ท่องจินตนาการอยุธยาเรืองรองผ่านระบบ AR - VR


เพิ่มเพื่อน    

วัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา นำเสนอผ่านเทคโนโลยี AR และ VR

 

 

     วัดราชบูรณะ จัดว่าเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่มากที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  มีอายุกว่า 500 ปี  ภายในวัดประกอบด้วยองค์ปรางค์ประธานซึ่งล้อมรอบด้วยระเบียงคต มีพระวิหารตั้งอยู่พระอุโบสถ ภายในกรุปรางค์จะมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยาตอนต้น แสดงถึงอิทธิพลศิลปะจีน อีกทั้งยังมีกรุมหาสมบัติอยู่ 3 กรุ เรียงลำดับอยู่ในระดับความสูงฐานของเจดีย์อีกด้วย

   ที่นี่นับเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เพื่อให้ผู้เข้าชมได้เห็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของโบราณสถาน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้เปิดตัวการพัฒนานำเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality) มาใช้ในการนำเสนอข้อมูลมรดกวัฒนธรรม เพื่อสร้างความน่าสนใจให้ผู้เข้าชมมากยิ่งขึ้น   ซึ่งเนื้อหาเป็นการสันนิษฐานจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ของ ศ.เกียรติคุณ สันติ เล็กสุขุม นักประวัติศาสตร์ศิลปะ  ซึ่งการนำเสนอโดยเทคโนโลยี AR และ VR  จัดทำขึ้นที่โบราณสถานภายในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จำนวน 11 แห่ง  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จำนวน 10 แห่ง อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จำนวน 9 แห่ง และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จำนวน 6 แห่ง

 

ไม่ได้อยู่อยุธยา ก็สามารถชื่มชมวัดราชบูรณะนอกสถานที่ด้วยเทคโนโลยี AR

 

      นอกจากนี้ กรมศิลปากร ยังมีการพัฒนาระบบนำชมโบราณสถานที่เป็นแหล่งเข้าถึงยากและไม่เปิดให้เข้าชม ผ่านระบบกล้อง VR จำนวน 2 แห่ง คือ กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และอุโมงค์วัดศรีชุม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งจะช่วยให้สามารถรับรู้บรรยากาศเสมือนได้เข้าชมจริง
      นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา นับว่าเป็นสถานที่หนึ่งในการเรียนรู้เรื่องในประวัติศาสตร์ที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้างของโบราณสถานที่มีการสันนิษฐานแผนผัง รูปร่างหรือขนาดของตัวอาคาร รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่ใช้สร้างโบราณสถานแต่ละแห่ง ทำให้เราสามารถที่จะสันนิษฐานให้เห็นภาพของโบราณสถานในอดีต โดยในครั้งนี้ ได้สร้างประสบการณ์การเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น    ด้วยการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการข้อมูลความรู้ด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมสู่ประชาชน โดยผู้เข้าชมจะสามารถเห็นรูปแบบสันนิษฐานที่ปรากฏซ้อนทับลงบนโบราณสถานจริง ผ่านแอพพลิเคชั่น  AR Smart Heritage  ซึ่งผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้าจากนักประวัติศาสตร์ศิลปะที่เชี่ยวชาญ ทำให้เราได้จินตนาการเห็นถึงความรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ของเมืองมรดกโลก และจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางโบราณสถานอย่างต่อเนื่องในอนาคต
 

รูปแบบสันนิษฐานที่ปรากฎซ้อนทับลงบนวัดราชบูรณะ โบราณสถานสำคัญ  

 

