“รมว.ศธ.” สั่งสพฐ.ศึกษารูปแบบต่างประเทศ แนวทางให้" นักเรียนจบการศึกษาปี 63 ไปเลย


เพิ่มเพื่อน    

13ม.ค.64- ตามที่มีผู้ปกครองบางกลุ่มเสนอแนวทางการจบการศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรประกาศให้นักเรียนจบการศึกษาในปีนี้ไปเลยจะดีกว่า พร้อมทั้งให้ครูประจำชั้นเป็นผู้ประเมินการเรียนจากการเรียนของเด็กในช่วงที่ผ่านมา ซี่งส่วนใหญ่จัดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 มาแล้วประมาณครึ่งเทอม เนื่องจากขณะนี้ถือว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ยังไม่ดีขึ้น และควรจะมีการปิดไม่ให้จัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนต่อไปนั้น

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า แนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่หลายๆ ประเทศ ที่ประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ใช้เพื่อที่จะให้ผู้เรียนจบการศึกษาในปีการศึกษานี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดในเรื่องนี้ รวมถึงนำการดำเนินการของประเทศต่างๆ มาศึกษาร่วมด้วย ซึ่งเรายังไม่สามารถประกาศได้ว่าจะใช้วิธีอย่างไร เนื่องจากการจบการศึกษายังมีนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความจำเป็นต้องใช้คะแนนเฉลี่ยสะสมรวม (GPAX) เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดและถี่ถ้วน โดยคาดว่า สพฐ.จะนำผลการศึกษาเรื่องดังกล่าว มาหารือร่วมกับตนในเร็วๆ นี้

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นเรื่องการเรียนการสอนผสมผสานในรูปแบบออนไลน์และการแจกใบงานให้นักเรียนกลับไปทำที่บ้าน ที่ผ่านมา ศธ.ได้รับทราบปัญหาในการเรียนการสอนรูปแบบดังกล่าว และจำนวนใบงานที่มากเกินไป จนนักเรียนเกิดภาวะเครียด แต่ต้องยอมรับว่าการเกิดวิกฤตในครั้งนี้เกิดขึ้นทั่วโลกและแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ อาจเป็นสิ่งใหม่ที่ต้องมีการปรับตัวทั้งครูและนักเรียน โดย ศธ.จะพยายามแก้ไขปัญหาและหาความเหมาะสมและหาสมดุลให้เกิดขึ้นมากที่สุด เพราะการเรียนแบบผสมผสานถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในอนาคต แต่จะต้องหาจุดสมดุลในการให้งาน ให้การบ้านแก่นักเรียน โดยต้องดูที่การให้การบ้านแล้ววัดผลได้เป็นหลัก

“เราต้องยอมรับว่าในเมื่อครูไม่ได้เจอนักเรียนเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ก็มีความจำเป็นต้องให้การบ้านนักเรียนจำนวน 1 สัปดาห์เช่นเดียวกัน ซึ่งตรงนี้ก็อาจทำให้เด็กเกิดความกดดัน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การแบ่งเวลาหากมีการแบ่งเวลาที่มีประสิทธิ์ภาพก็จะบริหารจัดการงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายได้ เพราะนักเรียนอยู่บ้าน ไม่ได้เดินทางไปไหนจึงมีเวลามากขึ้น ตรงนี้หากมีการบริหารที่ดีก็จะแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งต้องทำความเข้าใจกันทั้งหมดทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง และครู”รมว.ศธ. กล่าว 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"