'หมอธีระ'ตอกย้ำเจ็บแล้วจบไม่อย่างนั้นสู้กันนาน


เพิ่มเพื่อน    

13 ม.ค.2564 -  รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า  สถานการณ์ทั่วโลก 13 มกราคม 2564 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 679,175 คน รวมแล้วตอนนี้ 91,872,395 คน ตายเพิ่มอีก 15,690 คน ยอดตายรวม 1,966,352 คน  อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 239,786 คน รวม 23,299,363 คน ตายเพิ่มอีก 3,938 คน ยอดตายรวม 388,357 คน อินเดีย ติดเพิ่ม 14,932 คน รวม 10,494,811 คน บราซิล ติดเพิ่มถึง 62,025 คน รวม 8,195,637 คน  รัสเซีย ติดเพิ่ม 22,934 คน รวม 3,448,203 คน  สหราชอาณาจักร ติดเพิ่มอีก 45,533 คน รวม 3,164,051 คน ต่ำกว่าห้าหมื่นติดต่อกันเป็นวันที่สอง อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิตาลี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลักหมื่นต่อวัน 

ฝั่งอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน บังคลาเทศ อิสราเอล อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลายหมื่น  แถบสแกนดิเนเวีย รอบทะเลบอลติก และแถบยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เมียนมาร์ เกาหลีใต้ และไทย ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่เวียดนามมีติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ ...สถานการณ์ในเมียนมาร์ เมื่อวานติดเพิ่มขึ้นอีก 551 คน ตายเพิ่มอีก 20 คน ตอนนี้ยอดรวม 131,737 คน ตายไป 2,878 คน อัตราตายตอนนี้ 2.2%... 

ตั้งแต่หลังสัปดาห์แรกของปีใหม่เป็นต้นมา ภาพรวมการระบาดของทั่วโลกนั้นรุนแรงขึ้น  สัปดาห์ที่ผ่านมา ไอร์แลนด์มีอัตราการติดเชื้อเฉลี่ยต่อวันถึง 1,323 คนต่อประชากร 1,000,000 คน สูงที่สุดในโลก มากกว่าสหราชอาณาจักร (881 คนต่อประชากร 1,000,000 คน) ถึง 50% ส่วนอันดับสองและสามเป็นของเช็ค และสโลเวเนีย ญี่ปุ่นขยายภาวะฉุกเฉินเพิ่มจาก 4 เมืองไปเป็น 11 เมือง ในขณะที่มาเลเซียประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเช่นกันยาวไปถึงเดือนสิงหาคม

ดูศึกของทั่วโลกทำให้เราเห็นว่าเกิดอะไรขึ้นกับการระบาดซ้ำของแต่ละประเทศ และให้ลองมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับสถานการณ์ในประเทศไทย จะมีประโยชน์สำหรับประชาชนในการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต

เท่าที่เห็นมา ประเทศที่เคร่งครัดเฉียบขาด มักจะคุมการระบาดได้เร็ว คนป่วยน้อยตายน้อย ใช้เวลาในการจัดการน้อยกว่า เจ็บตัวด้านเศรษฐกิจน้อยและสั้นกว่าประเทศที่ใช้วิธีปล่อยให้ทำมาหากินกันเสรีเพราะกลัวเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ ทำให้ควบคุมน้อยกว่าที่ควร และทำให้คนติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ จนคุมไม่อยู่ สุดท้ายแล้วก็พบคนป่วยมาก ตายมาก และต้องล็อกดาวน์ยาวนาน

ภาวะที่จัดการคุมโรคไม่ได้ จะทำให้พื้นที่นั้นๆ เกิดผลกระทบทั้งต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมอย่างมาก 
จึงอาจไม่ต้องแปลกใจที่อาจเห็นหลายประเทศจะกลายเป็นแดนดงโรค โควิดเป็นโรคประจำถิ่น การติดเชื้อเป็นเรื่องปกติของคนจำยอมหาทางออกไม่ได้ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเกิดจากการตัดสินใจเชิงนโยบายและมาตรการที่เลือกใช้ในการต่อสู้กับโรคระบาดนั่นเอง 

วัคซีนที่ทั่วโลกเล็งไว้ว่าจะนำมาใช้สู้กับโรคระบาดนั้น สรรพคุณหลักที่ควรให้ความสนใจคือ "การป้องกันการติดเชื้อ" ในขณะที่สรรพคุณในการลดความรุนแรงของโรคนั้น สำหรับผมแล้วเป็นวัตถุประสงค์รอง  วัคซีนที่ดีควรได้รับการศึกษาวิจัยตามขั้นตอนมาตรฐานอย่างรัดกุม มีข้อมูลเปิดเผยให้ตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนในแต่ละประเทศได้อ่าน และพิจารณาตัดสินใจเลือกที่จะรับวัคซีนชนิดที่ดีและเหมาะสมกับตนเอง
ล่าสุดเราเห็นข้อมูลของ Pfizer/Biontech 95%, Moderna 94.5%, Astrazeneca/Oxford 60-90% (เฉลี่ย 70%) และบราซิลเพิ่งประกาศวัคซีน Sinovac ของจีน ป้องกันได้ 50.38% ขอให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ศึกโรคระบาดนี้...นาน ด้วยรักต่อทุกคน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"