรการเราไม่ทิ้งกัน”สาระสำคัญของมาตรการเราไม่ทิ้งกัน คือการจัดสรรวงเงินงบประมาณ ไปแจกฟรีแก่ประชาชนอัตราคนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือนต่อเนื่องกันระหว่างเดือนเม.ย.-มิ.ย. 2563 โดยกำหนดจำนวนประชากรเป้าหมายไว้ 3 ล้านคนและกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณไว้ไม่เกิน 50,000 ล้านบาท

เป็นที่น่าสังเกตว่าทันทีที่มาตรการดังกล่าวถูกแถลงออกไปอย่างเป็นทางการแทนที่จะได้รับความชื่นชม กลับกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากสาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชน และนักวิชาการ

ประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดคือจำนวนประชากรเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียง 3 ล้านคน ไม่ครอบคลุมประชาชนที่ถูกกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งสะท้อนชัดเจนถึงความบกพร่องของกระทรวงการคลังในการสังเคราะห์ข้อมูล และปราศจากการบูรณาการข้อมูลจำนวนประชากรที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งสำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงงาน และกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ในที่สุดกระทรวงการคลัง ต้องจำนนด้วยข้อมูลความจริงที่ปรากฏจากจำนวนผู้ลงทะเบียนที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งสูงเกินกว่า 23 ล้านคนมากกว่าที่กำหนดไว้เดิมเกือบ 8 เท่าตัว ทำให้กรอบวงเงินที่เตรียมไว้เบื้องต้น
50,000 ล้านบาท จำเป็นต้องขยายเป็นกว่า 3 แสนล้านบาทมาตรการเราเที่ยวด้วยกัน วงเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผลักดันออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจบริการท่องเที่ยว ก็ดูจะไม่สามารถบรรลุเป้าประสงค์ในการบรรเทาผลกระทบแก่ผู้ประกอบการตามที่ได้ตั้งใจ แต่กลับยังคงดึงดันดำเนินการต่อไป ด้วยการเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่ประชาชนผู้ลงทะเบียนใช้ประโยชน์จากมาตรการ ควบคู่ไปกับการขยายระยะเวลาการ
สิ้นสุดออกไปจากเดือนธ.ค.2563 เป็นเดือนเม.ย.2564

การปรับปรุงเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ประกอบการยืดเวลามาตรการเที่ยวด้วยกัน ยังผ่อนปรนให้กิจการโรงแรมที่พัก ซึ่งไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เข้าร่วมในมาตรการนี้ได้ อีกทัง้ การจองใช้สิทธิ์ยังเปิด
โอกาสให้จองผ่านแพลทฟอร์มของต่างประเทศได้อีกด้วย ซึ่งเป็นลักษณะการกระทำที่ไม่น่าจะถูกต้องและไม่น่าจะเหมาะสม ทั้งยังอาจเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฏหมายอีกด้วย

นอกจากนี้มาตรการเสริมสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการผ่านโครงการสินเชื่อนับสิบโครงการ รวมวงเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ก็ดูจะมิได้บรรลุวัตถุประสงค์ในการช่วยเสริมสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีผู้ประกอบการ
จำนวนมาก ต่างโอดครวญเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน มาตรการที่ดูจะถูกใจมหาชนอย่างที่สุด และได้รับการชื่นชมยินดีมากที่สุดเหนือ ทุกมาตรการของรัฐบาลคือมาตรการ“คนละครึ่ง” ที่มีลักษณะเป็นมาตรการ”ร่วมจ่าย”
ระหว่างรัฐ กับประชาชน ฝ่ายละครึ่ง ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 52,500 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามการทำหน้าที่ของรัฐบาลในการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ในการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน จากผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งเกี่ยวพันกับเงินงบประมาณมูลค่านับล้านล้านบาท และเกี่ยวพัน
กับภาระหนี้สาธารณะที่ขยายตัวสูงขึ้น ยังเป็นที่น่าสงสัยอย่างมากต่อผลสัมฤทธิ์ในการบรรเทาผลกระทบ และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศน่าสงสัยว่าความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการใช้
จ่ายเงินงบประมาณจำนวนมหาศาลผ่านมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ตลอดจนผู้ประกอบการ จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลับมิได้ส่งผลทางบวกต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

ในทางตรงกันข้าม กลับมีนักลงทุนทะยอยปิดกิจการ เลิกจ้าง และถอนการลงทุนจากประเทศไทย ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทัง้ ที่มีประสิทธิภาพการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้อยกว่าประเทศไทย ปรากฏการณ์ย้อนแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างความเชื่อมั่นในการควบคุมการ แพร่ระบาดของโควิด-19 กับความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายขีดความสามารถของรั ฐบาลอย่างมากรัฐบาลจะบริหารจัดการกับสถานการณ์เชิงลบทางเศรษฐกิจ ที่มีแนวโน้มเลวร้ายและรุนแรงมากขึ้นอย่างไร ในเมื่อสายป่านของผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือแม้กระทั่งขนาดใหญ่ นับวันจะเหลือน้อยเต็มที อีกทั้งโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องก็แสนริบหรี่
ยิ่งไปกว่านั้นแนวโน้มการว่างงาน ก็มีความโน้มเอียงจะมีความน่าวิตกกังวลมากขึ้น โดยมีสาเหตุจากการปิดกิจการ-เลิกจ้างแรงงานที่มีจำนวนมากขึ้น สมทบกับแรงงานใหม่จากสถาบันการศึกษา ที่ไม่มีแหล่งงานรองรับ

รัฐบาลจำเป็นต้องตระหนักถึงมหันตภัยวงจรอุบาทว์ทางเศรษฐกิจ อันสืบเนื่องมาจากโควิด-19 ที่กำลังก่อตัวขึ้่น และกัดกร่อนรากฐานความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ด้วยการประมวลข้อมูลผลกระทบอย่างละเอียดและมีความถูก
ต้องตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อการกำหนดแผนงาน โครงการ และมาตรการที่สอดคล้องกับปัญหา ขณะเดียวกันก็ต้องออกแบบกระบวนการในการขับเคลื่อนมาตรการเพื่อบรรลุเป้าหมายในการหยุดวงจรอุบาทว์ทางเศรษฐกิจ ฟื้นฟูความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน และกระตุ้นการจ้างงานให้เกิดขึ้นโดยเร็ว

รัฐบาลต้องไม่ปล่อยทิ้งใครไว้ข้างหลังเด็ดขาด !!!!

นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"