     ด้าน ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ผู้สร้างรูปแบบสันนิษฐานในการจัดทำ เทคโนโลยี AR-VR กล่าวว่า  ต้องการเชื่อมโยงเข้ากับเทคโนโลยีกับการชมโบราณสถาน เพื่อให้คนเข้าถึงมากขึ้น และเพื่อให้โบราณสถานมีการเคลื่อนไหว หลากหลายมิติ  แต่ในการทำงานเกี่ยวกับโบราณคดีก็มีข้อจำกัดในการสันนิษฐาน เพราะบางแห่งเหลือเพียงซากปรักหักพัง ที่ไม่สมบูรณ์ ยากจะคาดเดาโครงสร้าง ดังนั้นในฐานะที่ตนเป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะมาหลายสิบปี ก็ต้องใช้องค์ความรู้ที่มีเป็นหลักสำคัญ พร้อมกับการสำรวจรอบโบราณสถาน เพื่อเทียบเคียงกับโบราณสถานอื่นที่อาจจะมีความใกล้เคียง ในการสร้างรัชสมัยเดียวกัน 
      ส่วนข้อมูลเอกสารประวัติศาสตร์ที่นำมาสันนิษฐาน  ศ.ดร.สันติ กล่าวว่า ก็มีข้อจำกัดอีกคือ เหลืออยู่น้อยมาก และไม่ทราบแน่ชัดว่ามีข้อเท็จปนอยู่เท่าไหร่  ซึ่งอาจจะมีการผสมคำให้การของคน ที่เป็นคนพม่าให้ข้อมูลภาษาพม่า พอมีการนำมาแปล อาจจะแปลผิดหรือถูกเกินจริงก็ไม่ทราบได้ พื้นฐานข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ศิลปะจะช่วยให้ชั่งน้ำหนักได้มากขึ้น และอีกส่วนคือจินตนาการที่เราใส่เข้าไป คือ หากข้อมูลเหลืออยู่ 5% จินตนาการคือ 95% ส่วนเอกสารประกอบอีก 5% ทำให้โบราณสถานมีความสมบูรณ์ขึ้นมาในรูปแบบการสันนิษฐาน

     “ อย่างที่วัดราชบูรณะ ที่สามารถใช้รูปแบบอิงตามพระราชวังหลวงในกรุงเทพฯ ว่ามีเดิมแล้วมีโครงสร้างอย่างไร แต่ไม่ใช่ว่าเราจะเอารูปแบบพระราชวังหลวงมาใช้เลยไม่ได้ เพราะเป็นพระราชวังสมัยรัตนโกสินทร์ แต่วัดราชบูรณะอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงต้องมีการปรับรูปแบบสถาปัตยกรรมโดยดูความพอดีของยุคสมัยว่าควรจะถอยหลังไปอีกถึงยุคสมัยไหน  อย่างหลังคายังดีที่ยังเหลือโครงสร้างบางส่วนที่ยังสามารถเอามาเป็นหลักในการสันนิษฐานหลังคา แต่ไม่ได้หมายความว่าเราเกิดทันเห็น แต่เป็นเพียงรูปแบบสันนิษฐาน ซึ่งไม่ใช่รูปแบบจริง หากจะถามอีกว่าทำไมไม่ใส่สีต่างๆ ก็เพราะเราไม่สามารถที่จะทราบสีได้ในสมัยนั้น และหากแต่งเติมลงไปก็อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดขึ้น”  นักประวัติศาสตร์ศิลปะ กล่าว

 

องค์ปรางประธานภายในวัดราชบูรณะ 


     สำหรับการนำเทคโนโลยีมาใช้กับโบราณสถานจะช่วยสร้างความเสมือนจริง สำหรับ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ บอกว่า ทำให้ได้เห็นความสมบูรณ์โครงสร้างของวัดราชบูรณะมากขึ้น ทั้งพระปรางค์ประธานที่ล้อมรอบด้วยระเบียงคต พระวิหาร พระอุโบสถ เมื่อสแกนคิวอาร์โค้ด จะทำให้เราสามารถเทียบได้กับสถานที่จริง แต่ถึงไม่ได้อยู่ในสถานที่จริงก็สามารถเห็นรูปสแกนของวัดราชบูรณะ ตรงส่วนนี้จะทำให้ทุกคนในทุกที่สามารถรู้สึกเหมือนได้ไปยังสถานที่จริง  ซึ่งสิ่งที่เราทำก็มีคนคัดค้านอย่างมีเหตุผล นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการทำงานด้านประวัติศาสตร์ ในการตรวจสอบเพื่อความทำให้งานมีความถูกต้องมากขึ้นอีก เพราะตนไม่ต้องการให้เชื่อ และทุกคนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ เพราะนั้นคือสิ่งที่ทำให้ทุกคนได้คิด และจินตนาการสนุกไปกับการเที่ยวชมอุทยานประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งของไทย

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"